พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากที่ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีเจตนาขอกู้ยืมเงินและการคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์ - จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการอ้างถึงการกู้ยืมเงินและดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากที่ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง: เจตนาทำสัญญาโดยสมัครใจ
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์ - จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สิทธิในการนำสืบพยานพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
จำเลยต่อสู้คดีว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองเป็นการกล่าวอ้างว่า สัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างสัญญาขายฝากย่อมใช้บังคับไม่ได้ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สิทธิในการนำสืบพยานพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี
จำเลยต่อสู้คดีว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างสัญญาขายฝากย่อมใช้บังคับไม่ได้จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก: ผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์และการฟ้องขับไล่
จำเลยให้การว่าซื้อที่ดินและตึกแถวรายพิพาทจริง โดยทำนิติกรรมขายฝาก แต่โจทก์ให้จดทะเบียนเป็นสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก หากเป็นจริงดังจำเลยอ้างสัญญาซื้อขายย่อมตกเป็นโมฆะ บังคับไม่ได้ โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยตามสัญญาขายฝากหรือไม่ เป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาในภายหลัง คดีจำเป็นต้องฟังพยานต่อไป(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากบังหน้าการกู้ยืมเงิน
แม้การขายฝากจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินสัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคสองและจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากบังหน้าการกู้ยืมเงิน ศาลพิจารณาจากเจตนาคู่สัญญาและพฤติการณ์
แม้การขายฝากจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินสัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคสองและจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อขายสิทธิสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ สัญญากู้เงิน การชำระหนี้
จำเลยที่1ทำสัญญาซื้อขายสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทช. ในราคา15ล้านบาทแต่ระบุไว้ในสัญญาเพียง1ล้านบาทส่วนอีก14ล้านบาทได้ทำเอกสารขึ้นสองฉบับคือสัญญากู้จ.1ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และบันทึกข้อตกลงในการฝากและคืนเอกสารสัญญากู้ที่ฝากไว้กับธนาคารเงิน14ล้านบาทนั้นโจทก์ได้มาจากบ. ออกเช็คเข้าบัญชีของโจทก์แล้วโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน14ล้านบาทให้จำเลยที่1ข้อตกลงในการฝากและคืนเอกสารสัญญากู้มีว่าถ้าบริษัทช. เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์โดยสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่1เป็นผู้มีสิทธิรับเอกสารคืนซึ่งมีผลเท่ากับไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิกนั้นคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้พิจารณาใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่เกิน30รายสมาชิกอาจโอนการเป็นสมาชิกให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงหาได้กระทำตามความสมัครใจของผู้โอนและผู้รับโอนเท่านั้นไม่ความสำคัญอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตให้โอนกันด้วยขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่1และบริษัทช. จึงไม่มีทางรู้ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการจะออกมาในรูปใด ไม่มีเหตุที่บริษัทช. ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าซื้อสิทธิให้แก่จำเลยที่1ถึง14ล้านบาทเมื่อการโอนสิทธิแก่กันยังไม่เป็นที่แน่นอนพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าการที่จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็เพื่อจะให้จำเลยที่1ได้เงินไปใช้ก่อนสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาลวงหรืออำพรางนิติกรรมอื่นไม่ส่วนการตกลงเรื่องโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์นั้นชั้นแรกคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติให้บริษัทช. เข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์โดยการรับโอนสิทธิจากจำเลยที่1แต่บริษัทช.จะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก5ล้านบาทเป็นอย่างน้อย20ล้านบาทภายใน6เดือนบริษัทช. ไม่อาจเพิ่มทุนได้เพราะที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทช. กับจำเลยที่1จึงยังไม่สมบูรณ์เรียบร้อยตามสัญญาจำเลยที่1ยังคงเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์อยู่เงื่อนไขที่ให้บริษัทช. เพิ่มทุนนั้นเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจของบริษัทช. เพราะการเพิ่มทุนต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของบริษัทช. หรือบริษัทช. ขัดขวางมิให้สัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จโจทก์ย่อมมีสิทธิเป็นผู้รับสัญญากู้คืนและฟ้องจำเลยตามสัญญากู้และค้ำประกันได้ซึ่งโจทก์จะได้เงินมาจากใครนั้นไม่ใช่ข้อสำคัญเมื่อจำเลยที่1รับเงินไปจากโจทก์ก็ต้องคืนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3959/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาจำนองไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อขาย หากสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
โจทก์ทั้งสามทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลย แต่ยังจดทะเบียนโอนกันไม่ได้เพราะผู้เช่าที่ดินพิพาทคัดค้าน โจทก์จำเลยตกลงกัน ให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์เพื่อนำเงินไปไถ่ การขายฝากที่ดินพิพาทจาก จ. และให้จำเลยไปดำเนินการฟ้องขับไล่ ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทก่อนแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อคู่กรณีเจรจาตกลงกันเช่นนี้คู่กรณี ทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่ตกลงกันนั้นได้ ทั้งสัญญาจำนอง และสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามเจตนาที่ตกลงกัน มิใช่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาจำนองอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย