คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ: การบังคับใช้กฎหมายภายในเมื่อไม่สามารถพิสูจน์กฎหมายต่างประเทศ
การที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติญวนร้องขอต่อศาลให้สั่งนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนครอบครัวจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องทั้งสองนั้นแม้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481มาตรา10และมาตรา19จะบัญญัติว่าความสามารถของบุคคลและเงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นๆก็ตามแต่ตามมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวผู้ร้องก็หาได้มีหน้าที่พิสูจน์ถึงความสามารถและเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่และเมื่อไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่าตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้องในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไรจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองมีเงื่อนไขที่จะทำการสมรสได้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วนายอำเภอก็ไม่ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4583/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับนายทะเบียนจดทะเบียนสมรส และการปฏิเสธการจดทะเบียนโดยอ้างคุณสมบัติไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนอำเภอคลองใหญ่และจำเลยที่ 2 กระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 รับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ตรงข้ามกลับได้ความว่าจำเลยที่ 1เท่านั้นที่เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรส ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนสมรสให้แก่โจทก์ทั้งสองได้
ข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองนั้น ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อจำเลยที่ 1 นายชุมพลเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้บันทึกถ้อยคำของโจทก์ที่ 2ไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บันทึกสอบถามเรื่องคุณสมบัติของโจทก์ที่ 2 อันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งมาแต่ประการใด กลับมีบันทึกสั่งการในตอนท้ายว่าให้สอบเพิ่มเติมว่า โจทก์ที่ 2 เข้ามาในอำเภอคลองใหญ่เพราะสาเหตุอันใด และโจทก์ที่ 2 มีอาชีพอะไร มีรายได้เท่าใด เมื่อเริ่มอพยพเข้ามาครั้งแรกรู้จักใครบ้างข้อความเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นได้ชัดถึงเหตุผลในการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น เพราะแม้แต่ในฎีกาของจำเลยเองก็ยังอ้างว่าโจทก์ที่ 2 มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะรับจดทะเบียนสมรสให้ได้ ซึ่งแสดงถึงการปฏิเสธของจำเลยที่ 1 อยู่ในตัวเอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับจดทะเบียนสมรสของโจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจดทะเบียนสมรส: การบรรยายชื่อตำแหน่งนายทะเบียน และสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนครอบครัว ต้องฟ้องนายทะเบียนระบุตำแหน่งโดยตรงนั้น เป็นเรื่องการบรรยายฟ้องระบุชื่อบุคคลและตำแหน่งมาพร้อมกัน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์พระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำร้อง ต่อศาลโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลไม่จำต้องปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยค่าธรรมเนียมตาม ตารางท้ายประมวลกฎหมายนั้นมิได้เป็นบทบังคับเด็ดขาด แต่เป็นการให้สิทธิแก่โจทก์เป็นกรณีพิเศษจึงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อ โจทก์ทั้งสองโดยผิดกฎหมาย ให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้จดทะเบียนสมรสกันซึ่งจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ แต่ไม่ปฏิบัติอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยเป็นคดีมีข้อพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจดทะเบียนสมรส: การระบุตำแหน่งนายทะเบียน และสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนครอบครัว ต้องฟ้องนายทะเบียนระบุตำแหน่งโดยตรงนั้นเป็นเรื่องการบรรยายฟ้องระบุชื่อบุคคลและตำแหน่งมาพร้อมกันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ นายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์พระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำร้อง ต่อศาลโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลไม่จำต้องปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยค่าธรรมเนียมตาม ตารางท้ายประมวลกฎหมายนั้นมิได้เป็นบทบังคับเด็ดขาด แต่เป็น การให้สิทธิแก่โจทก์เป็นกรณีพิเศษจึงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อ โจทก์ทั้งสองโดยผิดกฎหมาย ให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้ จดทะเบียนสมรสกันซึ่งจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ แต่ไม่ปฏิบัติอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยเป็นคดีมีข้อพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรส: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว
ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกัน ดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า "เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย" นั้น หาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการอ้างเหตุใหม่ในฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่งแต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกันดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า 'เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย'นั้นหาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฯ กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่ว ๆ ไปอีกไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษ ยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และในข้อ 3 ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่ว ๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนสมรสหากไม่ขัดเงื่อนไขตามกฎหมาย แม้หญิงต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว
เมื่อมีการร้องขอให้จดทะเบียนสมรส นายทะเบียนต้องจดทะเบียนสมรสให้ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 10จะไม่รับจดทะเบียนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 13 เฉพาะในกรณีที่การสมรสมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ถึง 1454 เท่านั้นจะนำคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยที่ห้ามจดทะเบียนสมรสให้คนไทยกับหญิงต่างด้าวที่ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปอย่างเช่นกฎหมายหาไม่ได้
ผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ฮ.คนญวนอพยพและไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนครอบครัวต้องรับจดทะเบียนสมรสให้ จะอ้างคำสั่งกระทรวงมหาดไทยไม่รับจดทะเบียนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสของชาวต่างชาติ: สิทธิในการยื่นคำร้องและอำนาจศาลในการสั่งให้นายทะเบียนจดทะเบียน
เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพุทธศักราช 2478 มาตรา 10 บัญญัติให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรสให้เมื่อมีการร้องขอ การที่นายทะเบียนจะปฏิเสธได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง มาตรา 1448 ถึงมาตรา 1454 และมาตรา 1458 ตามที่ได้ ตรวจชำระใหม่ ซึ่งมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 ห้ามมิให้นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสในกรณีที่นายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส ผู้มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาล โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่งไปให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนสมรสของบุคคลสัญชาติอื่น: อำนาจหน้าที่นายทะเบียนและการไต่สวนของศาล
เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 10 บัญญัติให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรสให้เมื่อมีการร้องขอ การที่นายทะเบียนจะปฏิเสธได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง มาตรา 1448 ถึงมาตรา1454และมาตรา1458 ตามที่ได้ ตรวจชำระใหม่ ซึ่งมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 ห้ามมิให้นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสในกรณีที่นายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสผู้มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาล โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่ง ไปให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 15 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว
of 16