คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ยผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การรับผิดของนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์ไปตามถนน พหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น2ช่องเดินรถโดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบกจำเลยที่1ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูงไม่ระมัดระวังในการบังคับรถเป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหายซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่1แล้วคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่1จะขับรถมาจากทิศทางใดจะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียวการที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่27มิถุนายน2533จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่27มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่12ตุลาคม2533ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดจำเลยที่3จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรก จำเลยที่2เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่1ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่1และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนเพราะถือว่าจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้วส่วนจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นและโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่3ชำระค่าเสียหายภายใน15วันนับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยที่3ได้รับเมื่อวันที่25สิงหาคม2532แต่ไม่ชำระภายในกำหนดจำเลยที่3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่10กันยายน2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันหนี้ การรับผิดส่วนตัวของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ และดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส.คือบริษัทต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส. ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้ จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส. ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลย ผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้อง รับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้เดิมและหนี้ใหม่, ความรับผิดของตัวแทนเชิด, และดอกเบี้ยผิดนัด
การแปลงหนี้ใหม่ต้องปรากฏว่าคู่กรณีมีเจตนาแปลงหนี้ใหม่ด้วย การที่จำเลยให้คำรับรองหรือรับสภาพหนี้เก่าว่าจะชำระหนี้ให้นั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การบรรยายฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญากู้
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า คณะกรรมการโจทก์เป็นใครแต่การที่โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจโดย ส. ซึ่งเป็นประธานกรรมการลงนามแทนคณะกรรมการบรรษัทโจทก์ มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจกระทำกิจการอันเป็นธุรกิจของบรรษัทแทน ซึ่งรวมทั้งการฟ้องคดีส่งมาท้ายฟ้องด้วย แสดงว่า ส.และศ.เป็นผู้แทนโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่า โจทก์คำนวณเปรียบเทียบอัตราเงินสกุลต่างประเทศมาเป็นเงินไทยในอัตราหน่วยละเท่าใดคิดอัตราเปรียบเทียบในวันที่เท่าใด คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด และในอัตราดอกเบี้ยกี่เปอร์เซนต์นั้น เมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยพร้อมทั้งอัตราดอกเบี้ยและวิธีการคิดดอกเบี้ยไว้ในฟ้องแล้วและได้ส่งรายละเอียดแห่งการเป็นหนี้ของจำเลยมาท้ายฟ้องด้วย ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม ตามพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2502 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า "ในส่วนกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้จัดการทั่วไปมีอำนาจกระทำการแทนบรรษัทแต่ผู้จัดการทั่วไปจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในกิจการใดก็ได้" การฟ้องคดีเป็นส่วนกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนั้นศ.ซึ่งเป็นกรรมการและผู้จัดการทั่วไปของโจทก์จึงมีอำนาจกระทำการแทนบรรษัทโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องให้คณะกรรมการมอบอำนาจอีกปัญหาเรื่องโจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาชำระหนี้ เพราะเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มมาตลอด โจทก์มิได้ถือข้อตกลงในสัญญากู้ที่ระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินหรือดอกเบี้ยงวดใดงวดหนึ่ง ถือว่าผิดนัดทุกงวด เป็นสาระสำคัญหรือไม่นั้นจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ปัญหาที่ว่ากันมาในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหานี้มาก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและจ้างประกอบตู้ไฟฟ้า ข้อตกลงเรื่องการรับรองอุปกรณ์โดยการไฟฟ้านครหลวง และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยได้ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ และโจทก์รับจ้างจำเลยประกอบตู้ไฟฟ้า โดยจำเลยได้รับอุปกรณ์ไฟฟ้าครบถ้วนและได้ชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว คงค้างชำระค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบเสนอราคาที่ระบุว่าโจทก์จะต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยอมรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียก่อน เห็นว่าหากโจทก์จำเลยมีเจตนาให้นำเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับด้วย ก็น่าจะระบุลงไว้ในสัญญาที่ทำขึ้นในภายหลังให้ชัดเจน เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ควรรับมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์จนกว่าการไฟฟ้านครหลวงจะได้รับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ได้ตกลงเงื่อนไขดังกล่าวไว้ ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้ออกหนังสือรับประกันให้นั้น ปรากฏว่าในสัญญามีข้อความเขียนด้วยลายมือว่า"โดยมีระยะเวลารับประกัน 1 ปี ฯ" ถือว่าโจทก์ได้รับประกันให้จำเลยแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ให้โจทก์
ส่วนที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยให้นับถัดจากวันฟ้อง ทั้งที่ระบุในคำวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เมื่อผิดนัดเห็นได้ชัดว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยผิดพลาดหรือพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาล-อุทธรณ์ในส่วนนี้ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน หลักฐานการกู้ยืม และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 อยู่ที่มีการแสดงให้เห็นว่า มีการกู้ยืมเงินกันไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย เอกสารที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ยืม มีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ซึ่งมิได้ระบุชื่อลงไว้จำนวนเท่าใด เมื่อวันเดือนปีใด ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้มิได้ระบุว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลอธิบายให้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้ให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) จำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้ยืมต่อโจทก์ เมื่อไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ต่อกันไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันโจทก์บรรยายว่า ได้ทวงถามจำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระแต่ตามคำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามวันเวลาใด จึงต้องฟังให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดในวันฟ้องนั้นเอง จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจำนองไม่เคลือบคลุม, อำนาจผู้ชำระบัญชี, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนหนี้ของส.และว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้องฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ๆ นั้นในอรรถคดีด้วย ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ย แก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด แม้ดอกเบี้ยส่วนหนึ่งเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมาย
หนื้ที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เหตุที่สัญญาในส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะเพราะกำหนดให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยตามกฎหมายเพราะจำเลยผิดนัด
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะให้แก่โจทก์เพราะกำหนดไว้เกินอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องคืนเงินดังกล่าวที่รับไว้ให้จำเลย โจทก์ย่อมไม่เป็นลูกหนี้ของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามกฎหมาย แม้ดอกเบี้ยในสัญญาเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
หนี้ที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เหตุที่สัญญาในส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะเพราะกำหนดให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยตามกฎหมายเพราะจำเลยผิดนัด การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะให้แก่โจทก์เพราะกำหนดไว้เกินอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องคืนเงินดังกล่าวที่รับไว้ให้จำเลย โจทก์ย่อมไม่เป็นลูกหนี้ของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดสัญญาเช่าซื้อแม้รถถูกยึด & อัตราดอกเบี้ยผิดนัด
แม้จำเลยจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการที่ ส. นำรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิด แต่เหตุที่รถยนต์คันดังกล่าวถูกยึดก็เนื่องจากจำเลยให้ ส. ยืมไปอันเป็นความผิดของจำเลยเอง หาใช่เกิดจากการกระทำของฝ่ายโจทก์ไม่ จำเลยจะอ้างการที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อเนื่องจากถูกพนักงานสอบสวนยึดมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อหาได้ไม่สัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ ให้แก่โจทก์จนกว่าครบถ้วนตามสัญญาหรือมีการบอกเลิกสัญญาโดยชอบ สัญญาเช่าซื้อกำหนดดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดค้างชำระในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างผิดนัดเท่านั้น หามีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
of 13