คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อฉลและการสะดุดหยุดของอายุความจากการยึดทรัพย์
ว.แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน2534ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้วแต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่1กรกฎาคม2535ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและยังอยู่ภายในกำหนดเวลา1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าวอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุดอายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15วรรคสองดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของจ. โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลคดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการฉ้อฉลและผิดสัญญาซื้อขาย: การกระทำที่มิใช่ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย 20,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิด ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ น. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.เสียเปรียบ และจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่ 4เป็นทนายให้จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกัน ต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้ การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ น. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้ น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 200,000 บาท คงค้างชำระอีก 190,000 บาท เมื่อ น.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ชำระค่าที่ดิน 290,000 บาท และรับโอนที่ดินในวันที่ 7กรกฎาคม 2532 หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขอบอกเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2532 แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2532 ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควร จะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ 290,000 บาท ทั้ง ๆ น.ค้างชำระเพียง 190,000 บาท โจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้ และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่ขณะทำนิติกรรมนั้น จำเลยที่ 2 มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 420 จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การฉ้อฉล, การผิดสัญญา, ละเมิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อ-ผู้ขาย และความรับผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย20,000บาทแก่โจทก์จำเลยที่3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิได้อุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรกลับฎีกาว่าจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิดซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่3ร่วมกับจำเลยที่2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่1จะขายให้แก่น.ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.เสียเปรียบและจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่4เป็นทนายให้จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วยซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับน. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1แล้วแล้ว200,000บาทคงค้างชำระอีก190,000บาทเมื่อน.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.ชำระค่าที่ดิน290,000บาทและรับโอนที่ดินในวันที่7กรกฎาคม2532หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าวจำเลยที่1ขอบอกเลิกสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของน.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่8มิถุนายน2532แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่20กรกฎาคม2532ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรจะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ290,000บาททั้งๆน.ค้างชำระเพียง190,000บาทโจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาจำเลยที่1ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่1เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่2ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์แต่ขณะทำนิติกรรมนั้นจำเลยที่2มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้และการกระทำของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้นยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลและรู้อยู่ว่าทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น ทำให้ถูกกำจัดมรดก
โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527ของศาลชั้นต้นดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของบ. ในโฉนดเลขที่2505ดังกล่าวเป็นมรดกของบ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2) ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของบ. โดยบ. มีบุตร4คนคือโจทก์ทั้งสองจำเลยและจ.แต่จ.ถึงแก่ความตายก่อนบ. โดยจ. มีบุตร3คนบ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของบ. เพียงหนึ่งในสี่สวนเท่านั้นเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ทั้งหมดโดยการครอบครองทั้งๆที่จำเลยมิได้ครองครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง10ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้นแล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ. ในโฉนดที่ดินเลขที่2505โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นจำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา1605วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ที่1เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527ของศาลชั้นต้นยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ. โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า10ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของบ. ไม่ได้รับมรดกด้วยโจทก์ที่1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249วรรคหนึ่งเช่นกัน แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1639บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตามแต่มาตรา1607บัญญัติว่าการถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้วโดยมิได้บัญญัติว่าผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของบ. เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของบ. เลยอันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตามบุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของบ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา1607และบทบัญญัติมาตรา1607หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา1639ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินราคาต่ำกว่าตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้ ถือเป็นการฉ้อฉล
ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนอง จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ธนาคารอยู่ 469,828.63 บาทในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารต่ออีกในวงเงิน470,000 บาท ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 มีราคาท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2 ในราคา 470,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 เพียงแต่จำเลยที่ 2 ชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จะสามารถบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่469,828.63 บาท เงินส่วนที่เหลือหลังจากชำระหนี้จำนองให้ธนาคารแล้ว โจทก์ก็สามารถที่จะรับชำระหนี้จากเงินส่วนที่เหลือนี้ได้แม้จะได้ไม่ครบเต็มจำนวนหนี้ก็ตามการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และฉ้อฉลเจ้าหนี้ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ขณะที่จำเลยที่1ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่2เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจำเลยที่1เป็นหนี้ธนาคารอยู่469,828.63บาทในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่2จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารต่ออีกในวงเงิน470,000บาทราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่1มีราคาท้องตลาดไม่ต่ำกว่า600,000บาทเมื่อจำเลยที่1โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่2ในราคา470,000บาทโดยจำเลยที่2ไม่ได้ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่1เพียงแต่จำเลยที่2ชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่างๆเท่านั้นหากจำเลยที่1ไม่โอนขายให้แก่จำเลยที่2โจทก์จะสามารถบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่1โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามที่จำเลยที่1เป็นหนี้อยู่469,828.63บาทเงินส่วนที่เหลือหลังจากชำระหนี้จำนองให้ธนาคารแล้วโจทก์ก็สามารถที่จะรับชำระหนี้จากเงินส่วนที่เหลือนี้ได้แม้จะได้ไม่ครบเต็มจำนวนหนี้ก็ตามการกระทำของจำเลยที่1ถือได้ว่าการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบและจำเลยที่2ได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีนับจากรู้เหตุ
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 เป็นเวลาเกินกว่า1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 และพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24 มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เริ่มนับจากเจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเบิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก ทายาทมีสิทธิเท่าเทียม การครอบครองแทนทายาท และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 มุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้นดังนั้นเมื่อขณะที่ ล. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก คือ โจทก์ จ. และ ม. เพียง 3 คนซึ่ง จ. ได้ถึงแก่ความตายภายหลัง ล. จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรจ. แม้ว่าจะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ล. ก็เพียงแต่ในฐานะผู้สืบสิทธิของ จ. คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทที่ได้กระทำการตามฟ้องอันจะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกของ ล.
of 30