คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประกาศประกวดราคา: สิทธิเลือกซื้อเฉพาะบางรายการ และข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้ออ้างในชั้นฎีกา
ข้อความในหนังสือประกาศประกวดราคาระบุว่าผู้ซื้อไม่ผูกพันที่จะตัดสินเข้าทำสัญญาซื้อขายกับผู้เสนอราคาต่ำสุดการเสนอราคาเพียงบางส่วนของหนึ่งรายการจะไม่ได้รับการพิจารณาการเสนอราคาจะพิจารณาตัดสินจากหลักว่าเป็นไปตามสเปคราคากำหนดการส่งของและความต้องการอื่นๆไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าโจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าเพียงบางรายการข้อความในประกาศดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจนจึงไม่มีกรณีที่จะต้องตีความและหากเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยก็จะต้องตีความข้อความในประกาศประกวดราคาไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11 คำฟ้องของโจทก์โจทก์ยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่าจำเลยผิดสัญญาตามประกาศประกวดราคามิได้ยกข้ออ้างตามที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงทำสัญญาซื้อขายกันตามประกาศประกวดราคาดังกล่าวมาแล้วโดยจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าจากจำเลยเพียงบางรายการได้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม: ศาลฎีกาชี้ว่าการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นอำนาจศาลชั้นบังคับคดี ไม่ใช่อุทธรณ์
การตีความตามคำพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีมิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังนี้เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการรังวัดให้ได้เนื้อที่จำนวน60ไร่ให้แก่บุตรโจทก์ตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยยังมิได้วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จำเลยจึงฎีกาได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดวิธีแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่60ไร่เป็นของบุตรโจทก์ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อแก้ไขมิได้เพราะนอกข้อตกลงคำพิพากษาตามยอมจึงไม่มีข้อผิดพลาดไม่มีเหตุที่ศาลจะแก้ไขหรือกำหนดแนวทางให้คู่ความปฏิบัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาต่อเนื่อง
สัญญาที่จำเลยทำกับโจทก์ทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้องตีความเจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรทั้งรูปคดีมีเหตุตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายจำเลยจึงมีความผูกพันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินตามสัญญาฉบับสุดท้ายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยคุ้มครองตลอด: การตีความขอบเขตความคุ้มครองและผลบังคับใช้
สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีวินาศภัยดังที่ระบุไว้เกิดขึ้น และโจทก์ตกลงจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่าOPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้วสัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน disguised as สัญญาเงินกู้: การตีความตามพยานหลักฐาน
แม้เอกสารหมาย จ.3 จะใช้แบบพิมพ์สัญญากู้ยืมและในข้อ 1มีข้อความว่า ผู้กู้ (จำเลย) ได้กู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ (โจทก์) ไปเป็นจำนวนเงิน230,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการชำระดอกเบี้ยและกำหนดเวลาที่จะชำระเงินต้นคืนไว้ดังสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป แต่ในสัญญาข้อ 4 กลับมีข้อความระบุไว้ว่า ผู้กู้ได้นำ น.ส.3 (ที่สวนมะพร้าว) หมู่ที่ 8 ตำบลท่าชนะ เนื้อที่ 60 ไร่เศษโดยนายสำราญ ศรียาภัย ขายที่ดิน 2 แปลงนี้ให้นายไพรัช แสงฉวาง ในราคา750,000 บาท ตกลงจ่ายเงินงวดแรกเป็นเงิน 350,000 บาท และจ่ายเงินในวันทำสัญญานี้เท่ากับเงินกู้คือ 230,000 บาท ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจะทำการโอนที่ดินทั้งสองแปลงนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันทำสัญญา หากฝ่ายใดผิดสัญญาให้ปรับหนึ่งเท่าของราคาที่ดิน นอกจากโจทก์จะมีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงแล้วยังได้ความว่า หลังจากจำเลยรับเงินจำนวน 230,000 บาท ในวันทำเอกสารหมาย จ.3 แล้ว จำเลยยังรับเงินจากโจทก์อีกหลายครั้งจนครบจำนวน 350,000 บาทจำเลยก็ได้โอนที่ดินตามสัญญาหนึ่งแปลงให้แก่โจทก์ ดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน
เอกสารหมาย จ.4 เป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมระบุจำเลยรับเงินจากโจทก์อีก 2 ครั้ง เอกสารหมาย จ.4 นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับเอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เอกสารหมาย จ.4 เป็นการชำระเงินให้จำเลยเพื่อซื้อที่ดิน มิใช่การให้จำเลยกู้ยืมเงินย่อมไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร เพราะเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จะทำเอกสารหมาาย จ.4 ชอบที่จะนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเงินกู้เรื่องดอกเบี้ยทบต้น: 'ไม่น้อยกว่า 1 ปี' กับ 'เกิน 1 ปี' มีความหมายต่างกัน
ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กับข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี มีความหมายแตกต่างกัน หามีความหมายเหมือนกันไม่ กล่าวคือ ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นั้น หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาตั้งแต่วันครบ 1 ปี เป็นต้นไป ส่วนข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาถัดจากวันครบ 1 ปี เป็นต้นไปดังนั้น ที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระงวดที่สามและงวดที่สี่มาทบต้นในวันครบกำหนด 1 ปี พอดีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มาทบต้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้ว ดอกเบี้ยหาตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเดินผ่านที่ดิน ไม่รวมถึงสิทธิปักเสาไฟฟ้า
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลยริบเขตแดนด้านทิศใต้ตามแผนที่พิพาทได้กว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนว มีความหมายเฉพาะว่าให้จำเลยเดินผ่านเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงการปักเสาไฟฟ้าด้วยการปักเสาไฟฟ้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การตีความกำหนดเวลาชำระหนี้ และขอบเขตการบังคับตามสัญญา
ผู้จะซื้อได้กรอกข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่ากำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ภายในเดือนเมษายน 2531 และให้ผู้จะขายกรอกวันที่ลงไป แต่ผู้จะขายก็หาได้กรอกวันที่ไม่ ทั้งภายหลังผู้จะซื้อและผู้จะขายก็มิได้กำหนดวันที่โอนกันอีก จึงจะถือว่าสัญญาดังกล่าวได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 มิได้ ทั้งยังถือว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดตามมาตรา 388 ก็ไม่ได้ การที่ผู้จะขายบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้ผู้จะซื้อชำระเงินก่อนจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 สัญญาจึงยังไม่เลิกกัน ในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ผู้จะซื้อกรอกเฉพาะโฉนดที่ดินเลขที่ 6470 เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ซึ่งผู้จะขายมิได้ทักท้วงเรื่องเนื้อที่ที่ดิน ความจริงที่ดินดังกล่าวได้แบ่งเป็นโฉนดเลขที่ 12473อีก 1 โฉนด ทั้งผู้จะขายก็มิได้ให้การโต้แย้งว่าที่ดินตามสัญญามีเนื้อที่ไม่ถึง 30 ไร่ และยังนำสืบรับว่าที่ดินพิพาทมี 2 แปลงดังกล่าว ถือว่าคู่สัญญาตกลงกันที่จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินประมาณ 30 ไร่ นั่นเอง ซึ่งเป็นการตีความตามเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาดังนั้น แม้ว่าผู้จะซื้อฟ้องขอบังคับให้ผู้จะขายโอนที่ดินเฉพาะโฉนดเลขที่ 6470 แต่ศาลก็สามารถพิพากษาให้โอนที่ดินทั้งสองโฉนดได้ โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์โดยโจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลือแก่จำเลยทันทีในวันจดทะเบียน ศาลจะพิพากษาให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินต่อศาลเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นจะหมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและเงินมัดจำ: การตีความเอกสารสัญญาเมื่อข้อความขัดแย้งกัน
สัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ระบุว่าตกลงวางมัดจำในวันทำสัญญา 100,000 บาท และมีรายการกำหนดเวลาชำระเงินส่วนที่เหลือไว้เป็น 2 งวด เมื่อครบกำหนดชำระงวดแรกผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเพิ่มเงินมัดจำขึ้นอีก แต่ข้อความในสัญญาดังกล่าวระบุชัดว่าผู้จะขายได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระงวดแรก ตามที่ระบุไว้ในสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขาย แม้ผู้ร้องจะมีพยานมานำสืบอธิบายสัญญาว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำก็ขัดกับข้อความในเอกสาร ฟังได้ว่าสัญญาเพิ่มเงินมัดจำคือหลักฐานการชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายนั่นเอง ผู้ร้องหามีสิทธิรับเงินจำนวนดังกล่าวไม่เมื่อมีการเลิกสัญญาแล้วผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงสภาพการจ้างเรื่องค่าครองชีพและค่าจ้างขั้นต่ำ: จำเลยต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้าง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ่างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้ง ซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้ว ให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ ที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือน หลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
of 17