คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตรชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ – บุตรชอบด้วยกฎหมาย – สิทธิใช้ชื่อสกุล – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148/145
แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นจำเลยในคดีก่อนและถูกฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก แต่ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นผู้แทนของทายาท เมื่อโจทก์เป็นทายาทด้วยคนหนึ่งต้องถือว่าโจทก์ในฐานะส่วนตัวเป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย คู่ความคดีนี้และคู่ความในคดีก่อนจึงเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีก่อนมีประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์คดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นคดีนี้มีว่าจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคดีนี้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ จึงถือว่าประเด็นในคดีนี้และประเด็นในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในปัญหาว่า จำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนที่พิพากษาว่า จำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11274/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนรับบุตรเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปี และสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุตร
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มิใช่บิดาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 แต่ที่จดทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรเพราะสำคัญผิด หากเป็นจริงตามคำฟ้อง โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1554 ที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเพราะเหตุว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนนั้นมิใช่บิดา แต่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดระยะเวลาให้ฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้การจดทะเบียน และห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียน ซึ่งกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องอันเป็นอายุความที่ศาลจะยกมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตร และถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ได้ตามกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9574/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: ผู้ฟ้องต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีหลังบรรลุนิติภาวะ
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า "คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็น...คำร้องขอ..." การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจึงเป็นคำฟ้อง
ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้องขอ) ดังนั้นปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10220/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ: ฐานะบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลเมื่อใด และผลต่อการฟ้องร้อง
ในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีต่อศาลแรงงานภาค 6 โจทก์ทั้งสองยังไม่มีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ บ. ที่จะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) โจทก์ทั้งสองจึงไม่เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะเรียกร้องเงินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 มาแต่ต้น แม้ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์จะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ บ. ก็ตาม แต่ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด คือนับแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังฟ้องคดีแล้ว และถึงแม้ว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2551 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 1557 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความใหม่แทนว่า "การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด" ก็ตาม แต่ในขณะที่จำเลยมีคำสั่ง การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสองตามมาตรา 1547 นั้น กฎหมายบัญญัติให้มีผลนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของจำเลย ชอบที่โจทก์ทั้งสองจะไปดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินบำเหน็จชราภาพต่อจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์และบำเหน็จชราภาพ: การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหลังผู้ประกันตนเสียชีวิต
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่จะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ดังกล่าว คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายด้วย
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์และบำเหน็จชราภาพจากประกันสังคมสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้หลังผู้ประกันตนเสียชีวิต
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่จะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมดังกล่าว คำว่า "บุตร" จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรอันแท้จริงของ ป. โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีที่ ป. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 (2)
ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ประสงค์จะให้ผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน เพื่อเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตน ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพของ ป. ผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมายซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำ หากคดีเดิมยุติด้วยการประนีประนอมและยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีเดิม ซึ่งมีประเด็นว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีเดิมที่ว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมแล้ว ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสถานะบุตรชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากขาดอายุความ และการไม่ได้รับแจ้งการพิจารณาคดี
ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 196/2561 ที่จําเลยยื่นคําร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจําเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ไม่ได้มีการส่งสำเนาคําร้องขอ หรือหมายนัด หรือหมายเรียกให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์กับจําเลยรู้จักกันดีและติดต่อทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ กันเป็นประจำ แม้ศาลจะมีการประกาศตามระเบียบหรือข้อบังคับ ก็ไม่ใช่สื่อหรือช่องทางที่แพร่หลายอันจะทำให้โจทก์หรือประชาชนทั่วไปทราบหรือเห็นได้ การที่โจทก์ไม่ได้เข้ามาคัดค้านหรือต่อสู้ในคดีจึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ทราบจริง แต่เชื่อว่าโจทก์เพิ่งทราบว่าศาลสั่งว่าจําเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อจําเลยนําคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจําเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมาเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคําคัดค้านหรือต่อสู้ในคดีดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจําเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจําเลยคดีนี้ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจําเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 จึงเป็นกรณีที่จําเลยไม่ได้ร้องหรือฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่จําเลยบรรลุนิติภาวะ คดีจําเลยจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม จึงมีเหตุให้ถอนจําเลยจากการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
of 6