คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810-813/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันฉ้อโกงโดยใช้เอกสารเท็จ และการรับฟังพยานร่วม การพิสูจน์ความผิดฐานฉ้อโกง
คำให้การของ ส. ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด ที่พาดพิงถึงจำเลยมีลักษณะเป็นการซัดทอด แต่ก็ใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เสียทีเดียว และ ส. ไม่ได้ เป็นจำเลยในคดีนี้ มิใช่เป็นการซัดทอดจำเลยในคดีเดียวกันทั้ง ส. มาเบิกความด้วยตนเองโดยตรงต่อศาล มิใช่พยานบอกเล่าจึงรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897-7898/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานกับการฉ้อโกง: การแยกแยะความผิดและการพิสูจน์เจตนา
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกความผิดฐานจัดหางานให้คนงานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ กับความผิดฐานฉ้อโกงไว้คนละข้อก็ตาม แต่ถ้าอ่านคำฟ้องโจทก์โดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดในคราวเดียวกัน
เมื่อฟ้องโจทก์ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานที่สมาพันธรัฐสวิส เท่ากับโจทก์ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานในต่างประเทศ ให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรม: แต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ และสมคบเพื่อฉ้อโกง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแต่งกายเป็นภิกษุในศาสนาพุทธโดยมิชอบเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุในศาสนาพุทธซึ่งเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตาม ป.อ. มาตรา 208 และจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 วางแผนการเพื่อฉ้อโกงประชาชน อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 210 การกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันได้ ที่สำคัญก็คือสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญ: การแยกความผิดฐานฉ้อโกงออกจากฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริต หลอกลวงประชาชน โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โฆษณาในหนังสือพิมพ์เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจหารายได้พิเศษร่วมงานกับบริษัทถ่ายทำภาพยนต์ต่างประเทศ ผู้สมัครต้องเสียเงินค่าบริการจัดหางานให้จำเลยกับพวก อันเป็นความเท็จ จำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้สมัครทำงานตามที่โฆษณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่มีข้อความตอนใดยืนยันข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่ต้น การที่จำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ได้ทำงานมิได้หมายความเสมอไปว่า จำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานอันจะทำให้ขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ลำพังเพียงคำฟ้องโจทก์ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงกับการจัดหางานต่างกรรมกัน การบรรยายฟ้องมีผลต่อการพิจารณาความผิดฐานจัดหางาน
ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานนั้น อาจเป็นความผิดต่างกรรมได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการบรรยายฟ้องของโจทก์ ถ้าคำฟ้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางาน การกระทำตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 8,73
โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นสองตอน ฟ้องข้อ (ก) บรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนทั่วไปเรียกรับเงินค่าบริการเป็นค่าตอบแทนการจัดหางานจากคนหางานและผู้เสียหายโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ส่วนข้อ (ข)โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จโฆษณาในหนังสือพิมพ์เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจหารายได้พิเศษเพื่อร่วมงานกับบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศอันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยกับพวกดังกล่าวนำผู้สมัครไปรวมกลุ่มพูดคุยที่ต่างจังหวัด โดยไม่ได้คัดตัวนักแสดงแต่อย่างใด และจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้สมัครทำงานตามที่โฆษณาได้ข้อความตามข้อ (ข) ไม่มีข้อความใดเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น การที่จำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ได้ทำงาน มิได้หมายความเสมอไปว่าจะต้องเกิดจากเพราะมิได้มีเจตนาจัดหางานอันจะถือว่าไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิ-ใช้เอกสารปลอม-แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน-ฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือผู้ถูกกระทำและผู้เสียหายจากการถูกจำกัดสิทธิ
จำเลยจะมิได้นำเอกสารที่จำเลยปลอมขึ้นไปยื่นแสดงต่อผู้เสียหายที่ 4 ด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทนโดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง เมื่อผู้เสียหายที่ 4 ได้รับเอกสารและดำเนินการให้ตามเอกสารนั้น ผู้เสียหายที่ 4 ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าว
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมสัญญามาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวนั้นจึงมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ เพราะให้การปฏิเสธมาตลอด จึงไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการระงับสิทธิในห้างหุ้นส่วน ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3และโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นผู้เสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: มณฑลทหารบกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง กองทัพบกต้องเป็นผู้ร้องทุกข์
จำเลยทำเอกสารเท็จยื่นขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของมณฑลทหารบกที่ 31 แม้ค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวอยู่ใน ความดูแลรับผิดชอบของมณฑลทหารบกที่ 31 แต่มณฑลทหารบกที่ 31เป็นเพียงหน่วยงานของกองทัพบกสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 17 กำหนดให้กองทัพบกเป็นนิติบุคคล มณฑลทหารบกที่ 31 ไม่มีฐานะ เป็นนิติบุคคลจึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือถือว่าเป็นผู้แทนอื่นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) การที่ พลตรี ศ. ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 มอบอำนาจให้พันโท ป. มาร้องทุกข์ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแทนกองทัพบก จึงถือว่าไม่มีการร้องทุกข์พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง vs. พ.ร.บ.จัดหางาน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง แต่คดี พ.ร.บ.จัดหางานยังดำเนินต่อไปได้
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งศาลได้ลงโทษในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง vs. จัดหางานผิดกฎหมาย: การยอมความเฉพาะความผิดส่วนตัว
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว และความผิดฐานดังกล่าวซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ & รอการลงโทษ: คดีจัดหางาน & ฉ้อโกง แม้กรรมเดียว แต่คดีฉ้อโกงยังไม่เด็ดขาด ฟ้องซ้ำจึงไม่เป็นเหตุระงับ & มีเหตุบรรเทาโทษ
แม้ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 91 ตรี ในคดีนี้จะเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง แต่ปรากฏในฎีกาของจำเลยเองว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้คดีความผิดฐานฉ้อโกงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นและคดีดังกล่าวเสร็จสิ้นไปเพราะศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อันถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีความผิดฐานฉ้อโกง สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่ระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)(4)
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงเพราะจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการบรรเทาผลร้ายให้จนเป็นที่พอใจแล้วและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ประกอบกับจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน สมควรรอการลงโทษเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป
of 94