คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดการมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8195/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบธรรมมีสิทธิมากกว่าผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วม
แม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจะมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยต่างมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นของผู้คัดค้านส่วนหนึ่งและตกเป็นมรดกของผู้ตายที่จะต้องเอามาแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยตรงจึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเฉพาะในทรัพย์สินที่เป็นของผู้คัดค้านและผู้ตายแต่ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม และการพิพากษาเรื่องการจัดการมรดกตามพินัยกรรม
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านพร้อมกับยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์ตามพินัยกรรมศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระบุเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองแล้วทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: พินัยกรรมไม่ชัดเจน ศาลตั้งบุตรผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่เกิดกับ ต.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้เช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงชอบแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องนั้น เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ขอมาในคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้อง, อายุความจัดการมรดก, การจัดการมรดกกรณีผู้จัดการมรดกเสียชีวิต และการวินิจฉัยประเด็นตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ.ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อน บ.ถึงแก่กรรมและ บ.ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ.ซึ่งจะมีผลต่อบ.และผู้รับมรดกแทนที่ อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรมซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตาม มาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141 (3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลงกรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก ต้องเป็นข้อสำคัญในคดีจึงมีผิด
คดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 และ 1718 มีประเด็นข้อสำคัญในคดีว่า ผู้ร้องคือจำเลยในคดีนี้เป็นทายาทหรือมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ มีเหตุจะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายดังนั้น การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับจำนวนทายาท การให้ความยินยอมของทายาทและแสดงพยานหลักฐานบัญชีเครือญาติไม่ตรงต่อความจริง แม้จะเป็นความเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีอันอาจทำให้ผลของคดีร้องขอจัดการมรดกเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบของความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกใหม่ในการเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ที่เคยเป็นผู้จัดการมรดกเดิม
แม้ทรัพย์มรดกของ จ.เคยมี ห.เป็นผู้จัดการมรดกและได้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ จ.ไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ตาม แต่ ห.ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ต่อมาเมื่อศาลได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในอันที่จะต้องจัดการทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาโฉนดที่ดินมรดกจากจำเลยได้เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย จำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยึดถือเอาโฉนดที่ดินมรดกไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องยกประเด็นในศาลชั้นต้น การจัดการมรดกผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้อง และคดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งนอกจากจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้วต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วยและกรณีที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นนั้นต้องได้ความว่าคู่ความได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องหรือคำให้การและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตรงตามประเด็นดังกล่าวนั้นด้วย กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่างๆดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องดังนี้แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มาโจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตามก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดีทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วยข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยเช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตายเมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทโจทก์มีอำนาจฟ้องแม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้างก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกการรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดีล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้นแม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาทก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเองการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องดังนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่6258/2538ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกแม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันแต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาทประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกันไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตามแต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกดังนั้นคดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องแบ่งมรดก: เริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการมรดกไม่ยกอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1620 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1629 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา 1300 มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027 เพียง 2 แปลง โดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใด จำเลยที่ 1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่ 1 จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2027เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอม ดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่ 2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่น ทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมา จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การจัดการมรดกเสร็จสิ้นเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1620วรรคหนึ่งและมาตรา1629เมื่อจำเลยที่1ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไปทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใดเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาทการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา1300มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027เพียง2แปลงโดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดจำเลยที่1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่10มกราคม2527โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่1จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่2027เมื่อวันที่2มีนาคม2530นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอมดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่นทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2มีนาคม2530ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดกจำเลยที่3ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่2ในเวลาต่อมาจึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่2อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่19กรกฎาคม2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า1ปีไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่2ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่1และที่2จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่3ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่าจำเลยที่1และที่2ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกมรดก: นับแต่วันสิ้นสุดการจัดการมรดก ไม่ใช่วันที่รู้
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง เป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียว จำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและ ท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีก ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบ โจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5 ปี นับแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527 เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2534 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง
of 28