คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ยทบต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นบัญชีเดินสะพัด: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา แม้หลังสัญญาครบกำหนด หากยังมีการเดินสะพัดทางบัญชี
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะครบกำหนดแต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้วจำเลยที่1ยังมีภาระต้องชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่โจทก์จึงต้องรับผิดดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะถือว่าไม่ได้ตกลงเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้เพียงแต่คิดทบต้นไม่ได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อมีการตกลงชำระหนี้ทั้งหมดและปลดจำนอง การคิดดอกเบี้ยทบต้นมีจำกัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารโจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้เอาไว้ การที่ผู้จัดการสาขาของโจทก์เรียกให้ ว. ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1ไปเจรจาเพื่อตกลงกันในเรื่องการผ่อนชำระหนี้ มิฉะนั้นจะถูกธนาคารโจทก์สำนักงานใหญ่ยื่นฟ้อง ว. จึงได้โอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ว.ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ตามที่ได้ตกลงกันเพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินเฉพาะส่วนของ ว. พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์เรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 ชำระหนี้หลังจากที่หักทอนบัญชีกันแล้วอันแสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกต่อไปแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวหลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้นของผู้ค้ำประกัน, และวงเงินความรับผิด
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตาม ป.พ.พ. มาตรา 858, 859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1 กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน 611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24 บาทจึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858,859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24บาท จึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7203/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ต่ออายุสัญญา การบอกกล่าวบังคับจำนอง ดอกเบี้ยทบต้น และฟ้องไม่เคลือบคลุม
คำฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 3 ครั้ง แต่ละครั้งกำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย วิธีคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างชำระ ซึ่งมีการเดินสะพัดทางบัญชีตลอดมาจนพ้นกำหนดเวลาถึงวันฟ้อง มียอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม ส่วนยอดเงินมีความเป็นมาอย่างไรดอกเบี้ยอัตราเท่าไร และคิดดอกเบี้ยแบบไหนเป็นรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป จึงได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนอง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองตามหนังสือบอกกล่าวของทนายความเป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าฝากหักทอนบัญชี จึงถือว่ามีการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1จะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194-6195/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด? การคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนสืบเสร็จแล้วต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นแสดงถึงหนี้ที่เกิดขึ้นมาภายหลังที่สืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นเอกสารที่จำเลยไม่สามารถทราบก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นได้ว่าต้องนำสืบเพื่อประโยชน์ของตน แต่ข้อสำคัญแห่งประเด็นของคดีมีว่า เมื่อถึงวันฟ้องจำเลยเป็นหนี้โจทก์เท่าใด ซึ่งโจทก์ได้นำสืบถึงจำนวนหนี้ที่มีถึงวันฟ้องเสร็จสิ้นไปแล้วการที่จำเลยจะนำสืบถึงเอกสารที่แสดงถึงจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้วย่อมไม่ทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเลยจึงระบุพยานเพิ่มเติมไม่ได้ ครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้วบัญชีของจำเลยมีทั้งการถอนเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีต่อไปอีก โดยจำเลยถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2524 และนำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาแม้ตามรายการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีเฉพาะการนำเงินเข้าบัญชีเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการถอนเงินจากบัญชีก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิกกันในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2524 แต่จะเลิกกันในวันครบกำหนดที่โจทก์บอกเลิกสัญญาและทวงถามให้ชำระเสร็จสิ้น เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มีนาคม 2529 ต้องถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงินที่ค้างชำระได้จนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2529ต่อจากนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเงินกู้เรื่องดอกเบี้ยทบต้น: 'ไม่น้อยกว่า 1 ปี' กับ 'เกิน 1 ปี' มีความหมายต่างกัน
ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กับข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี มีความหมายแตกต่างกัน หามีความหมายเหมือนกันไม่ กล่าวคือ ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นั้น หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาตั้งแต่วันครบ 1 ปี เป็นต้นไป ส่วนข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาถัดจากวันครบ 1 ปี เป็นต้นไปดังนั้น ที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระงวดที่สามและงวดที่สี่มาทบต้นในวันครบกำหนด 1 ปี พอดีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มาทบต้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้ว ดอกเบี้ยหาตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5109/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีขยายโดยปริยาย การบอกเลิกสัญญา และดอกเบี้ยทบต้น
เมื่อพ้นกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 21 มิถุนายน2528 แล้ว จำเลยยังคงเบิกเงินเกินบัญชีต่อไป และยังมีการนำเงินเข้าบัญชีอยู่อีก ซึ่งโจทก์ก็ยอมถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงกันขยายอายุสัญญาออกไปโดยปริยายเช่นนี้สัญญาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 ปรากฏว่าโจทก์ได้หักทอนบัญชีและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2531 ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1การเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2528 ถึงก่อนวันที่31 มีนาคม 2531 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความข้อนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5109/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีขยายอายุโดยปริยาย การคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ขัดกฎหมาย
เมื่อพ้นกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 21 มิถุนายน2528 แล้ว จำเลยยังคงเบิกเงินเกินบัญชีต่อไป และยังมีการนำเงินเข้าบัญชีอยู่อีก ซึ่งโจทก์ก็ยอมถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงกันขยายอายุสัญญาออกไปโดยปริยายเช่นนี้สัญญาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 859 ปรากฏว่าโจทก์ได้หักทอนบัญชีและแจ้งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่กรณีชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2531 ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 การเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2528 ถึงก่อนวันที่31 มีนาคม 2531 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความข้อนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี และดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน โดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน 320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้น ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
of 17