คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตั๋วแลกเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยปริยายและการรับผิดในตั๋วแลกเงิน: เมื่อเจ้าของยินยอมให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทน
เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นตัวแทนหรือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 เชิดตัวเองว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 3 ออกตั๋วแลกเงินในนามของโรงสีซึ่งเป็นของจำเลยที่ 1 โดยใช้ตรายี่ห้อโรงสีประทับในตั๋วแลกเงินขายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินจากผู้จ่ายตามที่ระบุไว้ในตั๋วไม่ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหลักประกันจากตัวแทนที่เชิดตัวเอง
เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นตัวแทนหรือจำเลยที่ 1 ที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 เชิดตัวเองว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 3 ออกตั๋วแลกเงินในนามของโรงสีซึ่งเป็นของจำเลยที่ 1 โดยใช้ตรายี่ห้อโรงสีประทับในตั๋วแลกเงินขายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินจากผู้จ่ายตามที่ระบุไว้ในตั๋วไม่ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วแลกเงินเพื่อรับเงิน ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมเอกสาร
เมื่อการที่จำเลยลงลายมือชื่อปลอมลงในตั๋วแลกเงินธนาคารออมสินนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่ต้องทำลงในเอกสารดังกล่าว เพื่อให้เอกสารนั้นสมบูรณ์ครบถ้วนเพื่อที่เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินจะจ่ายเงินให้ และก็ทำให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อว่าเป็นผู้ทรงที่แท้จริง จึงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปดังนี้ ย่อมเป็นไปโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิรับเงินที่แท้จริง และแก่ธนาคารออมสิน การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามมาตรา 266(4) แต่การลงลายมือชื่อปลอมก็เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน คือ เงิน อันเป็นการกระทำส่วนหนึ่งในกรรมที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 342(1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ซึ่งมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยผิดมาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อในตั๋วแลกเงินเพื่อเบิกเงิน ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร
เมื่อการที่จำเลยลงลายมือชื่อปลอมลงในตั๋วแลกเงินธนาคารออมสินนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่ต้องทำลงในเอกสารดังกล่าว เพื่อให้เอกสารนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อที่เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินจะจ่ายเงินให้ และก็ทำให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อว่าเป็นผู้ทรงที่แท้จริงจึงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไป ดังนี้ ย่อมเป็นไปโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิรับเงินที่แท้จริงและแก่ธนาคารออมสิน การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามมาตรา266(4) แต่การลงลายมือชื่อปลอมก็เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน คือ เงิน อันเป็นการกระทำส่วนหนึ่งในกรรมที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 342(1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ซึ่งมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดมาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารลักษณะตั๋วแลกเงินที่ผิดแบบและใบรับ: การเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เอกสารที่ประกอบด้วยลักษณะของใบรับอันต้องปิออากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินรวมอยู่ด้วย
ตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามบัญชี อากรแสดมป์ข้อ 9 คือ ตั๋วแลกเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อทำผิดแบบไม่อาจถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามอัตราดังกล่าวได้
เอกสารที่มีลักษณะของใบรับ กับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินด้วย ถ้าทำขึ้นเมื่อใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 แล้ว ก็เข้าลักษณะต้องเสียอากรอย่างตั๋วแลกเงินและต้องถือว่าไม่อยู่ในลักษณะเป็นใบรับที่ต้องเสียอากรอีกด้วย
การลดหย่อนเงินเพิ่มอากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 80 นั้น เป็นดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ จะขอให้ศาลใช้ดุลยพินิจเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารลักษณะคล้ายตั๋วแลกเงิน/ใบรับ ต้องเสียอากรตามประเภทที่เข้าข่าย และการใช้ดุลพินิจเรื่องเงินเพิ่ม
เอกสารที่ประกอบด้วยลักษณะของใบรับอันต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตัวแทนเงินรวมอยู่ด้วย
ตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 9 คือ ตั๋วแลกเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อทำผิดแบบก็ไม่อาจถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามอัตราดังกล่าวได้
เอกสารที่มีลักษณะของใบรับ กับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินด้วย ถ้าทำขึ้นเมื่อใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 แล้ว ก็เข้าลักษณะต้องเสียอากรอย่างตั๋วแลกเงินและต้องถือว่าไม่อยู่ในลักษณะเป็นใบรับที่ต้องเสียอากรอีกด้วย
การลดหย่อนเงินเพิ่มอากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 80 นั้นเป็นดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ จะขอให้ศาลให้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองตั๋วแลกเงินและการผัดชำระหนี้ ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้หรือสอดเข้าแก้หน้า
ผู้สั่งจ่ายออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ผู้จ่ายใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับเงิน มีบุคคลหนึ่งเป็นผู้รับอาวัลด้วย ผู้จ่ายลงนามรับรองแล้ว แต่ไม่ใช้เงินให้ผู้รับเงิน ต่อมาผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัลทำบันทึกมอบให้ผู้รับเงินไว้ฉบับหนึ่งมีใจความว่า ขอรับใช้เงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้นร่วมกันและแทนกัน แต่ขอผัดวันชำระไป และเพื่อเป็นสินเชื่อ ผู้สั่งจ่ายขอนำเอาเครื่องฉายภาพยนต์จำนำผู้รับเงินไว้ การที่ผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัลรับรองในเอกสารอื่นมิได้เขียนระบุความลงบนตั๋วแลกเงินนั้นเอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 952 เช่น นี้ เรียกไม่ได้ว่า เป็นการรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้าและบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงผู้สั่งจ่ายเพิ่มหลักประกันให้ผู้รับเงินเพื่อให้ผ่อนเวลาชำระเงินออกไป มิได้เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เดิม หรือตัวเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ทั้งไม่มีข้อความส่อว่าคู่กรณีจะระงับหนี้ตามตั๋วแลกเงิน โดยให้ถือเอาสัญญาตามบันทึกนี้แทน จึงไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาหนี้ตั๋วแลกเงินทำให้ผู้สั่งจ่ายพ้นความรับผิด และหนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆะ
ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยมิได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน ผู้ทรงตั๋วนั้นย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย และผู้สั่งจ่ายก็พ้นจากความรับผิดอย่างใด ๆ ตามกฎหมายต่อผู้ทรง
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่ผู้ทรง ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เพราะขณะนั้นไม่มีหนี้อะไรเหลืออยู่แล้วแม้หนี้เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1005 ก็ไม่ต้องรับผิด หนังสือรับสภาพหนี้นั้นจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการผ่อนเวลาจ่ายเงินตั๋วแลกเงินต่อความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและการสำคัญผิดในนิติกรรม
ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยมิได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน ผู้ทรงตั๋วนั้นย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย และผู้สั่งจ่ายก็พ้นจากความรับผิดอย่างใดๆ ตามกฎหมายต่อผู้ทรง
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่ผู้ทรง ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเพราะขณะนั้นไม่มีหนี้อะไรเหลืออยู่แล้วแม้หนี้เดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1005 ก็ไม่ต้องรับผิด หนังสือรับสภาพหนี้นั้นจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องร้องตั๋วแลกเงินและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนข้อกำหนดลงไว้ว่าไม่จำต้องมีคำคัดค้านนั้น เมื่อถึงกำหนดผู้ทรงยื่นตั๋วเงินให้ผู้รับรองจ่ายเงินผู้รับรองไม่จ่ายผู้ทรงไม่ต้องทำคำคัดค้าน
of 7