คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกล้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมหลังพ้นกำหนดเวลาและอายุความ การทราบถึงการโอนกรรมสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่า "โจทก์ทราบการที่นางถมยายกที่ดินที่โจทก์ฟ้องนี้ให้เป็นกรรมสิทธิแก่ข้าพเจ้าถึง 5-6 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้เพิกถอนหรือล้างนิติกรรมนี้ได้ตาม ก.ม. ฯลฯ" ดังนี้ พอจะเห็นได้ว่า จำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาและการบังคับชำระหนี้จากสินบริคณห์ กรณีสามีไม่ได้ยินยอมและบอกล้าง
ที่จะถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้นั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่า เป็นหนี้ที่ต้องด้วยลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ตาม มาตรา 1482
หากเป็นหนี้ที่ภริยาไปทำขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ส่วนของภริยาออกชำระหนี้ทางศาล ตามมาตรา 1483ถ้าเจ้าหนี้มิได้ขอแบ่งสินบริคณห์ ศาลจะสั่งแยกไปทีเดียวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมจำนองที่ไม่สุจริต และกำหนดเวลาไถ่ถอนที่สมเหตุสมผล
สามีให้ภรรยามีชื่อในโฉนดแต่ผู้เดียวแล้วเอาไปจำนองผู้อื่นไว้หลายครั้ง ก่อนมาทำจำนองกับโจทก์ บัดนี้อ้างว่าภรรยาจำนองโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอบอกล้างดังนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตบอกล้างไม่ได้
ผู้รับจำนองบอกกล่าวให้ผู้จำนองไถ่ถอนภายใน 10 วัน โดยเคยทวงถามหลายครั้งแล้วดังนี้ ถือได้ว่ากำหนดเวลานั้นพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะและการเรียกร้องเงินจากกองมฤดก: ผู้รับมรดกต้องรับผิดในหนี้สิน
หญิงมีสามีได้รับเงินไว้จากการขายทรัพย์ซึ่งสัญญาเป็นโมฆียะเพราะทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี เมื่อสามีบอกล้างนิติกรรมแล้ว หญิงต้องคืนเงินนั้นตาม ป.ม.แพ่ง ฯ ม.138 ไม่ใช่คืนในฐานะลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินผู้ตายจากผู้รับมรดก ศาลจะตัดสินให้กองมฤดกใช้เงินไม่ได้ต้องตัดสินให้จำเลยใช้เงินในฐานะเป็นผู้รับมฤดกของผู้ตาย
ตัวแทนของหญิงมีสามีได้รับเงินไว้แทนหญิงเท่าไร เมื่อนิติกรรมถูกบอกล้างแล้วหญิงก็ต้องคืนเงินเต็มจำนวนที่ตัวแทนได้รับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าหญิงจะได้รับเงินจากตัวแทนเท่าไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆียะ การบอกล้าง และการคืนเงิน - หนี้สินที่เกิดจากตัวแทน
หญิงมีสามีได้รับเงินไว้จากการขายทรัพย์ซึ่งสัญญาเป็นโมฆียะเพราะทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี เมื่อสามีบอกล้างนิติกรรมแล้วหญิงต้องคืนเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.138 ไม่ใช่คืนในฐานะลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินผู้ตายจากผู้รับมรดก ศาลจะตัดสินให้กองมรดกใช้เงินไม่ได้ ต้องตัดสินให้จำเลยใช้เงินในฐานะเป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย
ตัวแทนของหญิงมีสามีได้รับเงินไว้แทนหญิงเท่าไร เมื่อนิติกรรมถูกบอกล้างแล้วหญิงก็ต้องคืนเงินเต็มจำนวนที่ตัวแทนได้รับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าหญิงจะได้รับเงินจากตัวแทนเท่าไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่และการบอกล้างโมคียะกัมกับอายุความมรดก
บิดาจำเลยตายโจทจำเลยได้ตกลงแปลหนี้ไหม่คือ แปลงหนี้ที่บิดาจำเลยเปนหนี้สามีโจทมาเปนสัญญาที่จำเลยจะขายที่ดินไห้จำเลย แต่พายหลังจำเลยได้บอกล้างโมคียะกัมเพราะไนขนะจำเลยทำสัญญาเปนผู้เยาว์เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเปนการรับสภาพหนี้เดิมหรือไห้สัตยาบันอันจะทำไห้อายุความมรดกสดุดหยุดลง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84-85/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินบริคณห์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี และผลของการไม่บอกล้างภายในกำหนด
ภรรยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปจำนองไว้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับอนุญาตจากสามี ครั้นสามีรู้ความแล้วมิได้บอกล้างภายในเวลา 1 ปี สัญญาจำนองย่อมสมบูรณ์ผูกมัดสินบริคณห์นั้นทั้งหมดสามีจะบอกล้างภายหลังมิได้
ภรรยาทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินบริคณห์โดยมิได้รับอนุญาตจากสมี ครั้งถูกศาลสั่งให้ยึดสินบริคณห์ สามีจึงร้องขัดทรัพย์และบอกล้างโมฆียะกรรม ในระหว่างคดีสามีตายดังนี้ ทายาทของสามีมีสิทธิรับมฤดกความดำเนินคดีชั้นร้องขัดทรัพย์นี้ต่อไปจนถึงที่สุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาค้ำประกัน: เริ่มนับจากวันที่ทราบสัญญา
กำหนดอายุความบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา 143 นั้นมีกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ วิธีพิจารณาแพ่ง ร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินบริคณห์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: สิทธิในการบอกล้างนิติกรรม
ผัวเมีย เมียโอนทรัพย์ให้ลูกโดยผัวไม่ได้ยินยอมเป็นโมฆียะ บิดาบอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เกินกำหนดเวลาฟ้องร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 181 บัญญัติกำหนดเวลาที่จะบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะว่าจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ การที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของผู้ตายทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือมอบอำนาจอันเป็นโมฆียะให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2507 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทได้
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิ และสามารถฟ้องได้โดยไม่มีกำหนดอายุความนั้น คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องและคำให้การว่าโจทก์บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 หรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลภายนอกผู้ไม่มีสิทธิโดยไม่มีกำหนดอายุความตามที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่นอกฟ้องนอกประเด็นถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 7