พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดี: เหตุจำเป็นและเจตนาของผู้ร้องในการดำเนินคดี
ในวันนัดสืบพยานผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนทนายผู้ร้องมาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แสดงว่าผู้ร้องยังใส่ใจในคดี เมื่อผู้ร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรกด้วยเหตุที่ผู้ร้องไปทำงานรับจ้างอยู่ที่ต่างจังหวัดกลับมาไม่ได้ตามกำหนด ซึ่งแม้โจทก์จะแถลงคัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดีก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้านว่าข้ออ้างของผู้ร้องไม่ความจริง จึงนับได้ว่ามีเหตุจำเป็นแม้ผู้ร้องจะยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลสั่งไม่รับก็ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าผู้ร้องประวิงคดีจึงสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยเจ้าพนักงานที่ทำให้ผู้อื่นถูกดำเนินคดี ความเสียหายต้องเกิดกับรัฐ ไม่ใช่ตัวบุคคล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหา ได้ปล่อยตัว ด. กับอ. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 1 แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกับผู้ต้องหาทั้งสองดังกล่าวลักทรัพย์ทำให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญา เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เอง ไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ อ. ไปและโจทก์ถูกดำเนินคดีจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปยังไม่ได้ อีกทั้งหากการปล่อยตัว ด.และ อ. ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือ รัฐไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีเมื่อคู่ความถึงแก่ความตาย - การเข้ามาเป็นคู่ความแทน
ในกรณีที่คู่ความตายในระหว่างอุทธรณ์ คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ และศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยมาตรา 42, 44 แห่ง ป.วิ.พ.ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว เป็นการไม่ชอบเพราะมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา243 (2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตระหว่างอุทธรณ์: ต้องมีผู้แทนจำเลยก่อนพิพากษา
ในกรณีที่จำเลยตายในระหว่างอุทธรณ์นั้น คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42,43 ก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาแล้วส่งมาให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังโดยมิได้สั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกทายาทจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะเสียก่อน เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2)ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟ้องแย้งและการดำเนินคดีต่อเนื่อง แม้จำเลยมิได้ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ
การที่จำเลยไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 วรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์มิให้จำเลย (โจทก์ฟ้องแย้ง) ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีของตนภายในเวลาที่กำหนด แต่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่อยู่ในดุลพินิจ ดังนั้นตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาจำเลยก็อาจยื่นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้ ศาลมีคำสั่งไม่รับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เนื่องจากยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การ ซึ่งมีผลเท่ากับว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานกำหนดวันนัดสืบพยานแล้วจำเลยก็ได้มาดำเนินกระบวนพิจารณาตามนัดทุกครั้ง ซึ่งถือว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ในการดำเนินคดีต่อไปแล้ว ทั้งศาลก็ได้ทำการสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จนเสร็จการพิจารณาคดี และนัดฟังคำพิพากษาแล้วจึงไม่ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้งของจำเลยและแก้ประเด็นข้อพิพาทใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดี - ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืน ช.จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4646/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้ในการดำเนินคดีที่จำเลยเลิกสัญญา แม้จะยังไม่ได้ฟ้องคดี
โจทก์ได้ดำเนินการตามที่จำเป็นในการที่จะฟ้อง ม. กับพวกแล้วและที่ไม่สามารถฟ้อง ม. กับพวกนั้นมิใช่ความผิดของโจทก์เมื่อปรากฏว่าในเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยได้ตกลงให้คนอื่นดำเนินการเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ แทนโจทก์ จึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการที่โจทก์ได้ทำไปเพื่อฟ้อง ม. กับพวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการดำเนินคดีต่อไป แม้มีการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายในกำหนด มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำสั่งแก่โจทก์โดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่แม้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้วศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจดำเนินคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาลในการดำเนินคดีต่อไป แม้จำเลยฝ่ายหนึ่งยื่นคำแก้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายในกำหนด มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งแก่โจทก์โดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ. มาตรา 174(2)ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่แม้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว ศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจดำเนินคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน ราษฎรที่เสียหายโดยตรงก็ฟ้องได้
การที่จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาจนโจทก์ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และการที่จำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จได้