คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกกล่าวล่วงหน้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไป ใหม่ได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไปใหม่ได้ตามมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างหลังเกษียณอายุและสิทธิการบอกกล่าวล่วงหน้า รวมถึงสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ระเบียบของจำเลยกำหนดไว้ว่าลูกจ้างทุกคนจะครบเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อลูกจ้างหลายคน อายุครบ 55 ปีแล้ว จำเลยยังคงจ้างให้ทำงานต่อไป จึงถือว่าเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด การที่จำเลยเพิ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงชื่อรับทราบในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2529 ว่าจะให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีออกจากงานทั้งหมด และให้ออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2529 ในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ 2529 การเลิกจ้างมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป ในวันที่ 15 มีนาคม 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุที่ยังคงจ้างงานต่อ และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ระเบียบของจำเลยกำหนดไว้ว่าลูกจ้างทุกคนจะครบเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อลูกจ้างหลายคน อายุครบ 55 ปีแล้ว จำเลยยังคงจ้างให้ทำงานต่อไปจึงถือว่า เป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด การที่จำเลยเพิ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงชื่อรับทราบในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2529 ว่าจะให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีออกจากงานทั้งหมด และให้ออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2529 ในวันรุ่งขึ้นนั้นเองจึงเป็น การบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ 2529 การเลิกจ้าง มีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป ในวันที่ 15 มีนาคม 2529

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเกษียณอายุและการบอกกล่าวล่วงหน้า หากมีการจ้างงานต่อหลังเกษียณอายุ การเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ระเบียบของจำเลยกำหนดไว้ว่าลูกจ้างทุกคนจะครบเกษียณอายุเมื่ออายุ55ปีบริบูรณ์แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อลูกจ้างหลายคนอายุครบ55ปีแล้วจำเลยยังคงจ้างให้ทำงานต่อไปจึงถือว่าเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใดการที่จำเลยเพิ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงชื่อรับทราบในวันที่28กุมภาพันธ์2529ว่าจะให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ55ปีออกจากงานทั้งหมดและให้ออกตั้งแต่วันที่1มีนาคม2529ในวันรุ่งขึ้นนั้นเองจึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อวันที่28กุมภาพันธุ์2529การเลิกจ้างมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่15มีนาคม2529.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ค่าชดเชย และการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา180วันต่อมาจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจจำเลยโดยให้การเลิกจ้างมีผลเมื่อพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบหัติงาน180วันไป2วันแม้จะเพื่อประโยชน์หรือให้เป็นผลดีแก่ลูกจ้างเพียงใดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46วรรคท้ายแต่เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจและจำเลยได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาทดลองงานโดยได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้วแม้จะให้มีผลเลิกจ้างเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาทดลองงานไปแล้วก็ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าซ้ำอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ. 2528 ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้น หามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน 120 วัน ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ จำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันที แต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้ว สัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้น การยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงาน โดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตาม มาตรา 583 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 แล้ว และเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสม เมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้น มิใช่ เป็นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันที แต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้ว สัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้น การยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงาน โดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตาม มาตรา 583 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 แล้ว และเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสม เมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
of 9