คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน การชำระหนี้แทนลูกหนี้ และสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ภาษีอากรหรือภาษีอากรเพิ่มรวมกับเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่โจทก์ที่ 1 อาจจะต้องเสียแก่กรมศุลกากรโดยไม่ได้มีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะยกเลิกสัญญาค้ำประกันหรือมีสิทธิที่จะสั่งระงับมิให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ตามกฎหมายได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะสั่งให้จำเลยที่ 1 ระงับการจ่ายเงินให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือให้ไปชำระค่าภาษีอากร เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของกรมศุลกากรผิดนัด กรมศุลกากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องชำระเงินจำนวนที่ค้ำประกันไว้ให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากโจทก์ที่ 1 ลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการฟ้องล้มละลายต่ออายุความค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์ แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประนีประนอมยอมความไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยอมรับผิดต่อโจทก์เต็มตามฟ้องทุกประการ ทั้งยอดหนี้รวม ยอดหนี้ซึ่งใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยต่อไปตลอดทั้งกำหนดเวลาในการเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้การตกลงประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แสดงเจตนาระงับข้อพิพาทตามฟ้องโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาให้ข้อตกลงดังกล่าวบังเกิดผล จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้มีผลเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้เดิม ถือไม่ได้ว่าหนี้เดิมระงับและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และการที่โจทก์ตกลงให้เวลา 6 เดือน ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นับแต่วันที่ตกลงกัน จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นเหตุปลดเปลื้องความรับผิดดังที่ระบุไว้ใน สัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 นำที่ดินมาจำนอง 4 แปลง แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุที่ดินจำนองตกไป 1 แปลง เป็นข้อผิดหลงเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสงรองยอมความไม่กระทบความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเดิม จำเลยที่ 4-5 ยังต้องรับผิด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมูลหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1ยินยอมชำระเงิน 10,240,369.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปีในต้นเงิน8,980,599.63 บาทนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ และจากยอดเงิน 10,240,369.65 บาทดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันยินยอมชำระเป็นเงิน 1,707,863.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปีในต้นเงิน1,500,000 บาทนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3จะชำระหนี้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ดังกล่าว หากผิดนัดยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีโดยยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบจำนวนหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์เต็มตามฟ้องทุกประการ ทั้งยอดหนี้รวมยอดหนี้ซึ่งใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยต่อไป ตลอดทั้งกำหนดเวลาในการเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้การตกลงประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 แสดงเจตนาระงับข้อพิพาทตามฟ้องโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาให้ข้อตกลงดังกล่าวบังเกิดผลจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้มีผลเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้เดิม ถือไม่ได้ว่าหนี้เดิมระงับและเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่และการที่โจทก์ตกลงให้เวลา 6 เดือนในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นับแต่วันที่ตกลงกันจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นเหตุปลดเปลื้องความรับผิดดังที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 4 และที่ 5จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136-8139/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้แรงงาน: สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องบังคับค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 686 บัญญัติให้เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อบริษัทนายจ้างผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามมาตรา 686 ได้ แม้มาตรา 688 และมาตรา 689 จะให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ให้โจทก์ทั้งสี่ไปเรียกร้องให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนที่จะเรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน ก็มิได้หมายความว่า ถ้าโจทก์ทั้งสี่ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากบริษัทนายจ้างลูกหนี้แล้ว โจทก์ทั้งสี่จะไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลย ประกอบกับหากจำเลยประสงค์จะให้บริษัทนายจ้างลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบริษัทนายจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ จำเลยจึงหามีสิทธิยกมาตรา 688 และมาตรา 689 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7898/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกันสะดุดหยุดเมื่อมีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และฟื้นฟูได้ภายใน 10 ปี
บ. ทำสัญญาค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งไปทำสัญญาขายลดเช็คต่อลูกหนี้โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คจากกองทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดอนุญาตให้ลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ อายุความตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงย่อมสะดุดหยุดลงในวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(3) อันเป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และย่อมเป็นโทษแก่ บ. ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 692 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 มีหนังสือทวงหนี้ให้ บ. ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันไม่เกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อายุความได้สะดุดหยุดลง หนี้ที่ บ. ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริตและการรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ ของบริษัทล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัทล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัทล.ชำระหนี้เป็นเงิน15,332,017.82 บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวจำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิด ร่วมกับบริษัทล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระณวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาททั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวและสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ ของจำเลย ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์ เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์ และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามสัญญาค้ำประกันนั้น โจทก์และส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.โดยยอมเข้าร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ความรับผิดระหว่างโจทก์กับส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง ส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ โดยยอมร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการ ที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกัน ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิด ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 โจทก์และส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส. ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย 1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ ค้ำประกันให้ ส.ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของส.ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง,293 โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัทล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัทล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตาม แต่โจทก์ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน 200,000 บาท และดอกเบี้ย ที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องเช็คและการออกเช็คล่วงหน้าเพื่อค้ำประกัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์ 13 ฉบับ ลงวันที่ 30ของทุกเดือนเช็คฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2538 โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินไม่ได้เนื่องจากธนาคารปิดบัญชีแล้ว โจทก์ย่อมทราบดีว่าเช็คฉบับต่อ ๆ ไปจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เท่ากับโจทก์รู้เรื่องความผิดแล้วตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2538เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กันยายน 2538 เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วนั้น เป็นการโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2537 แต่จำนวนเงินตามเช็คจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นการออกเช็คล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคต มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายนั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยออกเช็คล่วงหน้าเพื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้
of 61