พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงที่มิได้รับอนุญาตและข้อตกลงลดค่าเช่าที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้เช่าเอาโรงแรมมาให้เช่าช่วงโดยไม่รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าเดิมทั้งมิได้บอกผู้เช่าช่วงให้รู้ว่าเป็นการเช่าช่วงนั้น เมื่อผู้เช่าช่วงรู้ความจริงภายหลัง แต่ก็มิได้โต้แย้ง หรือบอกล้างแต่อย่างใด คงใช้และรับประโยชน์จากโรงแรมที่เช่านั้นตลอดมา ดังนี้ ผู้เช่าช่วงจะไม่ยอมใช้ค่าเช่าแก่ผู้เช่าโดยอ้างเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
ตามหนังสือสัญญาเช่า(อสังหาริมทรัพย์) กำหนดค่าเช่าไว้เดือนละ1,500 บาท จะขอสืบพยานบุคคลว่าได้มีการตกลงกันใหม่ลดค่าเช่าลงนั้น เมื่อไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกันจะมาขอนำสืบพยาน ดังนี้ ย่อมไม่ได้
ตามหนังสือสัญญาเช่า(อสังหาริมทรัพย์) กำหนดค่าเช่าไว้เดือนละ1,500 บาท จะขอสืบพยานบุคคลว่าได้มีการตกลงกันใหม่ลดค่าเช่าลงนั้น เมื่อไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกันจะมาขอนำสืบพยาน ดังนี้ ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันทรัพย์เกินกว่าเหตุ กรณีผู้เสียหายพยายามเอาทรัพย์สินที่ตกลงกันไว้
ผู้เสียหายกับพวกมาเอาโคของจำเลย ซึ่งผู้เสียหายถือว่าจำเลยตกลงให้เป็นค่าสินสอดแก่ผู้เสียหาย จำเลยไม่ยอมให้ ผู้เสียหายจึงเข้าไปจับโคในคอกของจำเลย จำเลยจึงได้ใช้ดาบฟันผู้เสียหาย 3 ที จำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรจำเลยคนแรกเข้ามาใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหายอีก 1 ทีผู้เสียหายมีบาดเจ็บถึงสาหัส ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่มีสิทธิจะมาเอาโคนั้นไปโดยพลการ แต่มูลกรณีที่ว่าจำเลยตกลงให้โคเป็นค่าสินสอดก็มีอยู่จริง จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหายถึง 3 ทีติดๆ กัน แล้วจำเลยผู้เป็นบุตรยังมาช่วยฟันอีก 1 ทีจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงสาหัส การกระทำของจำเลยนับว่าเป็นการรุนแรงและเกินควรแก่เหตุในการป้องกันทรัพย์ มีผิดตามมาตรา 256,53 กฎหมายลักษณะอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลสัญญาซื้อขายฝิ่น: การเสนอต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเมื่อไม่ตกลงกันเรื่องราคาและคุณภาพ
ในสัญญาซื้อขายฝิ่นมีข้อความว่า ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันว่าราคาฝิ่นที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเฉพาะฝิ่นที่บริสุทธิ์เท่านั้น ถ้าคุณภาพหรือความบริสุทธิ์ของฝิ่นเลวไปกว่านั้น
ผู้ขายให้ลดราคาลงตามส่วนโดยจะยอมรับเงินค่าฝิ่นเท่าที่ผู้ซื้อจะจ่ายให้ แล้วให้เสนอเรื่องต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเป็นผู้วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่งเมื่ออธิบดีวินิจฉัยชี้ขาดกำหนดราคาให้เท่าใด ผู้ขายยินยอมรับคำวินิจฉัยเป็นยุติเด็ดขาด ดังนี้ศาลฎีกาแปลสัญญาว่าถ้าคณะกรรมการ(ผู้ซื้อ) และโจทก์(ผู้ขาย)ตกลงราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพกันได้แล้วเรื่องก็ไม่มีปัญหาถึงอธิบดีกรมสรรพสามิตจะต้องมีการเสนอขอรับคำวินิจฉัยของอธิบดีก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้ซื้อและผู้ขายไม่ตกลงกันในเรื่องราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพนั้นเท่านั้น คำสั่งของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทางราชการนั้นจะนำมาประกอบการแปลสัญญาเป็นการผูกมัดโจทก์(ผู้ขาย)ซึ่งเป็นคนนอกและไม่ปรากฏว่าได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนี้หรือรู้เห็นคำสั่งนี้ด้วยไม่ได้
ผู้ขายให้ลดราคาลงตามส่วนโดยจะยอมรับเงินค่าฝิ่นเท่าที่ผู้ซื้อจะจ่ายให้ แล้วให้เสนอเรื่องต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเป็นผู้วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่งเมื่ออธิบดีวินิจฉัยชี้ขาดกำหนดราคาให้เท่าใด ผู้ขายยินยอมรับคำวินิจฉัยเป็นยุติเด็ดขาด ดังนี้ศาลฎีกาแปลสัญญาว่าถ้าคณะกรรมการ(ผู้ซื้อ) และโจทก์(ผู้ขาย)ตกลงราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพกันได้แล้วเรื่องก็ไม่มีปัญหาถึงอธิบดีกรมสรรพสามิตจะต้องมีการเสนอขอรับคำวินิจฉัยของอธิบดีก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้ซื้อและผู้ขายไม่ตกลงกันในเรื่องราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพนั้นเท่านั้น คำสั่งของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทางราชการนั้นจะนำมาประกอบการแปลสัญญาเป็นการผูกมัดโจทก์(ผู้ขาย)ซึ่งเป็นคนนอกและไม่ปรากฏว่าได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนี้หรือรู้เห็นคำสั่งนี้ด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากผิดสัญญา: ผู้ผิดสัญญาต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและค่าเสียหายตามที่ตกลงกันไว้
คดีเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา เมื่อจำเลยรู้ดีว่า เมื่อตนผิดสัญญา โจทก์จะต้องเสียหาย ดังนี้จำเลยต้องรับผิดในค่าเสียหายตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 380 วรรค 2 ซึ่งศาลอาจจะให้ค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาท และค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7000 บาท ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1000 บาท โจทก์อุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาท ดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1000 บาท ซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์ชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองรวมกันเป็น 8, 000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาท และค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7000 บาท ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1000 บาท โจทก์อุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาท ดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1000 บาท ซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์ชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองรวมกันเป็น 8, 000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไม้และการเปลี่ยนมือสิทธิในทรัพย์สิน
คู่กรนีคำสัญญาซื้อขายไม้พายหลังตกลงพิเสสนอกเหนือไปจากสัญญา และได้ปติบัติไปตามข้อตกลงนั้นครบถ้วนแล้วข้อสัญญานั้นก็เปนอันยกเลิกไป
คำสัญญาซื้อขายไม้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องวัดไม้ก่อนเพื่อคิดราคาถัวเปนพิกัด แต่เมื่อตัดไม้บางส่วนแล้ว คู่กรนีตกลงกันว่าไม่ต้องวัดไม้ต่อไป เพียงแต่ไห้นับจำนวนเท่านั้น เมื่อนับครบถ้วนแล้วโจทจึงชำระเงินงวดสุดท้ายไห้ เช่นนี้กัมสิทธิไนไม้เหล่านั้นได้ตกมาหยู่แก่โจทแล้ว.
คำสัญญาซื้อขายไม้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องวัดไม้ก่อนเพื่อคิดราคาถัวเปนพิกัด แต่เมื่อตัดไม้บางส่วนแล้ว คู่กรนีตกลงกันว่าไม่ต้องวัดไม้ต่อไป เพียงแต่ไห้นับจำนวนเท่านั้น เมื่อนับครบถ้วนแล้วโจทจึงชำระเงินงวดสุดท้ายไห้ เช่นนี้กัมสิทธิไนไม้เหล่านั้นได้ตกมาหยู่แก่โจทแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระโดยไม่ได้ตกลงกันไว้แต่เดิม ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
โรงค้าซึ่งเสียภาษีโรงค้าได้ขายของราคา 10 บาทเศษเวลาไปเก็บเงินผู้ซื้อผ่อนใช้คราวละ 3 บาท ผู้ขายจึงไม่ได้ปิดอากรแสตมป์เมื่อรับเงินครบแล้วดังนี้ไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นเจ้าของโดยอิสระ และการคำนวณค่าขึ้นศาลตามที่ตกลงกัน
การที่ได้ปกครองที่ร่วมกันมากับเจ้าของที่ดินนั้นไม่เรียกว่าเป็นการครอบครองในฐานเป็นเจ้าของโดยอิสสระ จะอ้างสิทธิปกครองโดยปรปักษ์ขึ้นใช้+ต่อเจ้าของที่ดินหาได้ไม่ ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง +(3) ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ในคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์แลเรียกค่าเสียหายขึ้นมาด้วยนั้น ถ้าคู่ความตกลงเรื่องค่าเสียหายกันเท่าไรในเวลาจำเลยอุทธรณ์ต้องถือเอาทุนทรัพย์จากค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ ไม่ใช่ถือตามค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: นายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตกลงจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นถูกต้องตามมาตรา 1061 แล้วผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนการเลิกห้างได้ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนบอกกล่าวยืนยันว่าห้างห้างหุ้นส่วนเลิกจากกันและจัดการทรัพย์สินแล้ว ทั้งคำขอขีดชื่อห้ามหุ้นส่วนไม่ขัดต่อมาตรา 1019 แล้วนายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนให้ โดยไม่มีหน้าที่ปฏิเสธข้อความเหล่านั้น วิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณพะยาน คู่ความฝ่าย 1 ส่งเอกสารเป็นพะยานอีกฝ่าย 1 มิได้ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารแลข้อความในเอกสารทั้งไม่มีหน้าที่ปฏิเสธข้อความในเอกสารนั้นตามกฎหมายแล้วศาลยอมรับฟังเป็นความจริงตามเอกสารนั้นได้ โดยไม่ต้องมีพะยานบุคคลประกอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สมบูรณ์เมื่อผู้ออกเช็คไม่ได้ลงวันที่และจำนวนเงิน ผู้กรอกเองถือเป็นการตกลงกันระหว่างผู้อื่น ไม่ถือว่าผู้ออกเช็คกระทำความผิด
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ค วันที่ในเช็คอันเป็นกำหนดเวลาที่สั่งให้ธนาคารใช้เงินจึงเป็นสาระสำคัญของการกระทำความผิด หากมิได้ลงวันที่ในเช็ค ผู้ออกเช็คย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจะให้มีการใช้เงินตามเช็คในวันใด จึงถือว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด ข้อเท็จจริงความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพียงลงลายมือสั่งจ่ายไว้โดยไม่ได้ลงรายการอื่น มอบให้ จ. ต่อมา จ. เป็นผู้กรอกจำนวนเงินและวันที่สั่งจ่าย แล้วมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ขณะที่จำเลยไม่ได้อยู่ด้วย โดยจำเลยมิได้ยินยอมหรือมอบหมายให้กระทำ แสดงว่ากำหนดวันที่สั่งจ่ายและจำนวนเงินเป็นการตกลงกันระหว่างโจทก์กับ จ. เท่านั้น จำเลยหาได้รู้เห็นด้วย เช็คพิพาทย่อมไม่เป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยจึงหาต้องรับผิดตามเช็คพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและคู่สัญญาตกลงกันใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารคลับเฮาส์โดยโจทก์เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2542 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2542 จำเลยที่ 2 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนใหม่ผิดไปจากเดิมหลายประการ ซึ่งมีทั้งการเพิ่มเหล็กเพิ่มคอนกรีตและต้องทุบงานที่ก่อสร้างไปแล้วบางส่วนทิ้งเพื่อทำให้ตามแบบที่แก้ไข ทำให้โจทก์ต้องเสียเวลา เนื่องจากขณะนั้นลงมือก่อสร้างไปแล้วเกือบเดือน ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยที่ 2 ก็บอกให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ตามกำหนดเวลาเดิมอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ