คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับจำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ก่อนครบกำหนด
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถามและฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลยนำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยรายเดือน ทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองก่อนครบกำหนดสัญญา
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา 5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระ ดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่า จำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัด ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถาม และฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดิน โฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลย นำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาควรแก้ไข เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การค้ำประกัน, การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการฟ้องร้องบังคับคดี
ส.เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ และมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารโจทก์กระทำการใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับธนาคารโจทก์ส.ได้มอบอำนาจให้ ป. รองผู้จัดการมีอำนาจกระทำการบอกกล่าว ทวงถาม เรียกเก็บหนี้สิน ฟ้องคดีแพ่ง และต่อสู้คดีทั้งปวงแทนได้ และมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อกระทำการดังกล่าวได้ และ ป.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ. และหรือ ค.ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อการมอบอำนาจของโจทก์เป็นไปโดยต่อเนื่องไม่ขาดสาย การฟ้องและดำเนินคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ยในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการคิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญาโดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535 ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระ และไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใด เมื่อ อ.ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 แล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบ มิได้ตกเป็นโมฆะ
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3 ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด
ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาท ซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกันผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้าย เมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 1พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1 และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการบังคับจำนองทรัพย์สิน แม้หนี้ขาดอายุความแต่จำนองยังใช้บังคับได้
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 27 กันยายน 2523 แล้ว โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินและจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง ถือว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่ต่อมาปรากฏตามบัญชีว่า โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1ถอนเงินโดยการโอนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2526หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และหลังจากโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว ต่อมาโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 ตุลาคม 2526 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 1,878,616.82 บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันสิ้นสุดลงในวันที่ 28 ตุลาคม 2526 โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 สิงหาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงขาดอายุความ จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ในวงเงิน 555,000 บาทและยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3จดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 445,000 บาท และยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เมื่อบังคับจำนองเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดจำนวนให้โจทก์จนครบ ดังนี้แม้หนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำนองทรัพย์สินเป็นประกันจะขาดอายุความ แต่กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27และมาตรา 745 กล่าวคือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้เมื่อหนี้ที่จำนองเป็นประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินกว่าห้าปีไม่ได้โจทก์จึงยังมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจำนองได้ แต่คงบังคับได้เฉพาะจากทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จำนองแก่โจทก์ไว้เท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, การยินยอมโดยปริยาย, และการกำหนดค่าทนายความในคดีแพ่ง
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การยินยอมโดยปริยาย การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการกำหนดค่าทนายความ
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดย มิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่าง บุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป. มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 มิได้บัญญัติ ไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควรการบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์72,059.57 บาท แล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความที่ได้รับการมอบอำนาจ การให้สัตยาบัน และผลของการไม่ทำตามแบบ
การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้ โจทก์มอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย โดยมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามโจทก์ เมื่อต่อมาโจทก์ได้แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความฟ้องร้องบังคับจำนองต่อจำเลย โจทก์ได้เบิกความยืนยันการมอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองต่อจำเลย ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองและทรัพย์สินอื่น, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, อัตราดอกเบี้ย, การพิพากษานอกประเด็น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อใดก็ให้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อนั้นขึ้นมากว่าวคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ชัดแจ้งในคำฟ้องอุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายมานั้นไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกควรเป็นอย่างไรพร้อมด้วยเหตุผลที่คัดค้าน กฎหมายบทนี้มิได้มีความมุ่งหมายบังคับให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ต้องบรรยายในคำฟ้องอุทธรณ์ถึงคำฟ้องและคำให้การเหมือนดังที่บรรยายมาในศาลชั้นต้น เมื่อกฎหมายมิได้มีความมุ่งหมายดังกล่าวการที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ถึงคำฟ้องและคำให้การมาย่อ ๆ พอให้ทราบว่าคดีโจทก์เป็นมาอย่างไรก็ย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว และโจทก์ได้บรรยายไว้ในอุทธรณ์แล้วว่าโจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยชำระหนี้โจทก์จนครบ การที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่กล่าวถึงการบังคับคดีส่วนนี้ทำให้โจทก์ไม่อาจบังคับแก่ทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยตามสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองได้ เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งถึงข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้องเพียงใด ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญาจำนองหรือไม่ ซึ่งเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยไม่ชำระ ก็ให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ จึงมีอำนาจวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ตามฟ้องโจทก์บรรยายถึงการดำเนินการเป็นขั้น ๆ ไป คือบังคับจำนองนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดก่อน เมื่อได้เงินมาไม่พอชำระหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยซึ่งเป็นการบังคับแก่ทรัพย์โดยมีลำดับก่อนหลัง แต่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้โดยไม่มีลำดับก่อนหลัง จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและเกินกว่าคำฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า ขณะจดทะเบียนจำนองไม่มีข้อตกลงในการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยนอกเหนือไปจากทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้และไม่ได้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ตามสัญญาระบุให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.75 ต่อปี แต่ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพิ่มขึ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์อีก ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราเพิ่มขึ้นจากอัตราในขณะเลิกสัญญาและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมานั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองและการไถ่ถอนจำนอง: โจทก์มีหน้าที่ไถ่ถอนจำนองเมื่อได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
การที่จำเลยทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ไว้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ และจำเลยได้รับเงินกู้จำนวน 145,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วส่วนต้นเงินจำนองจำนวน 350,000 บาท กับดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 52,500บาท จำเลยยินยอมให้นำมาเป็นต้นเงินในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นต้นเงินใหม่จำนวน 547,500 บาท ก็ย่อมบังคับกันได้ตามข้อตกลงนั้น
เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
of 25