พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้าม: การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าหลังมีกฎหมายหวงห้าม และการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ขณะใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหคีรีอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์พุทธศักราช 2479 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงเป็นที่ดินหวงห้ามตามกฎหมายดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 10ยังคงให้เป็นที่หวงห้ามต่อไป โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หาก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไม่ ที่ดิน พิพาทจึงไม่ใช่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จะเข้าใช้ประโยชน์โดยได้รับอนุญาตจากกองทัพบก ได้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถแทรกเตอร์ไถคันดินที่โจทก์ทำไว้ปรับระดับให้เสมอกันเพื่อปลูกสร้างสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยในที่ดินพิพาท แม้ไม่ทราบเจ้าของ แต่เป็นการทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่นที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อยจำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้าก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยของผู้อื่นในที่พิพาท แม้แจ้งความแล้ว ก็ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่น ที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วม และจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อย จำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้า ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยของผู้อื่นในที่ดินพิพาท แม้แจ้งความแล้วก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่นที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อยจำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้าก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและการทำให้เสียทรัพย์เป็นคนละกรรมกัน แม้โจทก์มิได้ขอเรียงกระทง ศาลลงโทษได้หากบรรยายฟ้องหลายกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าบ้านผู้เสียหาย เมื่อคนในบ้านรู้ตัวเรียกจำเลยให้ออกจากห้อง จำเลยกลับพังฝาห้องกระโดดลงจากบ้านหลบหนี ดังนี้การกระทำฐานบุกรุกสำเร็จลงแล้ว ส่วนการกระทำให้เสียทรัพย์เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจึงเป็นคนละกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เรียงกระทงลงโทษ แต่เมื่อบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันศาลลงโทษ 2กรรมได้ ไม่เกินคำขอ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์ – การกระทำโดยสุจริตเชื่อว่ามีสิทธิ – ไม่เป็นความผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายอำเภอใช้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รื้อกระท่อมโจทก์ซึ่งปลูกในที่ดินของทางราชการและยังปลูกสร้างไม่เสร็จใช้พักอาศัยไม่ได้ แล้วนำมา กอง ไว้ข้างถนนเพื่อใช้ที่ดินปลูกสร้างศาลาเอนกประสงค์ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน จำเลยทั้งสามกระทำไปด้วยความเชื่อ โดย สุจริตว่าตน มีสิทธิที่จะกระทำได้ หาใช่มีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์: การรื้อกระท่อมเพื่อสร้างศาลาประโยชน์สาธารณะ ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายอำเภอใช้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3รื้อกระท่อมโจทก์ ซึ่งปลูกในที่ดินของทางราชการและยังปลูกสร้างไม่เสร็จใช้พักอาศัยไม่ได้แล้ว นำมากองไว้ข้างถนนเพื่อใช้ที่ดินปลูกสร้างศาลาเอนกประสงค์ให้ประชาชน ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จำเลยทั้งสามกระทำไปด้วยความเชื่อโดยสุจริตว่า ตนมีสิทธิที่จะกระทำได้ หาใช่มีเจตนากระทำเพื่อให้ ทรัพย์ของโจทก์ เสียหายแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิด ฐานทำให้เสียหายทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณะและการทำให้เสียทรัพย์ แม้ที่ดินเป็นสาธารณะ แต่ผู้ครอบครองมีสิทธิเสียหายจากการถูกทำลายทรัพย์สินที่ปลูกไว้
แม้ที่ดินจะเป็นที่สาธารณะ แต่เมื่อโจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองอยู่และได้ปลูกต้นมะม่วงไว้ การที่จำเลยตัดฟันต้นมะม่วงดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามในความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
ข้อหากระทงความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แม้ฎีกาของโจทก์ร่วมจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยยังไม่มีเจตนากระทำความผิด เช่นนี้ ฎีกาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมไม่ว่าจะมีข้อโต้แย้งประการใด ก็ไม่อาจทำให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยได้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุกแยกกระทงกันมา การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องแยกพิจารณาเป็นรายกระทงความผิด ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์: ศาลวินิจฉัยตามคำขอเดิม ไม่เกินคำขอ แม้จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ การที่จะฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องได้ความว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยจึงจะมีความผิดฐานบุกรุก หากที่พิพาทเป็นทางสาธารณะการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นการวินิจฉัยตามข้อหาและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ มิได้เกินคำขอ กรณีไม่เป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ดังนั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนใช้ร่วมกันเกิน 10 ปี เป็นทางสาธารณะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ซึ่งห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้วัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นของวัดและที่ธรณีสงฆ์นั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างข้อกฎหมายขึ้นปรับกับข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดังกล่าว ก็ยังคงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนใช้ร่วมกันเกิน 10 ปี เป็นทางสาธารณะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ซึ่งห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้วัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นของวัดและที่ธรณีสงฆ์นั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างข้อกฎหมายขึ้นปรับกับข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดังกล่าว ก็ยังคงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22