พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้ ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นทายาทของ ป. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งยึดถือโฉนดและครอบครองที่ดินพิพาทแบ่งที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสี่ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสี่และ ป. โดย ป.มีส่วนได้รับไม่ถึงตามฟ้อง ถือว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของร่วมกัน ประเด็นพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิในที่ดินพิพาทมากน้อยเพียงใด การที่จำเลยที่ 4 ต่อสู้ว่าฟ้องขาดอายุความมรดกเท่ากับต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเลยและฟ้องแย้งว่าตนได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่ตนครอบครองโดยการครอบครองปรปักษ์ นอกจากโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่แล้วยังโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ด้วย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการย้ายที่ทำการ และการไม่อุทธรณ์การประเมินทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ว่า การปิดหมายเรียกไม่ชอบเพราะมิได้สอบถามคนที่อยู่ในบ้านก่อน แต่โจทก์มิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียกจึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) แห่ง ป.รัษฎากร ที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบ มีผลเท่ากับไม่มีการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้าแม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้า ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้า
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียกจึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) แห่ง ป.รัษฎากร ที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบ มีผลเท่ากับไม่มีการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้าแม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้า ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้า
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำรับสารภาพชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้มิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามคำรับสารภาพนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นไปตามกฎหมาย หากคู่ความไม่พอใจย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แต่ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ และเข้าใจผิดว่าเป็นการถามชื่อจำเลย จึงให้การรับสารภาพไปเป็นความเข้าใจผิดของจำเลยเอง จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ปรึกษาเพิกถอนพินัยกรรม: ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้อ้างในชั้นต้น
จำเลยเป็นบุตรนาง จ. เดิม จ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่ น.ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาจำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นที่ปรึกษาและดำเนินการเพื่อให้ จ.เพิกถอนพินัยกรรมฉบับดังกล่าว โจทก์ได้เกลี้ยกล่อมจน จ.ยอมเพิกถอนพินัยกรรมและทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลย ถือว่าโจทก์ดำเนินการตามสัญญาจ้างเสร็จแล้ว สัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและหมายนัดพยานโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายงานเจ้าพนักงาน
เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ทั้งได้ทำรายงานลงข้อความระบุแน่ชัดถึงตัวบุคคล ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและชื่อผู้รับ รวมทั้งวิธีการส่ง วันเดือนปีและสถานที่ส่ง พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำรายงานแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 80 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ณ ภูมิลำเนาโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว การที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ในขณะนำส่งหมายได้พบชาย - หญิงอายุประมาณ 30 - 50 ปี ณ สถานที่ดังกล่าวและบุคคลดังกล่าวแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ผู้จัดการจำเลยที่ 4 และที่ 5 ออกไปธุระต่างจังหวัด ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 อ้างว่าไม่เป็นความจริง เพราะในวันดังกล่าวเป็นวันหยุดทำการของจำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพบบุคคลดังกล่าวนั้น ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลเท่านั้น และข้อเท็จจริงดังกล่าวถึงแม้จะเป็นวันหยุดทำการก็อาจมีพนักงานของจำเลยที่ 4 ที่ 5 มาทำงานก็ได้ จึงไม่ทำให้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายเสียไป
รายงานการเดินหมายของเจ้าพนักงานศาลเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น และได้ระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคล ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมาย วิธีส่ง วันเดือนปี และเวลาที่ส่ง และรายงานนั้นได้ลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำรายงานแล้ว การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการส่งโดยชอบ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 อ้างว่า การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระบุว่า ส่งให้แก่จำเลยคนใด ณ บ้านเลขที่ใดนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกการปิดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่า ได้ส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ณ บ้านเลขที่ตามฟ้องแล้ว ส่วนรายงานของเจ้าพนักงานศาลต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับบ้านเลขที่ของจำเลยที่ 3 ว่าเป็นบ้านเลขที่ 49/5 ซึ่งความจริงบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นเลขที่ 59/4 นั้นก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายงานระหว่างเจ้าพนักงานศาลที่ทำรายงานต่อศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ทำให้การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์เสียไป
เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ไม่สามารถกระทำได้โดยการส่งหมายวิธีปกติ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้าทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาลอันเป็นวิธีอื่นใดตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก
รายงานการเดินหมายของเจ้าพนักงานศาลเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น และได้ระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคล ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมาย วิธีส่ง วันเดือนปี และเวลาที่ส่ง และรายงานนั้นได้ลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำรายงานแล้ว การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการส่งโดยชอบ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 อ้างว่า การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระบุว่า ส่งให้แก่จำเลยคนใด ณ บ้านเลขที่ใดนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกการปิดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่า ได้ส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ณ บ้านเลขที่ตามฟ้องแล้ว ส่วนรายงานของเจ้าพนักงานศาลต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับบ้านเลขที่ของจำเลยที่ 3 ว่าเป็นบ้านเลขที่ 49/5 ซึ่งความจริงบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นเลขที่ 59/4 นั้นก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายงานระหว่างเจ้าพนักงานศาลที่ทำรายงานต่อศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ทำให้การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์เสียไป
เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ไม่สามารถกระทำได้โดยการส่งหมายวิธีปกติ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้าทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาลอันเป็นวิธีอื่นใดตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการขยายเวลาชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 แต่จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาดังกล่าว ครั้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้แล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้แสดงเหตุว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการบุกรุก: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน
ความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 193 ตรีแต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาไม่สุจริต อาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องกำบังร่วมกันจับกุมโจทก์เพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ให้โจทก์เกรงกลัวไม่กล้าไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของบริษัท ย. เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรีอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาความผิดต่อเสรีภาพจึงต้องห้ามตามกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดต่อเสรีภาพต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1), 92(5) มีความหมายโดยสรุปว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปจับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดในที่รโหฐานได้ต่อเมื่อมีหมายจับกุมบุคคลผู้นั้นและมีหมายค้นที่รโหฐานนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้วเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานโดยแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามระเบียบแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1),92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไปแต่ประการใดจำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ก็เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายและนัดสืบพยานโดยปิดประกาศหน้าศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งโดยวิธีธรรมดาไม่ได้
ปัญหาว่าการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกโดยปิดประกาศหน้าศาลให้จำเลยทราบเป็นการชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก แล้ว ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหน้าศาล ศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมาย การดำเนินการประกาศหน้าศาลจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายในกำหนด 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบโดยวิธีอื่นโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก แล้ว ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและฟังได้ว่ามีการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วจริง การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2539 และศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหน้าศาล ศาลชั้นต้นให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งโดยวิธีการปิดหมาย การดำเนินการประกาศหน้าศาลจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกโดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากขังชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหาอ้างถูกทำร้าย-ขู่เข็ญก่อนถูกสอบสวน และเหตุโต้แย้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ตามคำขอฝากขังของเจ้าพนักงานสอบสวนทั้งสองครั้ง โดยที่ ผู้ต้องหาที่ 1 มิได้คัดค้านประการใดนั้น เป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏตามที่ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนหน้านั้น ก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายต้อง กลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ผู้ต้องหาที่ 1 ชอบที่จะ ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตนตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพ ของผู้ต้องหาที่ 1 จะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นเรื่อง ที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่ง อนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง ตามคำร้องของ ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 233,237, วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและ วรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็น การโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญแม้ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวในตอนท้ายคำร้องด้วยว่า บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ขัดแย้ง หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นข้อกล่าวอ้าง ที่เลื่อนลอย ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการกล่าวอ้างถึงการละเมิดสิทธิ และการไม่ส่งข้อโต้แย้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
ในการขอฝากขังครั้งแรก พนักงานสอบสวนผู้ร้องอ้างเหตุว่า ต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง 10 ปาก ส่วนในการขอฝากขัง ครั้งที่ 2 ผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง อีก 6 ปาก และในการขอฝากขังทั้งสองครั้งผู้ร้องยังอ้างว่าต้องรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาอีกด้วย ซึ่ง จำเลยไม่คัดค้าน จึงมีเหตุอันควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังได้ตามขอจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฎว่า ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาถูกทำร้ายขู่เข็ญให้ รับสารภาพมาก่อนหน้านั้นก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ในกรณีดังกล่าวผู้ต้องหาชอบที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตน ตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพของผู้ต้องหาจะ รับฟังได้หรือไม่ เพียงใด และการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลจึงไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง เนื้อหาตามคำร้อง ของ ผู้ต้องหาที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งข้อโต้แย้งของผู้ต้องหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเมื่อเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าการกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 233,237 วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและวรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ต้องหากล่าวในคำร้องว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องมิได้กล่าว โดยแจ้งชัดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด กรณีตามคำร้องย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งคำร้อง ของ ผู้ต้องหานี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย