คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทายาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12456-12457/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามสิทธิของทายาทแต่ละคน แม้บางส่วนได้แบ่งไปแล้ว ส่วนที่เหลือต้องแบ่งตามส่วน
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมี 7 คน การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทต้องแบ่งกันตามที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ การที่ทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมาด้วยนั้นจะถือว่าทายาทอื่นนั้นสละมรดกหาได้ไม่ และจะแบ่งโดยเอาส่วนแบ่งทายาทอื่นไปให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมคงได้ส่วนแบ่งแต่เฉพาะส่วนของตนคนละ 1 ใน 7 ส่วนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12456-12457/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามสิทธิของทายาทแต่ละคน แม้บางคนไม่เรียกร้องก็ไม่ถือเป็นการสละมรดก
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมี 7 คน การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทต้องแบ่งกันตามที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ การที่ทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมาด้วยนั้น จะถือว่าทายาทอื่นนั้นสละมรดกหาได้ไม่และจะแบ่งโดยเอาส่วนแบ่งทายาทอื่นไปให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมคงได้ส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 7 ส่วนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับมรดกความในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีสืบเนื่องมาจากศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ถนนในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลย และโจทก์ทั้งสองยินยอมชำระค่าใช้ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธิการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยและดำเนินการบังคับแก่โจทก์ทั้งสองได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม กรณีนี้หาใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความตกทอดแก่ทายาท แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
สิทธิในการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเป็นสิทธิในทรัพย์สินไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทเมื่อผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของจำเลย อีกทั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลย และดำเนินการบังคับคดีแก่โจทก์ได้ มิใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้วก็มีสิทธิที่จะยื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกสูติบัตรเท็จไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิทายาทหรือผู้จัดการมรดก หากยังไม่มีการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนท้องถิ่นของจำเลยที่ 2 ว่า เด็กหญิง ญ. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 กับ บ. เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 หลงเชื่อจึงออกสูติบัตรให้ ไม่มีข้อความตอนใดที่พาดพิงถึงโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ บ. สูติบัตรที่ออกให้ก็ไม่มีข้อความเกี่ยวพันถึงโจทก์ทั้งสอง การยื่นคำร้องและการแจ้งข้อความขอออกสูติบัตรที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ก็ดี การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ออกสูติบัตรก็ดี จึงไม่เป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายแพ่ง และไม่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แม้หากยังปล่อยให้จำเลยที่ 1 ใช้สูติบัตรเท็จแสดงต่อบุคคลทั่วไป และนำมายื้อแย่งมรดกของ บ. ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีการพิสูจน์ไปตามขั้นตอนว่าเด็กหญิง ญ. เป็นบุตรของ บ. จริงหรือไม่ เป็นคดีต่างหาก กรณีเกี่ยวกับสูติบัตรของเด็กหญิง ญ. ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย: การจดทะเบียนตามกฎหมายครอบครัวเป็นสำคัญ
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627บัญญัติไว้ด้วยว่า ".....บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวหมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 เท่านั้น
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมและการยกทรัพย์สินให้ทายาท แม้มีข้อความเพิ่มเติมโดยไม่ลงชื่อ
ผู้ตายซึ่งเป็นพระภิกษุเขียนพินัยกรรมขึ้นเองทั้งฉบับ มีการลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของผู้ตายไว้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1675 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ โดยเฉพาะข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 1 ที่ระบุว่า"ทรัพย์สินเงินทองและเข้าของต่างของข้าพเจ้า ที่อยู่ในห้องของข้าพเจ้านี้มอบให้กับทายาทของข้าพเจ้า ในเมื่อข้าพเจ้าตายไปแล้ว" นั้น ก็มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า ผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินในสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่พบในห้องนอนของผู้ตายให้แก่ทายาทเมื่อผู้ตายมรณภาพ การที่ผู้ตายเขียนข้อความเพิ่มเติมต่อไปว่า "และสมุดฝากในธนาคารต่าง ๆ ด้วย" แม้จะไม่ชอบตามมาตรา 1657 วรรคสอง เพราะผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ก็มีผลเพียงว่าไม่มีการเติมข้อความดังกล่าว เท่านั้นส่วนข้อความอื่นยังคงสมบูรณ์ หามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5153/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหน้าที่ผู้จัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อตาย สิทธิไม่ตกทอดถึงทายาท การขอเป็นคู่ความแทนไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ตามคำสั่งศาลซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลง หาได้ตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ไม่ ส. ซึ่งเป็นเพียงทายาทของโจทก์เท่านั้นไม่ได้เป็นผู้ปกครองที่ดินพิพาทหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกจึงไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
ปัญหาว่าบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะเป็นบุคคลตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 บัญญัติหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องทายาทในฐานะผู้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหลังการล้มละลาย: อำนาจศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของบริษัท ท. เป็นการฟ้องกองมรดกของผู้ตายเป็นลูกหนี้ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เฉพาะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น มิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องผู้ตายให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ตายเด็ดขาด ทั้งมิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 82 แต่อย่างใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายหรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1) และ (2) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีที่โจทก์ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 132