คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินทางปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13583/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำให้ความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเปลี่ยนจาก ป.อ. มาตรา 272 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น แม้รูป Seiken ตามเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายจะเป็นรูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าของผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายได้นำรูป รอยประดิษฐ์ดังกล่าวไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจนมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่หากผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า ร่วมกันมีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมไว้เพื่อจำหน่าย และร่วมกันเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองจะมาอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การและการใช้บทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสองโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่นๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย
กรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำให้การนั้น ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 บัญญัติไว้เพียงข้อเดียว ได้แก่ข้อ 11 ดังกล่าว กล่าวคือ ในคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การ นอกจากจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การ และการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่น ๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในคดีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับคดีนี้ เนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16561/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและอาญา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์โดยยกเอาข้อเท็จจริงตามคำเบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้องของพยานโจทก์มากล่าวอ้างว่าได้เบิกความไว้ว่าอย่างไร แล้วสรุปว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดแล้ว จึงไม่ใช่การอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเพื่อโต้แย้งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ตามฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าข้อมูลต่างๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้า ทั้งโจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ แต่โจทก์หาได้ระบุถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในฟ้องไม่ ทั้งโจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร รวมทั้งการกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 นี้โจทก์ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้า โดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด แต่โจทก์ก็หาได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าวไม่ นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า จำเลยทั้งห้าได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ การบรรยายฟ้องของโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ละเมิดสิทธิในทางแพ่งมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15702/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: การโต้แย้งต้องชัดเจนว่าการขนส่งไม่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
แม้ปัญหาที่ว่าคดีใดอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาผู้เดียวเป็นผู้วินิจฉัย และศาลที่รับคดีไว้จะต้องเสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 9 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องบรรยายสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศโดยการขนส่งทางทะเลและทางอากาศรวม 91 รายการ แยกเป็นรายการค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายระหว่างประเทศและค่าแรงงาน โดยอ้างส่งใบแจ้งหนี้แต่ละรายการมาท้ายฟ้อง อันเข้าใจได้ว่าค่าขนส่งและค่าแรงงานเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา ย่อมแสดงว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาแล้วเห็นว่ามูลคดีตามฟ้องโจทก์ทั้ง 91 รายการ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยต้องการโต้แย้งว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จำเลยก็ต้องกล่าวโดยชัดแจ้งว่าการขนส่งรายการใดไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระหว่างประเทศเพราะเหตุใด การที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งในคำให้การเพียงว่า จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าจากโรงงานของจำเลยไปส่งยังท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ว่าจ้างให้ขนส่งไปต่างประเทศ จึงเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11751-11752/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีทรัพย์สินทางปัญญา: พิจารณาเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ที่บัญญัติให้ศาลมีอำนาจพิจารณาให้ย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้โจทก์จะขอให้ขยายระยะเวลาภายหลังวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ก็หาจำต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่อย่างใดไม่ ปรากฏว่า วันที่ 26 เมษายน 2555 ทนายจำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงยังทำอุทธรณ์ไม่ได้ ศาลดังกล่าวก็มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งห้าถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2555 และในวันที่ 30 เมษายน 2555 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ก็ปรากฏจากรายงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำสำเนาคำพิพากษาโดยมีการรับรองสำเนาให้แก่โจทก์ตามคำแถลงขอสำเนาคำพิพากษาของโจทก์ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 ดังนี้ ย่อมแสดงว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 ที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์นั้น ทนายโจทก์เพิ่งมีโอกาสได้รับสำเนาคำพิพากษาในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์และก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง 2 วัน ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นมากสำหรับการที่โจทก์จะทำอุทธรณ์ในคดีนี้ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมสมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์
ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย วันที่ 19 มกราคม 2553 ก่อนสืบพยานศาลสอบถามทนายจำเลยเกี่ยวกับปัญหาอำนาจศาลตามคำให้การจำเลย ทนายจำเลยแถลงยังติดใจในประเด็นดังกล่าว และศาลวินิจฉัยว่ากรณีไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย โดยไม่ได้เสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย อันเป็นคำสั่งในระหว่างการพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง และศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553 ทั้งนี้โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 จึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20053/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ผลของการโอนคดีระหว่างศาล และการนับอายุความจากคำสั่งจำหน่ายคดี
ประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลแพ่งจึงมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 แม้จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลแพ่งด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังมิได้มีคำสั่งรับโอนคดี ถือว่าคดีอยู่ระหว่างการโอนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดไปจากศาลแพ่ง และคำสั่งให้โอนคดีของศาลแพ่งถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้อง แต่เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความศาลแพ่งและให้โจทก์ไปดำเนินคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลแพ่ง มีผลเท่ากับเป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแพ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ยังไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13881/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา จากการไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า คดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยทั้งสามมาให้การในวันเดียวกับวันนัดพร้อม และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน โจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวตามที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อกล่าวหาของจำเลย และการชำระหนี้เป็นเงินไทยในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ อันเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องกลับโจทก์ได้ในคดีเดียวกัน กรณีดังกล่าวจึงต้องมีส่วนคำให้การแก้ข้อกล่าวหาของจำเลยเป็นเบื้องต้น กับส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ ซึ่งเมื่อจำเลยขอถอนฟ้องแย้งโดยมิได้ขอถอนคำให้การด้วย ก็มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งเท่านั้น มิได้ทำให้คำให้การของจำเลยสิ้นไปด้วยแต่อย่างใด
โจทก์อ้างว่า จำเลยสั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์รวม 16 ครั้ง ตามตารางคำนวณยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้อง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ ทั้งยังให้การด้วยว่าโจทก์ส่งสินค้าให้แก่จำเลยเป็นเงิน 148,780.98 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีจึงถือว่า จำเลยยอมรับข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ และคดีไม่มีประเด็นพิพาทในเรื่องนี้ที่โจทก์จะต้องนำสืบแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์ส่วนนี้รับฟังได้ตามฟ้อง โดยที่ไม่จำต้องนำใบแจ้งหนี้มารับฟังเป็นพยานหลักฐาน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมิได้มีคำขอบังคับให้ชำระเป็นเงินไทยด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันฟ้องก็เพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะชำระหนี้เป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ใช้เงินและเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันครบกำหนดชำระเงินแต่ละจำนวน จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีคำขอและเป็นกรณีพิพากษาเกินคำขอ
of 9