พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม vs. ทายาทลำดับหลัง การถอดถอนผู้จัดการมรดก และการพิสูจน์สิทธิ
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 3 ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 2ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม vs. ทายาทลำดับหลัง การถอดถอนผู้จัดการมรดก และอำนาจศาล
โจทก์ที่2เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ3ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วหากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกโจทก์ที่2ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่2เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้ การที่โจทก์ที่2ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่2มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้นจึงไม่ถือว่าโจทก์ที่2ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผุ้จัดการมรดกเท่านั้นการที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643 หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง
บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอม: อำนาจศาลและประมวลกฎหมายแพ่ง
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า "ศาล" ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่ง เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/21 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่มีสิทธิรับมรดก หากไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมที่ไม่จดทะเบียนหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกการรับบุตรบุญธรรมเนื่องจากถูกเหยียดหยามและถูกไล่ออกจากบ้าน
การที่จำเลยเรียกโจทก์ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมว่า อ้ายนั้นเป็นการเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง และการไล่โจทก์ออกจากบ้านก็เป็นการแสดงว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์จึงมีเหตุให้ฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1598/33(2)(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกการรับบุตรบุญธรรมจากพฤติกรรมเหยียดหยามและไม่อุปการะเลี้ยงดู
การที่จำเลยเรียกโจทก์ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมว่า อ้ายนั้นเป็นการเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง และการไล่โจทก์ออกจากบ้านก็เป็นการแสดงว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์จึงมีเหตุให้ฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 1598/33(2)(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคดีหลัง: สิทธิในมรดกของบุตรบุญธรรมที่ไม่จดทะเบียน
โจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ป.จำเลยจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น คดีนี้จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. เพราะมิใช่ทายาท