พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและอำนาจเพิกถอนโฉนด: ศาลยกฟ้องคดีซ้ำ ส่วนจำเลยมีหน้าที่เพิกถอนโฉนดที่ดิน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีก่อน และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนมีเหตุอย่างเดียวกัน คือโจทก์ขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ แม้คดีนี้โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ย่อมเป็นการห้ามที่เกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (2) เมื่อการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (2) เมื่อการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & อำนาจฟ้องเพิกถอนโฉนด: ศาลฎีกาตัดสินคดีที่ดินพิพาท โดยพิจารณาประเด็นฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมายในการเพิกถอนโฉนด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 8430ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2) การเพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ความเสียหายและการคิดค่าเสียหายนับแต่วันรับโอน
ขณะที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาท จำเลยไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้เห็นเป็นใจในการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิชอบทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อกระทรวงการคลังโจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท แม้ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ แต่เนื่องจากขณะนั้นจำเลยยังไม่ทราบถึงสิทธิของโจทก์ว่าจะมีอำนาจขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทได้หรือไม่ ดังนี้โจทก์จะคิดค่าเสียหายนับแต่วันที่จำเลยรับโอนที่พิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท: ส่วนควบของที่ดินหรือทรัพย์สินชั่วคราว
ต้นยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขายเป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ถึง 5 ปีจึงจะตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์ได้ และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกยอดเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปีก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วงระยะเวลานานตลอดไปหาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐได้ไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐได้ไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมแบ่งแยกครอบครองชัดเจน ไม่อ้างอิงสันนิษฐานส่วนเท่ากันได้ แบ่งตามการครอบครองจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนคนละเท่าใดเท่านั้น จึงให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนเท่ากัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทต่างแบ่งแยกครอบครองที่ดินกันเป็นส่วนสัด ย่อมแสดงให้เห็นว่าต่างประสงค์ที่จะยึดถือที่ดินส่วนที่ตนครอบครองเป็นของตนจึงไม่อาจนำข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินร่วมกันก็ไม่ใช่ข้อที่จะฟังว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด กรณีต้องแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนครอบครอง โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การจำกัดสิทธิในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติ (ร่องวังอ่าง)
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท แต่เนื่องจากที่ดินพิพาทมีบางส่วนเป็นร่องวังอ่าง ซึ่งเป็นร่องน้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่มิใช่ร่องวังอ่างสาธารณประโยชน์ ส่วนที่เป็นร่องวังอ่าง สาธารณประโยชน์นั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้อยู่ จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนนี้ดีกว่าจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขอให้ห้ามจำเลย และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งหมดนั้น จึงห้ามได้เฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิครอบครอง แต่ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นร่องวังอ่าง นั้นไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: ประเด็นไม่ใช่การแย่งการครอบครอง แต่เป็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน
จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ไม่มีประเด็น เรื่องแย่งการครอบครองจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีของโจทก์ โจทก์จึง มีสิทธิฟ้องคดีหาใช่หมดสิทธิฟ้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เป็นบทบังคับเรื่อง กำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ซึ่งเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องคดี หากไม่ฟ้อง ภายในกำหนดก็หมดสิทธิฟ้อง มิใช่เรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ – สิทธิของผู้ครอบครองเดิม
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่า โจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินฉบับที่ 14/2494 ให้แก่กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการกรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยทั้งหากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของกรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ส่วนปัญหาอื่นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ขาดสิทธิในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยมา แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่าโจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินฉบับที่ 14/2494 ให้แก่กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการกรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ทั้งหากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของกรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้องโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ส่วนปัญหาที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์ขาดสิทธิในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาเดิมผูกพันผู้สืบสิทธิ และระยะเวลาการครอบครองต่อเนื่อง
เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่ น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง ปี 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอ รังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้านแต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส. ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส. ศาลชั้นต้นอนุญาตคดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดย วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ 1474จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 การที่ ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองและคัดค้านการ ออกโฉนดที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นการยึดถือเพื่อตนเมื่อปี 2515 แต่ ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียง 2 ปี ส. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดังนี้ระยะเวลาที่ ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดิน พิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดิน จนถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้น ต้องถือว่า เป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท สืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส. ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดินคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสอง ในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส. ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้ กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษา คดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองเพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครอง