พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสหกรณ์เบียดบังเงิน: ความผิดฐานใดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้จัดการสหกรณ์มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน: โจทก์มีหน้าที่สืบพยานเพื่อพิสูจน์ฐานความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรแสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดคนละฐานกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวย่อมไม่ได้ คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยใหม่
โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร: การลงโทษบทที่ถูกต้องเมื่อจำเลยมีฐานะทั้งผู้ก่อและตัวการร่วม
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
บัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นเอกสารปลอมเกิดขึ้น เพราะจำเลยเป็นผู้ดำเนินเรื่องโดยจำเลยเป็นต้นตอและให้ความร่วมมือ จำเลยจึงอยู่ในฐานะทั้งผู้ก่อและร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารดังกล่าว ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารและเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารนั้นด้วย ความผิดฐานก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารจึงเกลื่อนกลืนเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสาร ศาลฎีกาลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสารแต่เพียงบทเดียว
บัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นเอกสารปลอมเกิดขึ้น เพราะจำเลยเป็นผู้ดำเนินเรื่องโดยจำเลยเป็นต้นตอและให้ความร่วมมือ จำเลยจึงอยู่ในฐานะทั้งผู้ก่อและร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารดังกล่าว ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารและเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารนั้นด้วย ความผิดฐานก่อให้ผู้อื่นปลอมเอกสารจึงเกลื่อนกลืนเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสาร ศาลฎีกาลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นปลอมเอกสารแต่เพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากร่วมกันฆ่าเป็นสนับสนุนการกระทำผิด และการยกฟ้องเมื่อลงโทษตามฟ้องไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายซึ่งเป็นความผิดที่มีการกระทำอย่างเดียว แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้ตาย โดยมิได้กระทำร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 กระทำโดยลำพังตนเองเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนมีการกระทำผิดฐานฆ่าผู้ตาย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายเป็นแต่จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกจำเลยที่ 1 ขึ้นว่าพี่พลยิงเลย อันเป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ดังนี้จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
แต่การที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกจำเลยที่ 1 ขึ้นว่าพี่พลยิงเลย เป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2529)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายเป็นแต่จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกจำเลยที่ 1 ขึ้นว่าพี่พลยิงเลย อันเป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ดังนี้จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
แต่การที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกจำเลยที่ 1 ขึ้นว่าพี่พลยิงเลย เป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โจทก์ต้องสืบพยานให้ชัดเจนถึงฐานความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะเป็นความผิดคนละฐานกัน จะลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์จริง ไม่ชัดเจนพอจะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่โจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่สืบพยานก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 819/2513 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากฝิ่นเป็นยาเสพติด และข้อจำกัดในการขอให้นับโทษ
ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติฝิ่นยังใช้บังคับอยู่แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น เสียทั้งหมด แล้วกำหนดให้ฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และการมีฝิ่นไว้ในความครอบครองกับการเสพฝิ่นยังเป็นความผิดอยู่ แต่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้พระราชบัญญัติฝิ่นที่ใช้ในขณะ กระทำความผิดบังคับแก่คดี สำหรับการมีกล้องสูบฝิ่นไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2528 บัญญัติว่า เป็นความผิดการกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา63 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา63 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาระสำคัญของฟ้องคือผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุฐานความผิดเป็นละเมิด ศาลต้องพิจารณาอายุความตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า "ละเมิดเรียกค่าเสียหาย"ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า "ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย" แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน"เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกงและการพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทลงโทษจำเลยจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกงแต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี เท่ากับศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฟ้องว่าลักทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าเป็นฉ้อโกง เมื่อจำเลยนำสืบว่ากระบือที่จำเลยรับมาเป็นกระบือของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192วรรคสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์เบียดบังเงิน: การกำหนดฐานความผิดตามมาตรา 147 แทนมาตรา 352
แม้จำเลยมีตำแหน่งอาจารย์ทำหน้าที่สอนหนังสือ แต่จำเลยก็ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ใหญ่ให้ทำหน้าที่หัวหน้าแผนกการเงินซึ่งอาจารย์ใหญ่มีอำนาจมอบหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับและเบียดบังไปเป็นเงินค่าจำหน่ายผลิตผลและอื่น ๆ เมื่อจำเลยรับไว้แล้วมีหน้าที่ต้องนำส่งต่อคณะกรรมการรักษาเงิน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจจำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาทรัพย์ เมื่อจำเลยเบียดบังเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 หาใช่ มาตรา 352 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายทำให้เกิดบาดแผลช้ำบวม ถือเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
จำเลยเพียงแต่ใช้มือทำร้ายผู้เสียหาย ผู้เสียหายมีบาดแผลช้ำบวม 2 แห่ง ไม่มีโลหิตออก แม้แพทย์ลงความเห็นว่าจะหายเป็นปกติภายใน 10 วัน ก็เป็นเพียงการคาดคะเน เพราะอาจจะหายก่อน 10 วันก็ได้ จำเลยจึงคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น