พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีแผ่นอลูมิเนียมใช้ทำหลอด ยึดกฎหมายไทยเหนือความเห็นองค์กรระหว่างประเทศ
สินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรทำด้วยอลูมิเนียมมีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียบ หนาเกินกว่า 0.20 มิลลิเมตร ซึ่งเกินกว่าหนึ่งในสิบของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวเกินกว่า 6 มิลลิเมตร มีรูตรงกลางใช้ทำหลอดบรรจุยาสีฟัน เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในจำพวกเป็นแผ่นที่เตรียมไว้เพื่อทำหลอดจึงอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.06 ตามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าได้แก่ หลอด ท่อ และแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดหรือท่อทำด้วยอลูมิเนียม ไม่เข้าลักษณะประเภทพิกัดที่ 76.16 ได้แก่ของอื่น ๆ ที่ทำด้วยอลูมีเนียม ก. ของประดับกายและของใช้ซึ่งตามปกติเป็นของติดตัว ซึ่งมิได้ระบุไว้ในประเภทอื่น อันเป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ ในกรณีที่สินค้าไม่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นและจะนำคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรณ กรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีข้อความแตกต่างจากที่พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากรบัญญัติไว้ดังกล่าวมาเทียบเคียงปรับให้สินค้าดังกล่าวข้างต้นจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.16 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน: การตีความคำรับสารภาพตามฟ้องและขอบเขตความผิด
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงเวลากลางวันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้เข้าไปลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในเคหสถานไปโดยทุจริตหรือมิฉะนั้นจำเลยได้กระทำผิดฐานรับของโจรทรัพย์ที่ถูกลักไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางวันจริงตามฟ้องเช่นนี้ ก็ต้องฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเคหสถานตามที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ด้วยศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (8) วรรคแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ และการตีความตามเจตนาของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดยบรรยายฟ้องว่า "...เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 เวลากลางวัน ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค ได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา 129 ลาดพร้าว เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยแจ้งว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย..." เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์นั้นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิดคือ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์และการตีความบทลงโทษหนักขึ้นตามมาตรา 340 ตรี ที่จำกัดเฉพาะผู้ใช้ยานพาหนะ
เมื่อจำเลยกับพวกได้ทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปหลบซ่อนอยู่ในบ้านของ ร. ส่วนพวกของจำเลยวิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่คนร้ายอีกคนหนึ่งจอดรออยู่ โดยไม่ปรากฏว่าก่อนทำการปล้นทรัพย์จำเลยมายังที่เกิดเหตุด้วยรถจักรยานยนต์แต่ประการใด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าเป็นชุดอุปกรณ์ควบคุมการจราจรทางรถไฟ ต้องจัดอยู่ในพิกัด 85.16
สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ จึงเป็นชุดของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อ 6 บัญญัติว่า ของครบชุดสมบูรณ์หรือของซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นของครบชุดที่นำเข้ามาโดยแยกออกจากกันหรือมิได้ประกอบเข้าด้วยกัน แม้จะแยกนำเข้าต่างวาระกันก็ตามให้จัดเข้าในประเภทที่ว่าด้วยของครบชุดสมบูรณ์ได้ เมื่อเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟเป็นสินค้าประเภทพิกัดที่ 85.16 จึงต้องจัดสินค้าที่จำเลยนำเข้าเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.16 ด้วย ที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรโจทก์จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.19ในฐานะเป็นเครื่องไฟฟ้าสำหรับต่อและตัดวงจรไฟฟ้า จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความอัตรากำไรมาตรฐานยาตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานสินค้านำเข้า: ยาสำหรับสัตว์จัดอยู่ในอัตรา 11.5% ไม่ใช่ 21%
ยาทุกชนิดตามข้อ 3 (1) ของบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานสินค้านำเข้า หมายถึงยาที่ใช้กับมนุษย์เท่านั้น สำหรับยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคพืชสัตว์ตามข้อ 3 (4) หมายถึงยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคพืชอย่างหนึ่งกับยาห้องกันกำจัดศัตรูและโรคสัตว์อีกอย่างหนึ่ง
สินค้าของโจทก์เป็นยารักษาโรคสัตว์ทั่วไป จึงเป็นยากำจัดโรคสัตว์ตามข้อ 3 (4) อัตรากำไรมาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 11.5
สินค้าของโจทก์เป็นยารักษาโรคสัตว์ทั่วไป จึงเป็นยากำจัดโรคสัตว์ตามข้อ 3 (4) อัตรากำไรมาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 11.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอุปกรณ์ส่งโทรทัศน์
ในกรณีสินค้าที่พิพาทไม่อาจจัดเข้าในประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใดโดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 คือต้องตีความโดยจัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 95.15 ก.
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 95.15 ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์จัดอยู่ในพิกัดเครื่องส่งโทรทัศน์ (85.15 ก.) มิใช่เครื่องบันทึกเสียง (92.11)
ในกรณีสินค้าที่พิพาทไม่อาจจัดเข้าในประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใดโดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503คือต้องตีความโดยจัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด สินค้ารายพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.15 ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าเป็นเกณฑ์จัดประเภท
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใด ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าต้องใช้เป็นเกณฑ์จัดประเภท แม้มีลักษณะหลายด้าน
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใดประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป และเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทกรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอัน เป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้ จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าใน ประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏ ว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร