คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายสินเชื่อและเก็บผลผลิตทางการเกษตร: สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จและหนี้สิน
การที่ชาวไร่หรือที่เรียกว่าสมาชิกผู้รับการส่งเสริมจะรับสินเชื่อไปจากโจทก์จะต้องทำสัญญาส่งเสริมการปลูกฝ้ายกับห้างจำเลยซึ่งเรียกว่าผู้ส่งเสริมก่อน และต้องเอาฝ้ายดอกมาขายให้จำเลยแต่ผู้เดียวตามราคาที่จำเลยกำหนดไว้ในสัญญา แล้วหักทอนกับสินเชื่อที่รับไป เท่ากับจำเลยออกทุนให้ปลูกฝ้ายแล้วเอาผลิตผลมาขายหักใช้หนี้ ระหว่างที่โจทก์รับเอาสินเชื่อไปจ่ายแก่สมาชิก จำเลยก็มีจดหมายถึงโจทก์ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายสินเชื่อโจทก์จึงเป็นตัวแทนจำเลยทั้งในการนำวัสดุสินเชื่อตลอดจนเงินสดและเช็คไปจ่ายแก่สมาชิก และรวบรวมฝ้ายดอกจากสมาชิกมาขายให้จำเลยโจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างข้าราชการยืมตัว: สิทธิบำเหน็จและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยส่งตัวโจทก์กลับกรมการค้าภายในอันเป็นหน่วยงานเดิมของโจทก์เพราะสภาบริหารคณะปฏิวัติลงมติให้ข้าราชการและลูกจ้างกรมการค้าภายในที่ยืมตัวไปปฏิบัติงานในองค์การจำเลยกลับหน่วยเดิม ตำแหน่งเดิมที่โจทก์เคยทำในองค์การจำเลยก็ยังคงมีอยู่ดังนี้ มิใช่กรณีโจทก์ต้องออกจากงานเพราะยุบเลิก หรือตัดทอนงาน
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณบำเหน็จได้
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานกลางในคดีบำเหน็จ และการหักเงินค่าเสียหายที่ไม่แน่นอน
คดีที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ลาออก จำเลยจะต้องจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานฯ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายให้นั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อ ศาลแรงงานกลางได้
เมื่อคดีที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ข้อที่ว่าโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยหรือไม่และค่าเสียหายมีจำนวนเท่าใดยังไม่ยุติ ค่าเสียหายจึงไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานกลางในคดีบำเหน็จ และการหักค่าเสียหายที่ไม่ยุติ
คดีที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ลาออก จำเลยจะต้องจ่ายบำเหน็จให้โจทก์.ตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานฯแต่จำเลยไม่ยอมจ่ายให้นั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อ ศาลแรงงานกลางได้
เมื่อคดีที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ข้อที่ว่าโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยหรือไม่และค่าเสียหายมีจำนวนเท่าใดยังไม่ยุติ ค่าเสียหายจึงไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จกับการเรียกร้องค่าชดเชย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แม้จะจ่ายบำเหน็จให้แล้ว
นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ซึ่งได้รรับการปลดเพราะเกษียณอายุจะได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายซึ่งบริษัท (จำเลย) มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตหรือเงินบำเหน็จมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายเป็นมูลฐานการคำนวณหนึ่งเดือนต่อจำนวนหนึ่งปีแห่งการทำงานบริบูรณ์ต่อเนื่องกันทุก ๆ ปี การทำงานให้แก่บริษัทตามแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่ากัน โดยบริษัทจะเป็นผู้ออกเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุ จำนวนเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชย โจทก์จึงเลือกรับเงินบำเหน็จและลงลายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับดังกล่าวมีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยด้วย การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไม่มีผลใช้บังคับโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัส-บำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างรับโอนจากรัฐวิสาหกิจ vs. ลูกจ้างใหม่ตามสัญญาเช่า
เงินโบนัสและเงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เช่นค่าชดเชยดังนั้น นายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจ่ายจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็ต้องแล้วแต่นายจ้างจะกำหนด หรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ โจทก์บางคนที่จำเลยรับเข้าทำงานเองมิได้มีความผูกพันอยู่กับสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งและประกาศให้ทราบแล้วว่า ให้แยกจ่ายเงินค่าครองชีพต่างหากจากเงินเดือนและค่าจ้าง ทั้งโจทก์ก็ได้ยอมรับเอาเงินโบนัสและเงินบำเหน็จไปแล้ว มิได้มีการโต้แย้งหรือเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเป็นประการอื่น จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินโบนัสหรือเงินบำเหน็จเพิ่มอีกได้
ส่วนโจทก์บางคนที่จำเลยรับโอนจากโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาเช่านั้น จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า โดยที่ขณะสัญญาเช่ายังมีผลบังคับกระทรวงการคลังได้สั่งให้รัฐวิสาหกิจที่จ่ายเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพ หรือเงินที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นำเงินดังกล่าวไปบวกรวมเข้ากับเงินเดือนค่าจ้าง และนำยอดรวมไปปรับเข้าขั้นเงินเดือนค่าจ้าง ตามบัญชีอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ที่รัฐวิสาหกิจใช้อยู่ ซึ่งเห็นว่าตามวิธีการที่กำหนดนี้ย่อมเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจดีขึ้นในการคำนวณเงินโบนัสและเงินบำเหน็จ ฉะนั้น จึงอยู่ในข้อบังคับของสัญญาเช่าอันเป็นผลให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือคำสั่งทางราชการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้โจทก์ที่จำเลยรับโอนมาจึงมีสิทธิจะให้จำเลยนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินโบนัสและเงินบำเหน็จเพิ่มอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับสงเคราะห์พนักงานเป็นสัญญาทางแรงงาน ข้อกำหนดจ่ายบำเหน็จไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว
of 9