คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศภายใต้ พ.ร.บ.ประกันสังคม: การตีความ 'สถานพยาบาล' และขอบเขตความคุ้มครอง
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56, 85 และมาตรา 87 บัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดที่เห็นว่าตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนประสงค์จะขอรับประโยชน์ดังกล่าวต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ขั้นตอนดังกล่าวคือผู้ประกันตนหรือบุคคลนั้นต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานที่เลขาธิการกำหนดภายใน1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน กฎหมายบังคับให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาสั่งการโดยเร็ว เมื่อทำคำสั่งแล้วผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวย่อมมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยแล้ว หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจจึงให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด การที่ พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 บังคับให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการขอรับประโยชน์ทดแทนก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้ยื่นคำขอนำไปแสดงว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามคำขอหรือไม่ดังนั้นผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดยื่นคำขอก็ต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ ในคำขอให้ชัดแจ้งว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอย่างไร จำนวนเงินเท่าไร ทั้งมีสิทธินำบุคคล เอกสาร และวัตถุอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อสอบพยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอแล้วเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาสั่งคำขอนั้นโดยทำเป็นคำสั่งชี้ขาดว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างหรือไม่ จำนวนเท่าไร คำสั่งดังกล่าวจึงต้องชี้ชัดและต้องอ้างเหตุผลประกอบไว้ด้วย เพื่อผู้ยื่นคำขอจะได้ทราบและหากไม่พอใจจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อไป การอุทธรณ์นั้นผู้อุทธรณ์คงคัดค้านคำสั่งเฉพาะข้อความหรือส่วนที่ไม่เห็นด้วยเท่านั้นข้อความตอนใดหรือส่วนใดที่คำสั่งระบุไว้เป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอแล้วผู้ยื่นคำขอย่อมพอใจและคงไม่อุทธรณ์คัดค้านเป็นแน่ ในทำนองเดียวกันคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยก็ต้องอ้างเหตุผลประกอบให้ชัดแจ้งว่าผู้อุทธรณ์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือไม่ อย่างไร เพราะผู้อุทธรณ์อาจไม่เห็นด้วยและไม่พอใจคำวินิจฉัยจักได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเฉพาะที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยโดยระบุเหตุที่ผู้อุทธรณ์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนไว้ชัดแจ้งแสดงว่าคณะกรรมการอุทธรณ์ประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์เท่านั้นหาได้ถือเอาเหตุอื่นมาเป็นข้ออ้างด้วยไม่
กองประโยชน์ทดแทนที่ 1 ของจำเลยยกคำขอของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าการให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533ครอบคลุมเฉพาะการที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสถานพยาบาลในราชอาณาจักรเท่านั้นโรงพยาบาล ซ.เป็นสถานพยาบาลที่มิได้อยู่ในราชอาณาจักร ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 อีกทั้งไม่ได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคม ดังนี้ คำสั่งและคำวินิจฉัยถือเอาเฉพาะเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลในราชอาณาจักรมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และมิได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคมเท่านั้น มิได้อ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่กรณีเจ็บป่วยจนถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินแต่อย่างใด เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างในคำสั่งและคำวินิจฉัยขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหาได้ไม่ แม้จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไว้ในคำให้การศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504มาตรา 4 มิได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะของประเทศไทยหรือต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อโรงพยาบาล ซ.เป็นโรงพยาบาลประกอบโรคศิลปะที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาดังนั้นโรงพยาบาลดังกล่าวจึงเป็นสถานพยาบาลตามความหมายของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 ด้วย
สถานพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ หมายถึง สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จากคำจำกัดความตามประกาศดังกล่าวเห็นได้ว่าสถานพยาบาล ได้แก่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 นั่นเองเมื่อจำเลยมิได้กำหนดไว้ให้ชัดแจ้งว่าสถานพยาบาลต้องเป็นสถานพยาบาลเฉพาะในราชอาณาจักรเท่านั้น และปรากฏว่าขณะโจทก์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโจทก์เจ็บป่วยและจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินจึงถูกนำส่งโรงพยาบาล ซ.ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์เป็นค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท เนื่องจากโจทก์ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างฉุกเฉิน การที่จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เนื่องจากโรงพยาบาลที่โจทก์เข้ารับการรักษามิใช่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และอาการป่วยของโจทก์มิใช่กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินนั้น คำให้การดังกล่าวจำเลยนำเรื่องสถานพยาบาลและอาการป่วยเจ็บของโจทก์เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นจำเลยมิได้ให้การเกี่ยวกับค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท แต่อย่างใดแม้จำเลยต่อสู้มาในคำให้การว่าคำสั่งกองประโยชน์ทดแทนที่ 1 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ประกันสังคม – สถานพยาบาลต่างประเทศ – การจ่ายเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์
การที่พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533บังคับให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา56,85และ87ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้ยื่นคำขอนำไปแสดงว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามขอหรือไม่ดังนั้นผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดยื่นคำขอก็ต้องระบุรายละเอียดต่างๆในคำขอให้ชัดแจ้งว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอย่างไรจำนวนเงินเท่าไรทั้งมีสิทธินำบุคคลเอกสารและวัตถุอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เมื่อสอบพยานหลักฐานแล้วเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาสั่งคำขอและมีคำสั่งชี้ขาดว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างหรือไม่คำสั่งดังกล่าวจึงต้องชี้ชัดและต้องอ้างเหตุผลประกอบไว้ด้วยเพื่อผู้ยื่นคำขอจะได้รับทราบและหากไม่พอใจจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อไปซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยก็จะต้องอ้างเหตุผลประกอบให้ชัดแจ้งว่าผู้อุทธรณ์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือไม่อย่างไรเพราะผู้อุทธรณ์อาจไม่พอใจคำวินิจฉัยจักได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเฉพาะที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจต่อไปดังนั้นเมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยโดยระบุเหตุที่ผู้อุทธรณ์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนไว้ชัดแจ้งแสดงว่าคณะกรรมการอุทธรณ์ประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์เท่านั้นหาได้ถือเอาเหตุอื่นมาเป็นข้ออ้างด้วยไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่ากองประโยชน์ทดแทนที่1และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์โดยอ้างเฉพาะเหตุว่าการให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯครอบคลุมเฉพาะการที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสถานพยาบาลในราชอาณาจักรเท่านั้นโรงพยาบาลเซ็นต์ปีเตอร์ฯ มิได้เป็นสถานพยาบาลในราชอาณาจักรมิได้เป็นสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯและมิได้เป็นสถานพยาบาลฯและมิได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคมเท่านั้นมิได้อ้างเหตุว่าอาคารเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่กรณีเจ็บป่วยจนถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างในคำสั่งและคำวินิจฉัยขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหาได้ไม่ พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ.2504มาตรา4บัญญัติความหมายของคำว่า"สถานพยาบาล"ไว้ว่าสถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะหรือซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบกิจการอื่นด้วยการผ่าตัดฉีดยาฯลฯทั้งนี้โดยกระทำเป็นปกติธุระไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่จึงเห็นได้ว่าสถานพยาบาลตามความหมายดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะของประเทศไทยหรือต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้นดังนั้นแม้โรงพยาบาลเซ้นต์ปีเตอร์ฯจะเป็นโรงพยาบาลประกอบโรคศิลปะของรัฐนิวเจอร์ซี่ประเทศสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลดังกล่าวก็เป็นสถานพยาบาลฯด้วยทั้งประกาศสำนักงานประกันสังคมก็กำหนดให้คำว่า"สถานพยาบาล"หมายถึงสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯนั่นเองเมื่อปรากฎว่าขณะโจทก์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโจทก์เจ็บป่วยและจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินจึงนำส่งโรงพยาบาลเซ็นต์ปีเตอร์ฯ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน20,947บาทจำเลยให้การว่าโรงพยาบาลที่โจทก์เข้ารับการรักษามิใช่สถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯและอาการป่วยของโจทก์มิใช่กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินคำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการยกเรื่องสถานพยาบาลและอาคารป่วยเจ็บของโจทก์เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นมิได้ให้การเกี่ยวกับค่ายาและค่าตรวจรักษาแต่อย่างใดแม้จำเลยต่อสู้มาในคำให้การว่าคำสั่งกองประโยชน์ทดแทนที่1และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบแล้วขอให้ยกฟ้องก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุดในต่างประเทศ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามข้อตกลง
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีจากการแยกสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ สัญญาต่างประเทศ สถานประกอบการถาวร
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียว และในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียว ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนอ อีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกัน ดังนั้น หากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกัน แม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ ไม่มีกฎหมายห้าม คดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญากับโจทก์ 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา คือ สัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ ก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ ดังที่มีข้อความระบุไว้ใน ManagementProposal Section 1 Contract 2 Agreement for Sale,Installationand Construction (สัญญาซื้อขาย ติดตั้ง และก่อสร้าง) ตามเอกสารหมาย จ.6หน้า 120 ว่า " บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์ (โจทก์) ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่าง TOT (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์ นอกจากนี้ใน Record of Negotiation นั้น Summary of Cost ตามเอกสารหมายจ.2 หน้า 209 ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็น Main Stems และ OptionalStems โดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไร จำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วย เอกสารหมาย จ.2 และ จ.6 นี้ เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ข้อ โอ และข้อ ไอ ซึ่งข้อ 1 ของสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ระบุว่า เป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ฉะนั้นจึงต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว ให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขาย คือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้าง ติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ แยกต่างหากจากกันเป็น 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา และแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้าง หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ 5.2 (ซ) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้น ความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า กรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ 5.1 แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 6 เดือน ก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่านั้น หาได้มีความหมายว่า สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขาย เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ไปด้วยไม่ ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ. ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขาย ณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเอง อันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของ จึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยม ตามบังคับข้อ 7.1 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยม เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่า รายรับจำนวน 41,026,412.58 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 32,473,226.58 บาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรง ส่วนอีกจำนวน 8,553,186 บาท นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้าง ค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้า แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลัง เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58 บาท เป็นรายรับตามสัญญาซื้อขาย เจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของเงินจำนวน 8,553,186 บาท อันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น คำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน 427,659.30 บาท เมื่อหักค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 410,264.17 บาทออกให้แล้ว โจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน 17,395.13 บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับ จำนวน 149,023,234.30 บาทและ 272,231,011.52 บาท นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ตามป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) จึงชอบแล้ว
ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 นั้น เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้ 41,026,412.58 บาท ซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58 บาท ที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 8,553,186 บาท เท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 เพียงจำนวน 106,908.16 บาท ส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527นั้น เนื่องจากไม่ปรากฏว่า ยอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้ว ยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีก สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมกรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างไม่
โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2525 จำนวนเพียง8,553,186 บาท แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้ จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า 2 เท่า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (2) กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร กรณีสัญญาจ้างทำของและรายได้จากต่างประเทศ: การประเมินภาษีที่ถูกต้องและการลดเบี้ยปรับ
คู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกันแม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้เมื่อสัญญาซื้อขายติดตั้งและก่อสร้างที่โจทก์ทำไว้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยระบุว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการก่อสร้างและติดตั้งเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันและยังได้แบ่งมูลค่าของแต่ละสัญญาออกจากกันจึงต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของแยกต่างหากจากกันเป็น2ลักษณะและแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้างหาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแม้การก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมสายโทรศัพท์จะเป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า6เดือนอันถือได้ว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ5.2(ซ)แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนก็เป็นกรณีที่โจทก์มีสถานประกอบการถาวรสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของเท่านั้นหาได้มีความหมายว่าสถานประกอบการถาวรดังกล่าวเป็นสถานประกอบการสำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขายไปด้วยไม่ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยอันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของจึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ในประเทศไทยดังนั้นโจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวตามข้อ7.1แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่18)พ.ศ.2505มาตรา3ส่วนกำไรจากธุรกิจการก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของนั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้แต่อย่างใด เมื่อเงินได้ตามสัญญาซื้อขายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เงินได้ดังกล่าวที่มีการจำหน่ายออกไปจากประเทศไทยจึงไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา70ทวิแห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุน: ทุนการศึกษาต่างประเทศไม่นับรวม
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาจากส่วนราชการให้ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ แม้ขณะนั้นยังคงสถานะเป็นข้าราชการแต่ก็มิใช่เป็นการอยู่รับราชการหรือปฎิบัติหน้าที่ราชการตามความหมายของสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อนับรวมเข้าเป็นระยะเวลาปฎิบัติหน้าที่ราชการใช้ทุนตามสัญญาฉบับก่อนที่ทำไว้ต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ข้อตกลงเลือกทำสัญญาในต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย (ป.วิ.พ.มาตรา 4)
คดีนี้เป็นคดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งส่วนข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษนั้น แม้สิทธิตามใบตราส่งดังกล่าวจะตกได้แก่ผู้รับตราส่งแล้วและโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 4(2) เดิม (มาตรา 4 (1) ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา 7 (4) เดิม บัญญัติไว้อีกด้วย กล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต หรือศาลที่มูลคดีของเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด ข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลในประเทศไทยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้ในประเทศไทย แม้มีข้อตกลงฟ้องคดีที่ต่างประเทศ หากขัดต่อกฎหมายไทย
คดีนี้เป็นคดีหนี้เหนือบุคคลจำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งส่วนข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ นั้นแม้สิทธิตามใบตราส่งดังกล่าวจะตกได้แก่ผู้รับตราส่งแล้วและโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่งก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา7(4)เดิมบัญญัติไว้อีกด้วยกล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือศาลที่มูลคดีของเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใดข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลในประเทศไทยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและการล่วงสิทธิ - แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้นำเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การดังกล่าวคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญา ซึ่งมีผลคุ้มครองเฉพาะแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้น เมื่อประเทศไทยมิได้เป็นสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว อนุสัญญานี้จึงไม่มีผลกระทบต่อเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย อนุสัญญาดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งทางทะเล: การกระทำของตัวแทนและผู้รับขนต่างประเทศ
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ผู้รับขนในต่างประเทศให้ขนส่งสินค้ามายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งกำหนดวันที่เรือจะเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ติดต่อกรมศุลกากร กองตรวจคนเข้าเมือง กรมเจ้าท่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ค้ำประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ว่าจ้างบริษัทอื่นให้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าลงเรือฉลอมเพื่อนำไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า และออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับใบตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับขนในต่างประเทศ ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยจึงย่อมไม่สามารถจะดำเนินการติดต่อและค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ว่าจ้างบริษัทอื่นให้ขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือเล็ก และออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าได้ การกระทำดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญในการรับขนทางทะเล จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 อันเป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 แล้วหาใช่เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
of 23