พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัด และความผิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบรษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดยไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2502)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัดและการเป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้บังคับกฎหมายอาญา
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบริษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดย ไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัดและการเป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้บังคับกฎหมายอาญา
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบริษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1096. ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว. ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ. โดย.ไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว. ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นบริษัทจำกัดที่ไม่ได้ออกใบหุ้น: สิทธิผู้ถือหุ้นและการมีอำนาจฟ้อง
บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้ว แต่ไม่ได้ออกใบหุ้นเลยนั้น การโอนขายหุ้นให้แก่กันในระหว่างผู้ถือหุ้นจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดหุ้นค้างชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้และบริษัทจำกัดในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้นจะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อนมิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัด
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลจึงเป็นเพียงบุคคลสมมติโดยอำนาจของกฎหมายดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัท จำเลยที่ 1 กระทำผิดก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและแต่งทนายของบริษัทจำกัด: การใช้ตราบริษัทและอำนาจผู้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว และฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะลงชื่อในใบแต่งทนาย 2 แห่งโดยมิได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะอะไรก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในฐานะที่เป็นจำเลยเองแห่งหนึ่ง กับลงชื่อในนามบริษัทซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 อีกแห่งหนึ่งแล้ว
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัท และตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัท และตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมบริษัทจำกัด การนับระยะเวลาตามกฎหมาย ให้ดูวันที่ส่ง ไม่ใช่วันที่ผู้รับได้รับ
มาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่บริษัทจำกัด เพียงแต่บังคับให้ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้รับ ย่อมถือว่าจำเลยส่งถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โจทก์ได้รับวันใด หาเป็นข้อสำคัญไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการผูกพันบริษัท: ข้อจำกัดที่จดทะเบียนและประกาศแล้วย่อมเป็นที่รู้ของบุคคลทั่วไป
ข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการที่จะผูกพันบริษัทจำกัดนั้นเมื่อได้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วย่อมเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปฉะนั้น การที่กรรมการผู้จัดการได้ลงนามในนามบริษัทจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยไม่ประทับตราบริษัทอันเป็นการขัดกับข้อบังคับดังกล่าวแล้ว การนั้นย่อมไม่ผูกพันบริษัทจำเลยอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัดที่ยังมิได้จดทะเบียน
ฟ้องว่า บริษัทจำกัดทำละเมิด ภายหลังปรากฏว่าบริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ก็ขอให้ศาลเรียกผู้เริ่มก่อการเข้ามาเป็นจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตาม มาตรา 1113 ได้
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรคสอง
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรคสอง