คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสอง จำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยขอ ให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการ ลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิการฎีกาในความผิดที่เหลือ หลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 147,86 รวม 40 กระทง ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี รวมเป็นจำคุก 160 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด 30 กระทง จำคุกกระทงละ4 ปี รวมเป็นจำคุก 120 ปี ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เท่ากับความผิดที่เหลือ 30 กระทง ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืนและลงโทษจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดที่เหลือทั้ง 30 กระทงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์ลดกระทงความผิดแล้วฎีกาไม่ได้ในข้อเท็จจริงเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,86 รวม 40 กระทง ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี รวมเป็นจำคุก 160 ปี จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด 30 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมเป็นจำคุก 120 ปี ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เท่ากับความผิดที่เหลือ 30 กระทง ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืนและลงโทษจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดที่เหลือทั้ง30 กระทง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะทรัพย์จำนองหรือไม่
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทซึ่งจำนองไว้และให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทน โดยไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการซักถามพยานในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจจำกัดสิทธิคู่ความในการซักถามพยาน
การสืบพยานในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้างมาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้น หากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ป.วิ.พ.มาตรา117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตนอ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถามและถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถามพยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้านพยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการบังคับคดี
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การส่งตัวจำเลยฝึกอบรมแทนการลงโทษทางอาญา
กรณีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121(1) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 74 (5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่ฎีกาเกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเท่านั้น ส่วนการที่คู่ความจะฎีกาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือบทบัญญัติแห่งป.วิ.อ.ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6และ ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การส่งตัวไปฝึกอบรมและการโต้แย้งข้อเท็จจริง
กรณีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 121(1) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัว พิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรม ยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมี กำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่ฎีกาเกี่ยวกับการที่ ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเท่านั้นส่วนการที่คู่ความจะฎีกาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษา ให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิในการฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงและยักยอก ตามป.อ.มาตรา 341, 352, 91 ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินจำนวน 50,000 บาท ตาม ป.อ.มาตรา 352 ไว้ทำการไต่สวนมูลฟ้องเพียงกระทงเดียว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ในความผิดฐานฉ้อโกงและยักยอกกระทงหนึ่งแล้ว จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 แม้ฎีกาโจทก์ในข้อหากระทำความผิดดังกล่าวจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องบางกระทง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงและยักยอกรวม 15 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,352,91ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าฟ้องเคลือบคลุมพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินจำนวน 50,000 บาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไว้ทำการไต่สวนมูลฟ้องเพียงกระทงเดียว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงและยักยอกกระทงอื่น แล้ว จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมก็ตาม
of 33