คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความ: นายทะเบียนถูกศาลรับเรื่องแม้ไม่ยื่นคัดค้านทันเวลา มีสิทธิอุทธรณ์ได้
แม้ศาลจะไม่รับคำคัดค้านของพันตรี พ. ในฐานะนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนอำเภอเมืองนครพนม เพราะมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นคำคัดค้านภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ถือได้ว่าพันตรี พ. ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีของผู้ร้องโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) จึงเป็นคู่ความในคดี มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การไม่ฟ้องคดีภายใน 90 วันหลังคำวินิจฉัยนายทะเบียนทำให้สิทธิสิ้นสุด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516)และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นก่อน – สิทธิในการฟ้องเพิกถอนยังคงมี
แม้โจทก์จะมิได้แจ้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าได้ตกลงกับจำเลยหรือได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดสามเดือนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 17 มาตรานี้ ก็เพียงแต่ให้นายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของฝ่ายที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อนเท่านั้นต่อมาเมื่อนายทะเบียนฯประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 21 เพื่อดำเนินการรับจดทะเบียนต่อไปโจทก์กลับยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 22 และจำเลยยื่นคำโต้แย้งแล้ว นายทะเบียนฯก็หาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 โจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 22 วรรคสี่และวรรคห้า ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้วถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจโดยมิชอบของนายทะเบียนและการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงแรมได้แล้วต่อมาเมื่อขออนุญาตเปิดกิจการต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียน จำเลยกลับใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบไม่อนุญาตให้เปิดกิจการโรงแรม ทั้งคำสั่งของกรมตำรวจและคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ให้โจทก์จัดการแก้ไขเพิ่มเติมก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาจำเลยในมูลละเมิด สมควรที่จะต้องฟังพยานหลักฐานต่อไปเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นประการใด ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ชื่อเจ้าของรถยนต์ที่บริษัทเลิกกิจการ ผู้ร้องต้องดำเนินการต่อนายทะเบียน ไม่ใช่ศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องได้ครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์มา 11 ปีแล้ว แต่ชื่อเจ้าของในทะเบียนยังคงเป็นของบริษัท ต. ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีไปแล้ว ไม่มีคู่พิพาทที่จะฟ้องร้องเอาได้ ขอให้ศาลสั่งแก้ชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นของผู้ร้องดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องต่อนายทะเบียนยานพาหนะที่รถยนต์นั้นจดทะเบียนไว้เพื่อให้นายทะเบียนยานพาหนะได้จัดการแก้ทะเบียนเจ้าของรถให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ชื่อเจ้าของรถยนต์ตามใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์เดิมมาเป็นชื่อของผู้ร้องโดยถือว่าผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียน หนี้เดิมยังไม่ระงับ
แม้จะได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยให้เจ้าหนี้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทน้ำตาล บ.จำกัด จำนวน 3,000 หุ้น มูลค่าเป็นเงิน 3,000,000 บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการโอนสิทธิเรียกร้องและระงับหนี้ซึ่งลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คไว้ตามสัญญากู้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1119 นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางไม่จดทะเบียนให้ จึงไม่มีผลบังคับ หนี้เดิมของเจ้าหนี้จึงยังไม่ระงับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามเช็คของลูกหนี้ ย่อมไม่โดยไปยังบริษัทน้ำตาล บ.จำกัด เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้รายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน แม้มีรูปปลาเหมือนกัน ศาลยืนตามคำวินิจฉัยนายทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยต่างมีรูปปลาตัวหนึ่งอยู่ตรงกลางของโจทก์ส่วนกลางลำตัวปลาแนบอยู่บนรูปเพชรมีอักษรภาษาไทยว่า"ตราปลา-เพชร" อยู่ด้านล่าง ของจำเลยมีรูปคนผู้ชายยืนอยู่ภายในและบนเส้นรอบวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางวงกลมยาวไปตามลำตัวปลา ด้านล่างมีอักษรโรมันอ่านว่า เซอร์เคิลแมนแบรนด์ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้นำมาจดทะเบียนไว้แล้วไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ให้ดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจดทะเบียนรับรองบุตร ต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนก่อน หากถูกคัดค้านจึงฟ้องศาลได้
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้า) ประสงค์จะจดทะเบียนบุตรที่เกิดก่อนสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะต้องไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมยต่อสำนักทะเบียน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านการขอจดทะเบียน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงจะมีอำนาจนำคดีฟ้องศาลได้ โดยฟ้องเด็กและมารดาร่วมกันเป็นจำเลย เมื่อปรากฏทั้งจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์และทางนำสืบว่าก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองเด็กขายโอภาส ต่อนายทะเบียนหรือจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนข้อโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายจึงยังไม่เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาล แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้เกิดขึ้นแก่โจทก์ ไว้ในคำให้การและไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ศาลฎีกาก็ยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
โจทก็์ฟ้องขอให้จำเลยไปให้ความยินยอมจดทะเบียนว่าเด็กชาย อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้โจทก์มอบคืนเด็กชาย อ. แก่จำเลย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้โจทก์มอบเด็กชาย อ. คืนให้กับจำเลยตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นโทษทางอาญาจาก พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 กรณีมอบอาวุธปืนให้ นายทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะในการสงครามไว้ในครอบครอง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะในการสงคราม นำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วันนับแต่วันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้อง จำเลยก็ได้รับยกเว้นโทษ จะริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางอันเป็นทรัพย์สินที่จะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ไม่ได้ เพราะกฎหมายผ่อนผันให้ผู้มีไว้ในครอบครองนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารทางราชการที่ออกตามหน้าที่ แม้ข้อความไม่ตรงกับความจริง ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม
จำเลยที่ 4 เป็นนายทะเบียนตำบล มีหน้าที่ออกมรณบัตรในกรณีที่มีผู้ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 4 ได้ออกมรณบัตรให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีข้อความแสดงว่า นาย ท.ราษฎรในตำบลนั้น ได้ถึงแก่ความตายแล้ว ซึ่งเป็นความเท็จความจริงนาย ท. ยังมีชีวิตอยู่ ดังนี้ เอกสารที่จำเลยที่ 4ออกนั้น ได้ออกให้ตามหน้าที่ที่เป็นนายทะเบียนจึงเป็นเอกสารอันแท้จริงของจำเลยที่ 4 แม้ข้อความในเอกสารจะไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่ทำให้เอกสารนั้นกลายเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 4 จึงยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161
of 8