พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดก: กรณีที่ยังไม่ได้แบ่งปัน
เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่พิพาทยังอยู่ระหว่างทายาทครอบครองร่วมกันและยังมิได้มีการแบ่งปันกัน แม้จำเลยจะครอบครองทรัพย์มรดกก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย แม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 และเมื่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 กำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอายุความมรดกไม่อยู่ในบังคับต้องใช้กฎหมายอิสลาม กรณีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์มรดก แม้ไม่มีชื่อเจ้ามรดกในบัญชี หากมีเหตุเชื่อว่าเป็นทรัพย์มรดกและมีเหตุสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลยครอบครองอยู่เข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท คำฟ้องดังกล่าวย่อมครอบคลุมรวมทั้งทรัพย์มรดกที่มีชื่อและไม่มีชื่อเจ้ามรดกด้วย มิใช่จำกัดเฉพาะทรัพย์ที่มีชื่อเจ้ามรดกปรากฏอยู่โจทก์ขออายัดเงินฝากที่ธนาคารไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา แม้ไม่มีชื่อเจ้ามรดกในบัญชีเงินฝาก แต่หากมีเหตุน่าเชื่อว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกและเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 โจทก์ย่อมมีสิทธิขออายัดได้
เจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน รวมทั้งจำเลยและ บ.ด้วยระหว่างเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ได้มอบให้จำเลยกับ บ.ดูแลทรัพย์สินแทนก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากชื่อจำเลยร่วมกับเจ้ามรดก และนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยการถอนและการฝากกระทำในวันเดียวกันรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง ครั้นเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วยังได้มีการนำใบถอนเงินซึ่งมีลายมือชื่อเจ้ามรดกลงชื่อร่วมกับจำเลยในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงินมาถอนเงิน และปิดบัญชี อีกทั้งภายหลังโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยยังได้ถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลย กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่าเจ้ามรดกให้ความรักและเชื่อถือจำเลยโดยลงลายมือชื่อในใบถอนเงินมอบให้จำเลยไว้ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน แต่คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาว่าเงินในบัญชีของจำเลย เป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เห็นได้ว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางต่อการบังคับคดีตามคำฟ้อง และโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรค 2 (ข)มาใช้แล้ว
เจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน รวมทั้งจำเลยและ บ.ด้วยระหว่างเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ได้มอบให้จำเลยกับ บ.ดูแลทรัพย์สินแทนก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากชื่อจำเลยร่วมกับเจ้ามรดก และนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยการถอนและการฝากกระทำในวันเดียวกันรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง ครั้นเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วยังได้มีการนำใบถอนเงินซึ่งมีลายมือชื่อเจ้ามรดกลงชื่อร่วมกับจำเลยในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงินมาถอนเงิน และปิดบัญชี อีกทั้งภายหลังโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยยังได้ถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลย กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่าเจ้ามรดกให้ความรักและเชื่อถือจำเลยโดยลงลายมือชื่อในใบถอนเงินมอบให้จำเลยไว้ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน แต่คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาว่าเงินในบัญชีของจำเลย เป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เห็นได้ว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางต่อการบังคับคดีตามคำฟ้อง และโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรค 2 (ข)มาใช้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากที่เป็นทรัพย์มรดก แม้ชื่อผู้ฝากไม่ใช่เจ้ามรดก คุ้มครองสิทธิทายาทจากความเสียหาย
การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า ระหว่างยังมีชีวิตเจ้ามรดกมอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรคนหนึ่งดูแลทรัพย์สินและจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินแทน เจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นเงินสดและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เจ้ามรดกลงชื่อจำเลยในบัญชีเงินฝากและในโฉนดที่ดิน โดยแสดงเจตนาว่าทรัพย์สินของเจ้ามรดกนั้นจำเลยมีชื่อเพียงในฐานะผู้ครอบครองแทนเจ้ามรดกมีเจตนาที่จะแบ่งทรัพย์สินของตนให้บุตรทุกคนเท่ากันเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก และทายาทคนอื่นเรียกให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลย ครอบครองอยู่เข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท แต่จำเลยปฏิเสธคำฟ้องดังกล่าวย่อมครอบคลุมรวมทั้งทรัพย์มรดกที่มีชื่อและไม่มีชื่อเจ้ามรดก มิได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่มีชื่อเจ้ามรดกปรากฏอยู่เท่านั้น และโดยที่ในชั้นพิจารณามีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าเงินฝากในธนาคารเป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ซึ่งหากเป็นกรณีเพียงให้จำเลยจัดการแทน แม้บัญชีดังกล่าวจะมีจำเลยคนเดียวเป็นผู้ฝาก เงินดังกล่าวก็เป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิอยู่ด้วย เมื่อพฤติการณ์ส่อแสดงว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางการบังคับคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้อายัดเงินฝากดังกล่าว อันเป็นวิธีการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 255 วรรคสอง (ข) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นและสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกแม้พ้นอายุความ
โจทก์ที่ 4 เป็นภรรยาเจ้ามรดกมาก่อนประกาศใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลย เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อปี 2503 โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ที่ 4 และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าจำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 การที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปออก น.ส.3 ในนามของจำเลยแต่ผู้เดียวโดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ทั้งสี่ จึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อยู่ต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งสี่ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 1748 คดีจึงไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่แจ้งเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ ยังมีสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกได้ แม้พ้นอายุความ
โจทก์ที่ 4 เป็นภรรยาเจ้ามรดกมาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีบุตรด้วยกัน4 คน คือ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลย เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อปี 2503 โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ที่ 4และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าจำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสี่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 การที่ จำเลยนำที่ดินพิพาทไปออก น.ส.3 ในนามของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง โจทก์ทั้งสี่ จึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อยู่ต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งสี่ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 คดีจึง ไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคุณสมบัติผู้จัดการ ไม่ใช่ประเภททรัพย์มรดก
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับตัวทรัพย์ว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเงินค่าเสียหายที่จะได้รับ จากบริษัทประกันภัยไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงเป็นการ วินิจฉัยนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโอนที่ดินขัดกฎหมาย & อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติขึ้นโดยมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายและเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย ได้ความว่า ห. ตกลงแบ่งขายที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264ให้แก่จำเลย เพื่อสร้างโรงเรียน แต่ ห. ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญา เพราะที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ ห. จึงทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264ให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยกับ ห. ไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จนจำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียนในที่ดินดังกล่าวได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่า ห. และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้ ห.ทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน อันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264 คืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710
จำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ในฐานะผู้รับพินัยกรรมโจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 และ 42264 คืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 42263 ไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710
จำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 42264 ในฐานะผู้รับพินัยกรรมโจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: คดีขับไล่ไม่ใช่คดีมรดกโดยตรง
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส.เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีขับไล่ทรัพย์มรดก: ไม่ใช่คดีมรดกตามมาตรา 1754
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็น คดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยทายาทและทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกไม่ต้องระบุทรัพย์สินทั้งหมดในคำร้อง
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่าส.น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คน บุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นเมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอี่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอี่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย