คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกเลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองห้องพัก การบอกเลิกสัญญา สิทธิในการรับเงินคืน และการครอบครองปรปักษ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าจองห้องพักโรงแรมให้จำเลยไปแล้ว ต่อมาโจทก์บอกเลิกการจองห้องพักให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันตามวิธีปฏิบัติของธุรกิจโรงแรมเกี่ยวกับการบอกเลิกการเข้าพักซึ่งจำเลยจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยไม่ยอมคืนเงินให้ เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงว่าห้องพักแต่ละห้องราคาเท่าใด ค่าอาหารและค่าจัดเลี้ยงมีราคาเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ทำคำเสนอขอจองห้องพักไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 จำเลยทำคำสนองตอบรับการจองห้องพักในวันเดียวกัน สัญญาจึงเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2534 ไม่ใช่วันที่โจทก์ชำระเงินค่าห้องพักให้จำเลย ส่วนวันที่ 6 ถึงวันที่ 12 มกราคม 2535เป็นระยะเวลาเข้าพัก แต่ในวันที่สัญญาเกิดโจทก์ไม่ได้ชำระเงินแก่จำเลยเพิ่งจะโอนเงินงวดแรกให้จำเลยในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 งวดที่สองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 ส่วนอีกร้อยละ 30 จะชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการพัก ดังนั้น เงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยภายหลังจากวันที่สัญญาจองห้องพักเกิดขึ้นแล้วจึงไม่ใช่มัดจำที่จำเลยจะพึงริบเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) เพราะไม่ใช่เงินหรือสิ่งใดที่โจทก์ให้จำเลยไว้ในวันเข้าทำสัญญา ทั้งไม่ใช่หลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 377 หากแต่เป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยเป็นงวด ๆ ตามข้อตกลงในสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกการจองห้องพักซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาโจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 วรรคแรก จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกการจองห้องพักอันเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่สัญญาเลิกกันเป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก ในเรื่องการคืนเงินอันเกิดจากการเลิกสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 193/30 จะนำอายุความ 1 ปี เรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขณะจำเลยรับเงินค่าห้องพักเป็นการรับไว้โดยชอบ มิใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้
โจทก์ชำระเงินค่าจองห้องพักให้แก่จำเลย เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีเพราะเงินเป็นสังกมทรัพย์ เมื่อจำเลยได้รับเงินไว้เกิน 5 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่และความรับผิดเกิดขึ้นใหม่ในอันที่จะต้องคืนค่าห้องพักที่รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ไม่จำต้องคืนเป็นเงินอันเดียวกับเงินที่โจทก์ชำระไว้ คงคืนให้ตามจำนวนที่จะต้องคืน กรณีจึงมิใช่จำเลยครอบครองปรปักษ์เงินค่าห้องพักที่รับไว้ จำเลยจะอ้างมาปัดความรับผิดในการชำระเงินคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การบอกเลิกสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)ฯ การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การกระทำของโจทก์ก็ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น เป็นคนละเรื่องกัน ในกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คงมีแต่ข้อตกลงเฉพาะการหักทอนบัญชีและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12 กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่และจะคิดทบต้นอย่างไร ซึ่งตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้มีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ย และยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงิน แม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเดินสะพัด, สิทธิโจทก์, การบอกเลิกสัญญา, หักชำระหนี้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ต้องอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาปลูกสร้างบ้านและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดสัญญา
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมีใจความในข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 ว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญาเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีกเป็นจำนวน 1,433,190 บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน และข้อ 2.4 มีว่า ส่วนที่เหลือจากการชำระตามข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 เป็นเงินจำนวน 3,694,110 บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ แม้สัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านไปแล้วเสร็จไว้ก็ตาม ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ให้ได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระจากโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้างบ้านแต่อย่างใด โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลยถึงความคืบหน้าในการปลูกสร้างบ้าน และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ของการปลูกสร้างบ้าน แต่จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้านอย่างใด โจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนแก่โจทก์ไว้ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับชำระแต่ละงวดจนกว่าจะใช้คืนเสร็จ แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7
จำเลยให้การว่า บุคคลที่บอกเลิกสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านเป็นผู้ที่ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา โดยมิได้กล่าวอ้างว่าเพราะเหตุใดจึงไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องการมอบอำนาจให้ทนายความบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างปลูกสร้างบ้านและดอกเบี้ยคืน กรณีจำเลยไม่เริ่มงาน
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านระบุว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญา150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีก 1,433,190บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน ส่วนที่เหลือ 3,694,110บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น แม้สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ แต่ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระไปแล้ว แต่จำเลยก็ไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้าง โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลย และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้าน เมื่อตามหนังสือสอบถามโจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้าน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม...." และวรรคสอง บัญญัติว่า "ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้" และมาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" ดังนั้น เมื่อสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนแก่โจทก์ไว้ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับชำระแต่ละงวดจนกว่าจะใช้คืนเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเป็นเหตุให้ผู้รับจ้างบอกเลิกสัญญาได้ และผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
สัญญาจ้างข้อ 5 ระบุว่าโจทก์ต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าว จำเลยผู้ว่าจ้างต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าพื้นที่สำหรับก่อสร้างอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิที่จะครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ย่อมไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอก เลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ล่าช้า และยังไม่รับข้อเสนอของจำเลยที่ขยายเวลาก่อสร้างให้อีก 27 วัน โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันแก่จำเลยสำหรับระยะเวลา 27 วัน เป็นเงิน 364,500 บาท ขอให้หัก ออกจากค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยควรต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันฟ้อง ปรากฏว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ซึ่งจำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ(2) และข้อ (4) ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อ ซึ่งต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องรับผิดค่าธรรมเนียมธนาคาร
สัญญาจ้างระบุว่าโจทก์จะต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าวจำเลยต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบเพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างมิได้ระบุถึงเรื่องการส่งมอบพื้นที่ไว้ การที่โจทก์ทราบถึงอุปสรรคเรื่องเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปา ตลอดจนการที่มีอาคารของผู้อื่นบางส่วนกีดขวางอยู่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการแก้ไข หากให้โจทก์ลงมือทำงานในส่วนที่ไม่มีอุปสรรคไปก่อนก็อาจไม่ตรงตามงวดของงานตามสัญญาจ้าง และหากมีผลกระทบถึงที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โจทก์ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่ให้โจทก์จนกระทั่งล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกัน เมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ที่แพ้คดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 เพียงสัญญาเดียว ในส่วนสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้องอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตเท่านั้น ดังนี้ ในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2) และข้อ (4) เมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อซึ่งเป็นกรณีที่ต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลยไปทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเฉพาะค่าใช้ทรัพย์และค่าเสียหายอื่น ไม่สามารถเรียกค่าเช่าค้างชำระได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในขณะที่โจทก์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองรถยนต์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อนกัน ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกกันได้ คงเรียกได้แต่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และค่าเสียหายอื่นที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนอกเหนือจากค่าเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงานและการบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
สัญญาจ้างระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ที่ระบุว่า ในระยะเวลา 120 วันนับจากวันเริ่มปฏิบัติงานให้ถือว่าเป็นระยะเวลาทดลองงาน บริษัทชอบที่จะเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหลังจาก 120 วันหากผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจก็จะบรรจุลูกจ้างเป็นพนักงานประจำนั้น หมายความว่า นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แต่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์เลิกจ้าง ส. เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ ส. ทราบล่วงหน้านั้น ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 เมื่อโจทก์เลิกจ้าง ส. โดยไม่เข้าเหตุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้ายโจทก์จึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้ ส. ทราบเมื่อถึงหรือจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า เมื่อโจทก์กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน โจทก์บอกเลิกจ้าง ส. โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นการบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 30เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง การบอกเลิกจ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าโจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ ส. เป็นเวลา 35 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธ.ป.ท. และการคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เงินระบุว่า จำเลยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บจากผู้กู้ยืมได้ ดังนั้น เมื่อขณะทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไว้ร้อยละ 19 ต่อปี การที่สัญญากู้เงินกำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจึงเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและตามข้อตกลงของคู่สัญญาแล้วไม่ทำให้สัญญาในส่วนนี้เป็นโมฆะ ทั้งการคิดดอกเบี้ยโจทก์ก็คิดตามประกาศของโจทก์ซึ่งมีอัตราขึ้นลง มิได้คิดตามที่สัญญากู้เงินกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงนับว่าเป็นคุณแก่จำเลย แต่การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยให้ไถ่ถอนจำนองให้เสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี ดังนั้น ภายหลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมคือร้อยละ 15.5 ต่อปีต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์ไม่อาจอาศัยข้อสัญญาซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาทำการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากจำเลยให้สูงขึ้นตามประกาศของโจทก์ได้อีกต่อไป
of 103