คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุริมสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือปีก่อนหน้า การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่อธิบดีอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี (กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือย้อนหลังได้หนึ่งปี การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่ได้รับการอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากรเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีผลบังคับเป็นบุริมสิทธิเมื่อใด แม้มีการอุทธรณ์ก็ไม่ทุเลาหากไม่ได้รับการอนุมัติจากอธิบดี
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง.
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505. แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร. เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร).
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์. ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด.
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ. แต่อธิบดีไม่อนุญาต. ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนอายัดที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกา โดยไม่ตั้งเงื่อนไขเพิ่มเติม แม้มีบุริมสิทธิ
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการอายัดที่ดินซึ่งศาลได้พิพากษาบังคับให้จำเลยลูกหนี้โอนขายให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขาย แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องถอนการอายัดเพื่อให้คำพิพากษามีผลบังคับตามกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะตั้งข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขในการถอนอายัดโดยให้ต้องจดทะเบียนจำนวนเงินค่าซื้อที่ดินที่ยังค้างชำระอันเป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ ตลอดทั้งห้ามผู้รับโอนนำที่ดินนี้ไปทำนิติกรรมใดๆ มิได้ นอกจากจะนำไปจัดสรรเพื่อนำเงินที่ค้างมาชำระแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิจะกระทำได้
ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อ้างว่ามีสิทธิที่จะขอให้จดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลซื้ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 273,276 ซึ่งหากไม่จดทะเบียนก็ไม่มีผลตามมาตรา 288นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อคู่สัญญามิได้ระบุให้จดทะเบียนไว้ ศาลก็มิอาจพิพากษาให้ครอบคลุมไปถึงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลย: โจทก์มีสิทธิยึดเพื่อขายทอดตลาดได้
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ถอนการยึดนั้น ยังคงเป็นของจำเลยอยู่ โจทก์ผู้ชนะคดีย่อมนำยึดเพื่อเอาขายทอดตลาดได้ เพียงแต่ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิที่จะร้องขอให้โจทก์ถอนการยึดได้ ผู้ร้องชอบแต่ที่จะร้องขอให้หักใช้หนี้ตามบุริมสิทธิของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิไม่ทำให้มีสิทธิถอนการยึดทรัพย์ของโจทก์ ผู้ร้องมีสิทธิขอหักใช้หนี้
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ถอนการยึดนั้นยังคงเป็นของจำเลยอยู่โจทก์ผู้ชนะคดีย่อมนำยึดเพื่อเอาขายทอดตลาดได้เพียงแต่ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ์ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิที่จะร้องขอให้โจทก์ถอนการยึดได้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้หักใช้หนี้ตามบุริมสิทธิ์ของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับสิทธิระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิจำนองมีลำดับก่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใด ๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกัน เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยหนี้เจ้าหนี้หลายราย: ค่าฤชาธรรมเนียมคือหนี้ธรรมดา ไม่ใช่บุริมสิทธิ
ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329นั้น หมายถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่รัฐส่วนจำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้ สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่เจ้าหนี้ได้เสียให้แก่รัฐไปแล้วนั้นแม้จะเรียกว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แต่แท้จริงก็เป็นจำนวนเงินที่ใช้แทนกันตามธรรมดา หาใช่ค่าฤชาธรรมเนียมอันลูกหนี้จะต้องเสียให้แก่รัฐไม่จึงถือได้ว่าเป็นหนี้จำนวนหนึ่งอันลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามธรรมดานั่นเอง
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคนการเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 319 ว่าเมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของ: ต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้และราคาเพิ่มขึ้นเท่านั้น
บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์กฎหมายให้มีบุริมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้น และอสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้นนั้นเป็นของลูกหนี้ กับให้มีบุริมสิทธิเพียงราคาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นดังนี้ เมื่อที่ดินที่ลูกหนี้จ้างผู้ร้องขอรับชำระหนี้ปลูกห้องแถวขึ้นนั้น ลูกหนี้ไม่ได้เป็นเจ้าของ ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ก็ไม่อาจมีบุริมสิทธิเกิดขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้องมีผลต่อสิทธิเรียกร้องของรัฐ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 บัญญัติว่าบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากร ในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วย ถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีก รัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปี ดังกล่าวเท่านั้น
of 11