คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตรวจสอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ โดยการไม่ชำระค่าระวางเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบน้ำหนัก
คำสั่งของจำเลยกำหนดว่า พนักงานของจำเลยต้องชำระค่าระวางสิ่งของที่นำไปกับขบวนรถเสียก่อนแล้วไปขอเบิกคืนทีหลัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักเท่าใด เพราะค่าระวางส่วนที่เกินนี้ไม่สามารถเบิกคืนได้ การที่โจทก์นำสิ่งของน้ำหนัก 34 กิโลกรัม ขึ้นไปกับขบวนรถโดยมิได้เสียค่าระวาง ย่อมทำให้จำเลยไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าโจทก์ได้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางในแต่ละเดือนเท่าใด จำเลยจึงเสียหายต้องขาดรายได้จากค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดให้ได้รับยกเว้น ส่วนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดดังกล่าวการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ กรณีไม่ชำระค่าระวางและทำให้จำเลยตรวจสอบน้ำหนักสิ่งของไม่ได้
คำสั่งของจำเลยกำหนดว่า พนักงานของจำเลยต้องชำระค่าระวางสิ่งของที่นำไปกับขบวนรถเสียก่อนแล้วไปขอเบิกคืนทีหลัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนดให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางในแต่ละเดือนเป็นน้ำหนักเท่าใดเพราะค่าระวางส่วนที่เกินนี้ไม่สามารถเบิกคืนได้การที่โจทก์นำสิ่งของน้ำหนัก 34 กิโลกรัม ขึ้นไปกับขบวนรถโดยมิเสียค่าระวาง ย่อมทำให้จำเลยไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าโจทก์ได้นำสิ่งของขึ้นไปกับขบวนรถเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางในแต่ละเดือนเท่าใด จำเลยจึงเสียหายต้องขาดรายได้จากค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดให้ได้รับยกเว้น ส่วนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าระวางในส่วนที่เกินกำหนดดังกล่าว การกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การจำกัดสิทธิฟ้อง และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบแก้ไข
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด และตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์ยื่นแบบรายการชำระภาษีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ปี 2517ถึง 2521 ไว้ต่อจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่าย จำเลยที่ 2 จึงได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปให้คำชี้แจงประกอบการไต่สวนตรวจสอบ พร้อมทั้งให้นำสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปตรวจสอบด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ขอคืนเงินภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนสูงถึง 2,700,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ออกหมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงการเรียกไปตรวจสอบเพื่อประกอบคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516) ลงวันที่ 22 มีนาคม 2516แต่ประการเดียว แต่ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ใช้อำนาจตามมาตรา 19หมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนและได้ทราบข้อความแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันสินค้าเพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตามกฎหมาย
กองป้องกันและปราบปราม กรมศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออกเพื่อเก็บภาษีอากร และปราบปรามผู้ลักลอบนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งมีอำนาจยึดกักตรวจสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การตรวจปล่อยสินค้ากรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรนั้น หากมีเหตุหรือพฤติการณ์แวดล้อมเป็นที่สงสัยอันควรเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับที่ส่งออก หรือเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามก็มีอำนาจโดยชอบที่จะกักสินค้านั้นไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติศุลกากรต่อไปได้
โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ทำให้บัญชีไม่น่าเชื่อถือและเกิดความเสียหาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งสหกรณ์อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานการลงรายการในสมุดบัญชีบันทึกรายการชั้นต้น และการผ่านเข้าสมุดบันทึกรายการขั้นปลายของโจทก์ร่วมในแต่ละวันให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ ทั้งคณะกรรมการโจทก์ร่วมได้มีมติให้จำเลยมีอำนาจในการซื้อขายสินค้า รับชำระราคาและเก็บรักษาเงินของโจทก์ร่วมได้ แต่จำเลยไม่ได้ไปตรวจสอบหลักฐานการลงบัญชีเป็นประจำทุกวัน นาน ๆ จะไปตรวจสอบสักครั้งแล้วลงชื่อย้อนหลัง ทำให้บัญชีของโจทก์ร่วมมีข้อบกพร่องไม่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ไม่เป็นที่เชื่อถือ ถือได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม ย่อมมีความผิดตามป.อ. มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5250/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ: ธนาคารรับเช็คโดยสุจริต ไม่ต้องตรวจสอบที่มาของผู้สั่งจ่าย
เช็คผู้ถือมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แม้จะมีข้อความอื่นบันทึกไว้ด้านหลังเช็คและถูกขีดฆ่าก่อนที่โจทก์ได้รับมา ข้อความดังกล่าวก็หามีผลกระทบต่อเช็คไม่ และถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เช็คมาโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โจทก์เป็นธนาคารได้รับเช็คจากลูกค้าเพื่อชำระหนี้ตามปกติทางการค้า หาจำต้องมีหน้าที่ตรวจสอบถึงที่มาหรือฐานะของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์คบคิดกับลูกค้าฉ้อฉลจำเลย จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5250/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ: ธนาคารรับเช็คโดยสุจริต ไม่ต้องตรวจสอบที่มาของผู้สั่งจ่าย
เช็คผู้ถือมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แม้จะมีข้อความอื่นบันทึกไว้ด้านหลังเช็คและถูกขีดฆ่าก่อนที่โจทก์ได้รับมา ข้อความดังกล่าวก็หามีผลกระทบต่อเช็คไม่ และถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เช็คมาโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์เป็นธนาคารได้รับเช็คจากลูกค้าเพื่อชำระหนี้ตามปกติทางการค้า หาจำต้องมีหน้าที่ตรวจสอบถึงที่มาหรือฐานะของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์คบคิดกับลูกค้าฉ้อฉลจำเลย จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีเมื่อไม่นำเอกสารหลักฐานมาให้ตรวจสอบ
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19,20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้ โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบในการดำเนินคดี: จำเลยมีหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการดำเนินคดีของตนเอง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ อ้างว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1เข้าใจผิดว่า จำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำตัวของจำเลยที่ 2 ดำเนินคดีโดยยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 และทนายความของจำเลยที่ 2 ก็เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาเอง แม้เหตุผลตามคำร้องจะเป็นความจริงก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 1 จะอ้างความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายต้องรอการตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
การที่ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวมายังผู้ร้อง ผู้ร้องหามีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล.
of 13