พบผลลัพธ์ทั้งหมด 787 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดย พ.ร.ฎ.ปฏิรูปที่ดิน และผลกระทบต่อความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก: การเข้าไปในบ้านเพื่อพบภรรยาและบุตรหลังคลอด ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเข้าไปบ้านของผู้เสียหายที่ 1 เพราะต้องการจะไปหา ส. ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของจำเลยซึ่งเพิ่งคลอดจาก ส. แม้ ม. จะห้ามไม่ให้เข้าบ้านโดยอ้างว่าส. ไม่อยู่จำเลยก็ไม่ยอมฟังเพราะจำเลยไม่เชื่อว่า ส. จะไม่อยู่ในบ้านดังกล่าวการที่จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 จึงมีเหตุอันสมควรเพื่อต้องการไปหาภริยาและบุตรของจำเลย จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการบุกรุก: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน
ความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 193 ตรีแต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาไม่สุจริต อาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องกำบังร่วมกันจับกุมโจทก์เพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ให้โจทก์เกรงกลัวไม่กล้าไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของบริษัท ย. เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรีอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาความผิดต่อเสรีภาพจึงต้องห้ามตามกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดต่อเสรีภาพต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1), 92(5) มีความหมายโดยสรุปว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปจับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดในที่รโหฐานได้ต่อเมื่อมีหมายจับกุมบุคคลผู้นั้นและมีหมายค้นที่รโหฐานนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้วเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานโดยแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามระเบียบแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1),92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไปแต่ประการใดจำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ก็เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชั่งน้ำหนักพยานในคดีบุกรุก การพิจารณาจากความสัมพันธ์ของพยานและข้อเท็จจริงจากการรังวัดที่ดิน
พยานบุคคลของโจทก์นอกจากเจ้าหน้าที่ที่ดินแล้วล้วน เป็นญาติกับโจทก์ทั้งสิ้นส่วนพยานจำเลยปากฉ.ไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องเป็นญาติกับจำเลย ทั้งทนายโจทก์มิได้ถามค้าน ว่าเป็นญาติกับจำเลย คำเบิกความของฉ.จึงมีเหตุผลน่าเชื่อถือว่าคำเบิกความของพยานโจทก์ปากต่าง ๆ ที่เป็นญาติโจทก์ โจทก์เป็นชายอายุ 34 ปี จำเลยเป็นหญิงอายุ 29 ปีการที่จำเลยปลูกต้นไม้รุกล้ำที่โจทก์โดยโจทก์มิได้ห้ามปรามเพราะไม่รู้กฎหมายนั้นเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย และเมื่อทำการรังวัดที่ดินของโจทก์แล้ว ปรากฏว่าเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นจากที่ ระบุในโฉนดอีก 77 ตารางวาจึงเป็นข้อเท็จจริงที่แจ้งชัดว่าจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การพิจารณาเวลาเริ่มต้นการกระทำผิดและลักษณะความผิดต่อเนื่อง
++ เรื่อง บุกรุก ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วม โดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทนกับทำพื้นห้องพิพาทใหม่ เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3) ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วม โดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทนกับทำพื้นห้องพิพาทใหม่ เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3) ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การเริ่มต้นการกระทำความผิดและการถือครองต่อเนื่อง
จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมโดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทน กับทำพื้นห้องพิพาทใหม่นั้น เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกทำร้ายร่างกายในบ้านพักอาศัย ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นกรรมเดียวและแก้ไขโทษ
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำร้าย อ. ผู้เสียหายที่ 2ถึงในบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัยของ น. ผู้เสียหายที่ 1และผู้เสียหายที่ 2 ในเวลากลางคืน นับว่าเป็นการกระทำผิดอย่างอุกอาจ ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ทั้งจำเลยยังเลือกทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ที่ใบหน้าอันเป็นอวัยวะสำคัญการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษ การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายทั้งสองแล้ว ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีเจตนา จะกระทำการอย่างอื่น จึงต้องถือว่าจำเลยเข้าไปในบ้านของ ผู้เสียหายโดยมีเจตนาอันแท้จริงเพื่อทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้ปัญหา ดังกล่าวจะไม่มีคู่ความใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง,215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินโดยไม่มีสัญญาเช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้เช่ามีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจาก ป. ญาติของโจทก์ หรือโจทก์ที่ 1 เชิด ป.เป็นตัวแทน ดังที่จำเลยต่อสู้ การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 1ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และโจทก์ที่ 2 ผู้มีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองย่อมฟ้องขับไล่จำเลยผู้กระทำละเมิดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบุกรุก: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว และระยะเวลาการร้องทุกข์
บริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการประกอบธุรกิจขายรถจักรยานยนต์เพื่อการนำรถจักรยานยนต์ออกตั้งและแสดงแก่ประชาชนเพื่อขายในเวลากลางวันและนำรถเข้าเก็บในร้านในเวลากลางคืนย่อมเป็นกิจปกติที่ผู้มีอาชีพเช่นนั้นพึงกระทำเป็นประจำต่อเนื่องกันทุกวันดังนั้น การที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์ร่วมที่อยู่ติดกับร้านขายรถจักรยานยนต์ของจำเลยเพื่อขายในเวลากลางวันและนำเข้าเก็บรักษาในร้านในเวลากลางคืน เมื่อตามสภาพบังคับให้จำเลยต้องเคลื่อนย้ายรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมเป็นการชั่วคราวเพื่อจำเลยจะได้นำเข้าไปตั้งแสดงใหม่ในวันรุ่งขึ้นด้วยจุดประสงค์เดียวกันกับที่ได้กระทำมาแล้วในครั้งแรกหากการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นความผิดฐานบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้อง ก็เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายในฐานความผิดเดียวกันโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกัน และมีจุดประสงค์ในการกระทำความผิดเป็นอย่างเดียวกัน แม้จะมีการกระทำหลายครั้งแต่การกระทำเหล่านั้นก็เป็นเพียงการกระทำที่ยืดออกไปจากการกระทำความผิดครั้งแรกและเป็นเพียงผลของการบุกรุกที่ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว หาใช่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันแยกออกไปต่างหากไม่ ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกระทงเดียวนับแต่การกระทำความผิดครั้งแรกสำเร็จลง เมื่อความผิดฐานบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ร่วมซี่งเป็นผู้เสียหายได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2536 แต่โจทก์ร่วมเพิ่งร้องทุกข์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2537 พ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดบุกรุกเป็นกรรมเดียว อายุความ 3 เดือน - การกระทำต่อเนื่องเป็นผลของการบุกรุกครั้งแรก
จำเลยนำรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์ร่วมที่อยู่ติดกับร้านขายรถจักรยานยนต์ของจำเลยเพื่อขายในเวลากลางวัน และนำเข้าเก็บรักษาในร้านในเวลากลางคืน เป็นการเคลื่อนย้ายรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมเป็นการชั่วคราวเพื่อจะนำเข้าไปตั้งแสดงใหม่ในวันรุ่งขึ้นด้วยจุดประสงค์เดียวกันกับที่ได้กระทำมาแล้วในครั้งแรกอีก แม้จะมีการกระทำหลายครั้งแต่ก็เป็นเพียงการกระทำที่ยืดออกไปจากการกระทำความผิดครั้งแรกและเป็นเพียงผลของการบุกรุกที่ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกระทงเดียวนับแต่การกระทำความผิดครั้งแรกสำเร็จลง ความผิดฐานบุกรุกเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เดือนมีนาคม2536 แต่เพิ่งร้องทุกข์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2537 พ้นกำหนด3 เดือนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ