คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกงประชาชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชน: รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน
พระราชกำหนดการกู้ยือมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2517บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้น เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้อง เอกชนไม่มีสิทธิ
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชน แม้กฎหมายจัดหางานมีการแก้ไข
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 7 ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้ใช้คืนแก่ผู้เสียหาย เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อย ทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองหางาน พ.ศ.2511 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจำเลยกระทำในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน - จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต - การรับฟังพยาน - ปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณาแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวและไม่สามารถจัดหางานตามที่โฆษณาได้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานก็เพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าไม่สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ ข้อความที่จำเลยแสดงต่อประชาชนเป็นความเท็จการที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยโฆษณาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเป็นความเท็จอย่างไร จึงลงโทษจำเลยไม่ได้นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ชาวบ้านหนองผักชีว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานยังเกาะไซปัน ประเทศฟิลิปปินส์ เงินเดือนสูง รายได้ดี ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นความจริงความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้สมัครไปทำงานตามที่จำเลยโฆษณาได้ จำเลยได้ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยการหลอกลวงดังกล่าวมีประชาชนไปสมัครงานกับจำเลย จำนวน 12 คน ได้เสียค่าบริการ ค่านายหน้าให้แก่จำเลย เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 แล้ว ไม่เคลือบคลุม
พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่จำเลยกับพวกได้ออกให้ผู้เสียหายโดยการถ่ายภาพรวมสำเนาไว้แล้ว แม้จะคืนต้นฉบับให้ผู้เสียหายไป ก็ถือได้ว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน – การพิสูจน์เจตนาทุจริตและองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณาแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร เปิดรับสมัครคนงานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวและไม่สามารถจัดหางานตามที่โฆษณาได้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานก็เพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าไม่สามารถส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศได้ ข้อความที่จำเลยแสดงต่อประชาชนเป็นความเท็จ การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยโฆษณาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเป็นความเท็จอย่างไร จึงลงโทษจำเลยไม่ได้นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ชาวบ้านหนองผักชีว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานยังเกาะไซปัน ประเทศฟิลิปปินส์ เงินเดือนสูงรายได้ดี ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นความจริง ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้สมัครไปทำงานตามที่จำเลยโฆษณาได้ จำเลยได้ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยการหลอกลวงดังกล่าวมีประชาชนไปสมัครงานกับจำเลยจำนวน 12 คน ได้เสียค่าบริการ ค่านายหน้าให้แก่จำเลย เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,343 แล้ว ไม่เคลือบคลุม พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่จำเลยกับพวกได้ออกให้ผู้เสียหายโดยการถ่ายภาพรวมสำนวนไว้แล้วแม้จะคืนต้นฉบับให้ผู้เสียหายไป ก็ถือได้ว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงประชาชน: ไม่ต้องระบุชื่อผู้เสียหายในฟ้อง
การผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบว่าจำเลยหลอกประชาชนโดยทุจริตและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชนผู้ถูกหลอกลวง ส่วนประชาชนผู้ใดบ้างเป็นผู้ที่ถูกจำเลยหลอกลวงและจำเลยได้ทรัพย์สินจากผู้ใดบ้างเห็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา การที่โจทก์มิได้ระบุชื่อประชาชนผู้ถูกหลอกลวงหรือผู้เสียหายมาในฟ้อง จึงไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ทำการหลอกลวงประชาชนในเขตตำบลสักหลง ตำบลบ้านกลาง และตำบลวัดป่า จังหวัดเพชรบูรณ์ การหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้ประชาชนในท้องที่ดังกล่าวหลงเชื่อและได้นำใบยาสูบแห้งจำนวน 2,462 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 29,491 บาท ไปมอบให้จำเลยกับพวก ถือได้ว่าได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงประชาชน: ไม่ต้องระบุชื่อผู้เสียหายในฟ้อง หากบรรยายพฤติการณ์หลอกลวงและทรัพย์สินที่ได้ไปครบถ้วน
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนโดยทุจริตและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชนผู้ถูกหลอกลวง ส่วนประชาชนผู้ใดบ้างเป็นผู้ที่ถูกจำเลยหลอกลวงและจำเลยได้ทรัพย์สินจากผู้ใดบ้างเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา การที่โจทก์มิได้ระบุชื่อประชาชนผู้ถูกหลอกลวงหรือผู้เสียหายมาในฟ้อง จึงไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ทำการหลอกลวงประชาชนในเขตตำบลสักหลง ตำบลบ้านกลาง และตำบลวัดป่า จังหวัดเพชรบูรณ์การหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้ประชาชนในท้องที่ดังกล่าวหลงเชื่อและได้นำใบยาสูบแห้งจำนวน 2,462 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน29,491 บาทไปมอบให้จำเลยกับพวก ถือได้ว่าได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบทเดียว แม้รับเงินต่างวาระ: ฉ้อโกงประชาชน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย 7 คนในคราวเดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนจะมอบเงินให้แก่จำเลยคนละคราวกันก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบทเดียว ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียว vs. กรรมต่าง: ฉ้อโกงประชาชนหลายรายพร้อมกัน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย 7 คนในคราวเดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนจะมอบเงินให้แก่จำเลยคนละคราวกันก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบทเดียว ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน vs. ฉ้อโกงทั่วไป, อายุความ, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
จำเลยหลอกลวงชวนโจทก์ร่วมทั้งสามไปทำงานต่างประเทศเนื่องจาก การหลอกลวงของจำเลย โจทก์ร่วมทั้งสามได้จ่ายเงินให้จำเลยการหลอกลวงของจำเลยมิได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่ต้องการทำ จำเลยเพียงแต่พูดชวนโจทก์ร่วมทั้งสามให้ไปทำงาน ในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อคดีขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอถือเอาตามคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ก็ย่อมตกไปด้วย ศาลไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม
of 10