พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ส.ค.1 ไม่ห้ามนำสืบข้อเท็จจริงเดิมได้
แม้จำเลยจะแจ้งการครอบครองที่พิพาทตาม ส.ค. 1 โดยระบุการได้มาว่าโจทก์ซึ่งเป็นพี่สาวแบ่งให้ก็ตาม จำเลยก็ยังสามารถนำสืบได้ว่า ที่พิพาทเดิมเป็นของบิดามารดา เมื่อบิดามารดาตาย โจทก์จำเลยและพี่น้องได้ร่วมทำก้นในที่พิพาทแล้วแบ่งปันกันได้ เพราะ ส.ค. 1 ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีมาแสดง จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลแก้ไข.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ส.ค.1 ไม่ใช่เอกสารเด็ดขาดในการพิสูจน์สิทธิ
จำเลยแจ้งการครอบครองที่พิพาทตาม ส.ค.1 โดยระบุการได้มาว่า โจทก์ซึ่งเป็นพี่สาวแบ่งให้ ก็นำสืบได้ว่าที่พิพาทเดิมเป็นของบิดามารดา เมื่อบิดามารดาตายโจทก์จำเลยและพี่น้องได้ร่วมทำกินในที่พิพาทแล้วแบ่งปันกันเพราะ ส.ค.1 ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีมาแสดง จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464-4466/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: การครอบครองร่วมกับผู้มีสิทธิอื่น ไม่อาจอ้างเป็นเจ้าของได้
ผู้ร้องเข้าครอบครองและปลูกบ้านในที่ดินโดยผู้ร้องมีสิทธิในที่ดินมรดกร่วมกับผู้คัดค้านและบุตรคนอื่น ๆ อันเป็นการครอบครองที่ดินมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าว โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ดังนี้ ผู้ร้องจะได้ครอบครองนานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้บุตรโดยการให้ครอบครอง และสิทธิการครอบครองเหนือที่ดินมรดก
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ พูดยกที่ดินมือเปล่าให้แก่บุตรแต่ละคน โดยบุตรคนไหนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินส่วนใด ก็ยกที่ดินส่วนนั้นให้ โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปขอรับมรดกที่ดินพิพาท ซึ่งมี ส.ค.1 แล้วขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จึงหาทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3695/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การใช้ประโยชน์ที่ดินมรดกโดยถือวิสาสะ และผลของการไม่โต้แย้งสิทธิ
ที่ดิน ของ โจทก์ และ จำเลย เดิม เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กัน อันเป็น ของ บิดา โจทก์ จำเลย โจทก์ รับโอน ที่ดิน จาก บิดา มา ก่อน จำเลย แล้ว โจทก์ เข้า ทำประโยชน์ โดย ใช้ น้ำ จาก คลอง ซอย หรือ คูน้ำ พิพาท ที่อยู่ ใน ที่ดิน มรดก ที่ ยัง มิได้ โอน ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น การ ใช้ น้ำ โดย ถือ วิสาสะ ว่า เป็น ที่ดิน มรดก ของ บิดา เมื่อ จำเลย รับ โอน ที่ดิน มรดก ดังกล่าว จาก บิดา หลังจาก โจทก์ รับมรดก ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ นาน ถึง 16 ปี เศษ โจทก์ มิได้ โต้แย้ง คัดค้าน หรือ อ้าง สิทธิ ใด ๆ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใช้ น้ำ จาก ที่ดิน ของ จำเลย โจทก์ คง ใช้ น้ำ เรื่อย มา แสดง ว่า โจทก์ ถือว่า เป็น ที่ดิน ของ น้องชาย โดย มิได้ แสดง ให้ จำเลย ทราบ ว่า จะ ถือเอา คลอง ซอย หรือ คู่ น้ำ พิพาท เป็น ภาระจำยอม แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ แม้ โจทก์ จะ ใช้ น้ำ ใน ที่ดิน ของ จำเลย นาน เท่าใด ก็ ไม่ได้ ภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในที่ดินมรดก การถือวิสาสะ และการได้มาซึ่งภาระจำยอม
ที่ดินของโจทก์และจำเลยเดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอันเป็นของบิดาโจทก์จำเลย โจทก์รับโอนที่ดินจากบิดามาก่อนจำเลยแล้วโจทก์เข้าทำประโยชน์โดยใช้น้ำจากคลองซอยหรือคูน้ำพิพาทที่อยู่ในที่ดินมรดกที่ยังมิได้โอนให้จำเลยซึ่งเป็นการใช้น้ำโดยถือวิสาสะว่าเป็นที่ดินมรดกของบิดา เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินมรดกดังกล่าวจากบิดาหลังจากโจทก์รับมรดกที่ดินส่วนของโจทก์นานถึง 16 ปีเศษ โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านหรืออ้างสิทธิใด ๆ ว่าโจทก์มีสิทธิใช้น้ำจากที่ดินของจำเลย โจทก์คงใช้น้ำเรื่อยมา แสดงว่าโจทก์ถือว่าเป็นที่ดินของน้องชาย โดยมิได้แสดงให้จำเลยทราบว่าจะถือเอาคลองซอยหรือคู่น้ำพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะใช้น้ำในที่ดินของจำเลยนานเท่าใดก็ไม่ได้ภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมรดกโดยทายาท การโอนสิทธิครอบครอง และผลของการครอบครองปรปักษ์
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม บุตรทุกคนของเจ้ามรดกได้ตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมรดกมีหลักฐาน น.ส.3ก. ให้แก่โจทก์โดยให้ ห.บุตรคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ขาย โจทก์ได้ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันทำสัญญาและบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้มอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองตลอดมาดังนี้ถือว่าบุตรของเจ้ามรดกทุกคนได้ขายและสละการครอบครองที่ดิน พิพาทให้แก่โจทก์แล้วแม้ภายหลังจากทำสัญญาฉบับแรกโจทก์และบุตรเจ้ามรดกบางคนจะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันอีกฉบับหนึ่งโดยมีข้อความว่าจะจัดการโอนทะเบียนที่ดินพิพาทให้แก่กันเมื่อทายาทได้รับมรดกที่ดินตามกฎหมายแล้วก็เป็นเรื่องประสงค์ให้มีหลักฐานทางทะเบียนภายหลังที่ได้โอนสิทธิครอบครองกันแล้วเท่านั้น จะถือว่าไม่ได้สละเจตนาครอบครองหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การอ้างพินัยกรรมและการครอบครองเพื่อประโยชน์ตนเอง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลย แต่เมื่อจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าเดิมที่พิพาทเป็นของบิดามารดาโจทก์จำเลย และตกทอดเป็นมรดกที่โจทก์และจำเลยครอบครองร่วมกัน ขอให้แบ่งแก่จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์จึงอ้างในคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยบิดาทำพินัยกรรมยกให้ ก่อนบิดาตายได้ยกสิทธิครอบครองให้โจทก์ โจทก์แจ้งการครอบครองที่พิพาทจนได้รับ ส.ค. 1เป็นหลักฐานนั้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่โจทก์มีอำนาจกระทำได้หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่ประการใดไม่และการที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพินัยกรรมดังกล่าว ก็มิใช่เป็นการรับฟังว่าพินัยกรรมมีผลบังคับในฐานะเป็นพินัยกรรม แต่เป็นการรับฟังประกอบพฤติการณ์ที่โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทมาก่อนบิดาผู้ทำพินัยกรรมตาย อันเป็นเหตุให้โจทก์ไปทำ ส.ค.1 ไว้เท่านั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองปรปักษ์และการถือสิทธิร่วม
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกัน และได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7 - 8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3 ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองโดยเจ้าของร่วมและการไม่ถือว่าถูกแย่งการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสาม เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดเป็นของโจทก์จำเลยทั้งสามร่วมกันและได้ร่วมกันครอบครองตลอดมาโดยโจทก์และจำเลยที่ 1ที่ 2 ต่างปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ปลูกบ้าน แต่ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 จนกระทั่งมีสามี จำเลยที่ 3 จึงแยกไปอยู่ที่อื่นกับสามีนาน 7-8 ปี พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแทนจำเลยที่ 3 ด้วยและถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถูกแย่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทไปเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยที่ 3ยังมีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ 1 ใน 4 ส่วน