คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินพร้อมไถ่ถอนจำนองหลังชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนไม่ตกเป็นโมฆะ แม้มีปัญหาการชำระหนี้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ.แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินหลังชำระบัญชี ห้างมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ออกเงินไถ่ถอนจำนองได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ. แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไปโจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่ ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ. จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรมข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อ บทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองเมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วแม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้ชำระบัญชีในการทำสัญญาดูแลทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วน และผลต่อฐานะคู่สัญญา
ในกรณีที่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการดำเนินงานแทนห้างหุ้นส่วนย่อมได้แก่ผู้ชำระบัญชี การนำเอาทรัพย์สินของห้าง ฯ ไปทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ดูแลรักษาไว้ในระหว่างการชำระบัญชีเป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ชำระบัญชี การที่ผู้ชำระบัญชีให้โจทก์และจำเลยโดยตัวแทนได้ร่วมลงชื่อในบันทึกการมอบทรัพย์สินของห้าง ฯ ให้โจทก์เป็นผู้ดูแลรักษา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีด้วยความรอบคอบ เพื่อให้หุ้นส่วนทุกคนได้มีส่วนรับรู้ในการมอบทรัพย์สินของห้าง ฯ ให้โจทก์ดูแลรักษา เป็นการป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเรียกร้องเอาผิดต่อผู้ชำระบัญชีเป็นส่วนตัว หากมีการเสียหายเกิดขึ้นในภายหลัง จึงหามีผลให้จำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาค่าดูแลรักษาทรัพย์สินของห้าง ฯ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้ชำระบัญชีในการทำสัญญาดูแลรักษาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่เลิกแล้ว และผลต่อฐานะคู่สัญญา
ในกรณีที่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและอยู่ในระหว่าง ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการดำเนินงานแทนห้างหุ้นส่วนย่อมได้แก่ผู้ชำระบัญชี การนำเอาทรัพย์สินของห้างฯ ไปทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ดูแลรักษาไว้ในระหว่างการชำระบัญชีเป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ชำระบัญชีการที่ผู้ชำระบัญชีให้โจทก์และจำเลยโดยตัวแทนได้ร่วมลงชื่อในบันทึกการมอบทรัพย์สินของห้างฯ ให้โจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีด้วยความรอบคอบเพื่อให้หุ้นส่วนทุกคนได้มีส่วนรับรู้ในการมอบทรัพย์สินของห้างฯ ให้โจทก์ดูแลรักษา เป็นการป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเรียกร้องเอาผิดต่อผู้ชำระบัญชีเป็นส่วนตัว หากมีการเสียหายเกิดขึ้นในภายหลัง จึงหามีผลให้จำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ที่จะให้สิทธิแก่โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาค่าดูแลรักษาทรัพย์สินของห้างฯ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเลยการชำระหนี้ก่อนเฉลี่ยคืนเงินให้ผู้ถือหุ้น ถือเป็นการละเมิดต่อเจ้าหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้รู้อยู่แล้วว่าบริษัทลูกหนี้เป็นหนี้บริษัทเจ้าหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้ให้บริษัทเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1264 กลับเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือแก่บรรดาผู้ถือหุ้นไปจนหมด จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 แสดงว่าผู้ร้องจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อบริษัทเจ้าหนี้ตาม มาตรา 422
เมื่อหนี้สินระหว่างบริษัทเจ้าหนี้และบริษัทลูกหนี้ยังไม่ได้รับการชำระสะสางให้เสร็จสิ้นไป การชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็ยังไม่สำเร็จลงและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้มิได้วางเงินที่เหลือตามบทบัญญัติว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือ การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270 ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าได้กระทำไปโดยสุจริต ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาชำระบัญชีทุจริต: ความเคลือบคลุมของฟ้องและการพิจารณาทรัพย์สินเฉพาะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามกับพวกผู้ชำระบัญชีที่ตายไปแล้ว ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีโดยเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายและจำเลยทั้งสามกับพวกดังกล่าวได้เบียดบังทรัพย์สินของห้างซึ่งอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีเป็นประโยชน์ของจำเลยทั้งสามกับพวกที่ตายไปแล้วและบุคคลอื่นโดยเจตนาทุจริตอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของห้างซึ่งโจทก์และทายาทอื่นของนายซีมากาเดอร์มีส่วนอยู่ด้วย2 ประการ คือ
ประการแรก จำเลยทั้งสามกับพวกได้แบ่งทรัพย์สินของห้างที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์กับหุ้นส่วนทั้งในและนอกประเทศที่มีมูลค่าเป็นเงิน 3,581,441 บาท 60สตางค์ให้โจทก์และทายาทอื่นเพียงบางรายการน้อยกว่า15 ส่วนใน 100 ส่วนตามที่บิดาโจทก์มีสิทธิจะได้รับเห็นว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินของห้างมีอะไรบ้างทรัพย์สินของห้างเพียงบางรายการที่จำเลยกับพวกแบ่งให้น้อยกว่า15 ใน 100 ส่วน ตามที่บิดาโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับนั้นมีอะไรบ้างโจทก์กับทายาทอื่นได้รับส่วนแบ่งไปแล้วเท่าใด ยังขาดอีกเท่าใดจำเลยทั้งสามกับพวกได้เบียดบังทรัพย์สินของห้างซึ่งอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีรายการใดไปเป็นประโยชน์คำบรรยายฟ้องของโจทก์ในข้อนี้จึงเคลือบคลุม
ประการที่สอง สำหรับทรัพย์สินบางรายการ เช่น (1) หุ้นของบริษัท ร. ประเทศมาเลเซีย 12,140 หุ้น (2) บริษัท ม.ประเทศสิงค์โปร์ 3,500 หุ้น (3) ที่ดินพร้อมอาคารเลขที่11/5 ตรอกตำบีซาเนื้อที่ 33.3 ตารางวา (4) ที่ดินพร้อมอาคารเลขที่160 ถนนราชบพิตรเนื้อที่ 14 ตารางวา เป็นต้นจำเลยทั้งสามกับพวกไม่ยอมแบ่งหุ้นและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์และทายาทอื่นตามส่วนที่บิดาโจทก์มีสิทธิได้รับ 15ส่วนใน 100 ส่วนเห็นว่าแม้จะมีทรัพย์สินของห้างที่จำเลยกับพวกไม่ยอมแบ่งให้โจทก์และทายาทอื่นๆ มากกว่านี้แต่ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 4 รายการนี้ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องศาลก็ชอบที่จะลงโทษจำเลยเกี่ยวกับทรัพย์ 4 รายการนี้ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับทรัพย์ 4 รายการดังกล่าวนี้ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยมิชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดร่วมกับบริษัท
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไปโดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัท จำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด: ข้อจำกัดการทำสัญญาค้ำประกันหลังเลิกห้าง และความรับผิดของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่าห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้นมิได้หมายความว่าในระหว่างนั้นห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว ต้องชำระบัญชีให้เสร็จก่อน จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินจากห้างได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคแรก เพื่อให้ทราบว่ากิจการมีกำไรหรือขาดทุน หุ้นส่วนแต่ละคนมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่าใดหรือจะต้องชดใช้ให้ห้างหุ้นส่วนเพียงใด แล้วจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินหรือทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกกันนำคดีมาฟ้องเรียกเงินปันผล และเงินค่าหุ้นจากผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นอื่นที่วายขนม์ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใด นั้น เป็นการยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว ต้องชำระบัญชีให้เสร็จก่อน จึงมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สิน
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคแรกเพื่อให้ทราบว่ากิจการมีกำไรหรือขาดทุน หุ้นส่วนแต่ละคนมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่าใดหรือจะต้องชดใช้ให้ห้างหุ้นส่วนเพียงใด แล้วจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินหรือทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้การที่โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกกันนำคดีมาฟ้องเรียกเงินปันผล และเงินค่าหุ้นจากผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นอื่นที่วายชนม์ไปแล้ว ทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใด นั้น เป็นการยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 15