พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกค่าหุ้นเพิ่มเติมและการริบหุ้นกรณีผู้ถือหุ้นไม่ชำระค่าหุ้นตามสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น กรรมการจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ชำระค่าหุ้นอีกร้อยละ 75 ที่จองซื้อไว้ตามที่กรรมการโจทก์เรียกร้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหุ้นที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จองซื้อไว้โดยไม่จำต้องรอให้ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จัดประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยในเรื่องนี้เพราะบทบัญญัติของกฎหมายมิได้ให้สิทธิจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะจัดให้มีการการจัดประชุมใหญ่เสียก่อนจึงจะชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมตามที่โจทก์เรียกร้อง นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานการประชุมใหญ่ของโจทก์ในวันที่ 25 สิงหาคม 2549 ก็ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นในลักษณะการลงมติมิให้โจทก์เรียกเก็บค่าหุ้นเพิ่มเติม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องรับผิดค่าหุ้นเพิ่มเติมรวมทั้งดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องชำระหนี้ค่าหุ้นค้างชำระ การให้การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจน และการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
คำให้การจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า นอกจากจำเลยจะให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใด ด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยและจำเลยร่วมให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระแล้วหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วม จำเลยมิได้ต่อสู้ว่า จำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วมแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระค่าหุ้นแก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้วหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จำเลยและจำเลยร่วมต้องนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเงินของจำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารว่าเป็นการนำเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยไปชำระ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือโจทก์เสียเปรียบ โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วม จำเลยมิได้ต่อสู้ว่า จำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วมแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระค่าหุ้นแก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้วหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จำเลยและจำเลยร่วมต้องนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเงินของจำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารว่าเป็นการนำเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยไปชำระ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือโจทก์เสียเปรียบ โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย: มาตรา 1119 วรรคสอง ห้ามโดยเด็ดขาด
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะขายที่ดินเพื่อชำระค่าหุ้น และสิทธิในการแบ่งทรัพย์สินรวม
สัญญาจะขายที่ดินและสัญญาซื้อขายหุ้นมีข้อความเกี่ยวพันต้องปฏิบัติไปด้วยกัน โดยคู่สัญญาตกลงกันนำที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของร่วมไปขายเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นไม่มีลักษณะที่จะถือว่าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะที่จะให้เป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวร หากแต่มีผลให้ยังเรียกให้แบ่งที่ดินไม่ได้ตราบเท่าที่ข้อตกลงนั้นยังมีผลผูกพันอยู่ เมื่อสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด หากจะให้คู่สัญญาต้องผูกพันกันตลอดไปจนกว่าจะขายที่ดินได้ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะเป็นระยะเวลาอีกกี่ปีคงไม่ใช่เจตนาของคู่สัญญา เมื่อนับแต่วันทำสัญญาจนถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลานานกว่า 6 ปี ก็ยังขายที่ดินไม่ได้ จึงมีเหตุผลสมควรที่โจทก์ทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาได้ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วความผูกพันตามสัญญาย่อมสิ้นสุดลง นิติกรรมที่เป็นเหตุขัดข้องไม่ให้ขอแบ่งที่ดินจึงไม่มีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1363
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิในการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามแผน, ดอกเบี้ย, และค่าหุ้น
ในการพื้นฟูกิจการนั้น จำนวนหนี้และวิธีการชำระหนี้ เป็นสาระสำคัญที่ผู้ทำแผนต้องระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (3) (ข) เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการนั้น และผู้บริหารแผน ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบ หากแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร กรณีจึงต้องปฏิบัติตามวิธีการชำระหนี้ที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. การที่ผู้บริหารแผนออกประกาศกำหนดวิธีการชำระหนี้ในภายหลัง ด้วยวิธีการที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน และไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. โดยที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่ยินยอม จึงเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนและโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการได้
แม้หนี้ที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำขอรับชำระหนี้ศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องทั้งสองจะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ก็จะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ
แม้หนี้ที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำขอรับชำระหนี้ศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องทั้งสองจะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ก็จะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้จากค่าหุ้นค้างชำระเป็นหนี้กู้ยืม จำเลยต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อหุ้นจากโจทก์เป็นเงิน 20,000,000 บาท โจทก์โอนหุ้นให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ชำระค่าหุ้นแก่โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 12,500,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 7,500,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นสัญญากู้ยืมเงิน แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่หากจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินเพราะเหตุหนี้กู้ยืมเงินอันเกิดจากการแปลงหนี้ใหม่ไม่ได้เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระแก่โจทก์ อันเป็นการบรรยายนิติสัมพันธ์ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นลำดับขั้นตอนว่ามีความเป็นมาอย่างไร และสอดคล้องกับที่ ป.พ.พ. มาตรา 351 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่" ส่วนการขายหุ้นและการโอนหุ้นจะกระทำเมื่อใด เป็นหุ้นเลขที่เท่าใด และหลักฐานการโอนหุ้นเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ประกอบกับตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ก็ปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยตกลงซื้อขายหุ้น ไม่เคยชำระเงินค่าหุ้นและไม่ได้รับโอนหุ้นจากโจทก์ตามฟ้อง การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินเกิดจากกลฉ้อฉลหลอกลวงอันแสดงว่า จำเลยที่ 1 เข้าใจคำฟ้องของโจทก์และมิได้หลงต่อสู้ คำฟ้องโจทก์จึงมิได้ขัดแย้งกันเองและชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระ & ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้มิได้แจ้งดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1112 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด แต่มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรและสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษี – การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรกลางหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ประกอบกับคู่ความไม่ได้โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ที่ขาดทุนสะสม และการปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียน
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 การพิจารณาสิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นที่ได้ชำระไปแล้วจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และข้อบังคับของจำเลยตลอดจนคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ โดยในเรื่องการจ่ายคืนค่าหุ้นนั้น แม้สหกรณ์แต่ละแห่งสามารถกำหนดในข้อบังคับของตนเองได้ตามมาตรา 34 (4) ประกอบมาตรา 43 (5) ก็ตาม แต่ทั้งนี้ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ยังคงตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินลุล่วงไปได้อย่างมั่นคงเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ เมื่อความปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีว่า จำเลยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี มียอดขาดทุนสะสม 188,292,559.62 บาท มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่ายอดรวมสินทรัพย์ 206,667,002.51 บาท อันต้องด้วยกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (8) และมาตรา 22 (2) โดยเฉพาะคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ตามมาตรา 22 นี้ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษทางอาญาตามมาตรา 132 ข้อบังคับของจำเลยที่ได้มีการแก้ไขเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 จึงเป็นไปโดยชอบ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องการคืนเงินค่าหุ้นเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 มิใช่คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สสพ.288/2559 โจทก์เกษียณอายุปี 2558 และขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยเมื่อปี 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากจำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะขอคืนเงินค่าหุ้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยที่ใช้อยู่ในเวลาที่ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
เงินค่าหุ้นมีลักษณะเป็นทุนของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกจ่ายให้แก่สหกรณ์แล้วย่อมตกเป็นทุนของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์สามารถนำไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน เช่น การให้กู้ ให้สินเชื่อ หรือให้ยืมทรัพย์สินได้ตามความในบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เงินสะสมทุนเรือนหุ้นจึงมิใช่เงินฝากหรือการฝากทรัพย์ที่สมาชิกมีสิทธิจะถอนคืนต้นเงินฝากได้เต็มจำนวน หากแต่ถือเป็นการลงทุนซึ่งสมาชิกมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน ในทางกลับกันหากผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกลาออกก็ต้องนำทุนเรือนหุ้นที่ชำระไปทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยสมาชิกต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย ดังนี้ หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าหุ้นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ให้คำแนะนำไว้ท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 278/2549 ซึ่งจำเลยได้นำมากำหนดไว้ในข้อบังคับจึงหาใช่เป็นการออกข้อบังคับไม่เป็นธรรม เมื่อปรากฏตามรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของจำเลยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ว่า ข้อบังคับของจำเลยข้อที่ 44 กำหนดให้จำเลยชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพแล้ว โดยจำเลยจะต้องคำนวณมูลค่าหุ้นจ่ายคืนให้เป็นปัจจุบันทุกปี และสหกรณ์จำเลยสามารถปิดงบการเงินประจำปีได้จนถึงปี 2557 ซึ่งมูลค่าต่อหุ้นของจำเลยมีมูลค่าติดลบ 32.35 บาท หลังจากนั้นจนถึงปี 2562 (ปีที่โจทก์ยื่นฟ้อง) ยังไม่สามารถปิดงบการเงินประจำปีได้ เช่นนี้ แม้จำเลยจะประสบภาวะขาดทุนทำให้จำเลยไม่สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่โจทก์ที่พ้นจากสมาชิกภาพในเวลาที่โจทก์ขอคืนค่าหุ้นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิของโจทก์ในกรณีนี้เป็นอันระงับสิ้นไปเลยทีเดียว เพราะหากภายภาคหน้าสหกรณ์จำเลยสามารถแก้ไขภาวะขาดทุนสะสมได้แล้ว หรือสามารถจ่ายเงินค่าหุ้นได้เมื่อใด โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินค่าหุ้นอยู่เมื่อนั้น จึงชอบที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้