พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้ ภาษีการค้า และภาษีเทศบาลของตัวแทนบริษัทต่างประเทศที่ประกอบกิจการในไทย
ภาษีเงินได้นั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติมุ่งถึงการรับตัวเงินในที่ใดเลย หากให้พิเคราะห์ถึงผลที่ว่าบริษัทในต่างประเทศนั้นได้รับเงินหรือผลกำไรในประเทศไทยหรือไม่ คำว่าเงินได้หรือผลกำไรนั้น มิใช่ตัวเงินสด บริษัทในต่างประเทศจะได้รับในทางเครดิตหรือทางอื่นใดก็ตาม ถ้าเป็นเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้วก็ย่อมอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อความในประมวลรัษฎากรที่ว่าในประเทศไทย นั้น หมายถึงกิจการที่ประกอบอันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรนั้นได้กระทำในประเทศไทย หาใช่เงินได้หรือผลกำไรที่บริษัทต่างประเทศได้รับในประเทศไทยไม่
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2504)
ข้อความในประมวลรัษฎากรที่ว่าในประเทศไทย นั้น หมายถึงกิจการที่ประกอบอันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรนั้นได้กระทำในประเทศไทย หาใช่เงินได้หรือผลกำไรที่บริษัทต่างประเทศได้รับในประเทศไทยไม่
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่มีกฎกระทรวงออกใช้
แม้ขณะจำเลยตั้งโรงงานประกอบเครื่องขีดไฟโดยไม่ได้รับอนุญาต จะยังไม่มีกฎกระทรวงออกใช้ตาม พ.ร.บ. เก็บภาษีเครื่องขีดไฟ ฯ พ.ศ. 2476 ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ เพราะตาม ม. 6, 8 แห่ง พ.ร.บ. นี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงก็เพื่อควบคุมและปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่จะขออนุญาตประกอบเครื่องขีดไฟดังบัญญัติไว้ ในมาตรา 4 นั้นเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งห้ามประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข ต้องอาศัยเทศบัญญัติและโทษปรับตามกฎหมาย
ม.8 พ.ร.บ.สาธารณสุขมิได้กำหนดให้อำนาจเทศบาลสั่งห้ามการกระทำเกี่ยวกับสุขลักษณ์โดยทั่วไป แต่ให้มีอำนาจออกเทศบัญญัติหรือข้อบังคับควบคุมได้ ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ชอบที่จะขอให้ลงโทษตาม ม.68 จะดำเนินคดีแพ่งอย่างเดียวขอให้ห้ามมิให้ผู้กระทำผิดกระทำการต่อไปไม่ได้
อำนาจสั่งห้ามผู้กระทำผิดมิให้กระทำต่อไปตาม ม.68 นั้น เป็นวิธีอุปกรณ์ของโทษปรับตาม ม.นั้นเท่านั้น
อำนาจสั่งห้ามผู้กระทำผิดมิให้กระทำต่อไปตาม ม.68 นั้น เป็นวิธีอุปกรณ์ของโทษปรับตาม ม.นั้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการแปรรูปไม้เข้าข่าย 'โรงงานแปรรูปไม้' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
จำเลยทำการแปรรูปไม้ที่ในสวนกล้วย โดยตั้งเป็นโรง 2 ห้อง ทำค้างเลื่อยให้คนเลื่อยไม่ได้ 4 คู่ ทำการเลื่อยไม้แล้วเป็นอันมาก ที่ส่งออกไปที่อื่นเจ้าพนักงานจับได้เป็นไม้กระดาน 103 แผ่น ยังมีปีกไม้อยู่ตามบริเวณโรงงานอีกกว่า 200 แผ่น ไม้เหลี่ยม 6 เหลี่ยม ไม้สักกว่า 20 ท่อน ดังนี้ ต้องถือว่าที่ทำการเลื่อยไม้ของจำเลยเป็น "โรงงานแปรรูปไม้" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ 2484 มาตรา 4(13)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครดิตฟองซิเอร์และการรับจำนอง: บริษัทต้องขออนุญาตประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้า
การวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไปเครดิตฟ้องซิเอเป็นกิจการที่เกิดขึ้นและรับรองโดยกฎหมายภาคพื้นยุโรบ จึงต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายเช่นนั้น เครติดฟ้องซิเอร์เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ซึ่งให้เครดิตการกู้ยืมเิงนหรือประโยชน์อื่นในทำนองเดียวกันโดยทั่วไปแก่บุคคลทุกชนิตไม่จำกัดฉะเพาะพวกกสิกรโดยมือสังหาริมทรัพย์เป็นประกันและไม่จำต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์นั้นเอง บริษัทจำกัดจดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ในการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการค้าการเช่นนี้เป็นเครดิตฟองซิเอร์จำต้องได้รับอนุญาต+รัฐบาลตามความในพ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้า+ฯลฯ เครดิตฟองซิเอร์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากรัฐบาลนั้นไม่มีอำนาจทำการรับจำนองและโอนที่ดินใด ๆ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกอบกิจการร้านเพลงคาราโอเกะโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ถือเป็นความผิด
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน" และ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ร้านวีดิทัศน์" หมายความว่าสถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันประกอบกิจการให้บริการร้านเพลงคาราโอเกะอันเป็นร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจอยู่ที่ร้าน ค. และได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการให้บริการเพลงคาราโอเกะดังกล่าว โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ และไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 และ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 82 ประกอบมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคสี่ ที่ว่า ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับแก่การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ที่ตั้งอยู่ในสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการนั้น ไม่นำมาใช้กับคดีนี้เพราะไม่ปรากฏในคำบรรยายฟ้องส่วนใดที่ระบุว่าร้านอาหาร ค. ของจำเลยกับพวกเป็นร้านวีดิทัศน์ที่ตั้งอยู่ในสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่ห้าม โรงงานประเภท 3 ผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน
โจทก์ระบุข้อหาของจำเลยมาในช่องฐานความผิดที่หน้าฟ้องว่า ตั้งและประกอบกิจการโรงงาน (ในท้องที่ห้ามตั้งโรงงาน) โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 12, 32 (1), 50 โดยบทบัญญัติแห่งมาตรา 50 นี้มีความว่า "ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง หรือตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 12 วรรคสอง ต้องระวางโทษ...ในกรณีที่โรงงานตามวรรคหนึ่ง เป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ใดตามประกาศที่ออกตามมาตรา 32 (1) ผู้กระทำต้องระวางโทษ..." ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำในกฎหมายว่า "โดยไม่ได้รับใบอนุญาต" มาในฟ้อง ก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์ก็ได้กล่าวมาแล้วว่า จำเลยบังอาจตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานทำการดูดทราย...โดยใช้เครื่องจักรเป็นเรือดูดทรายขนาดประมาณ 50 ถึง 60 แรงม้า 1 ลำ ทำการดูดทราย อันเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ซึ่งโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจำนวนหรือขนาดที่ไม่อาจให้ตั้งในท้องที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ และไม่เป็นโรงงานที่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ตั้งได้ โดยได้แนบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน และอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2550 ซึ่งออกตามมาตรา 32 (1) แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาท้ายฟ้องด้วย และกล่าวสรุปในตอนท้ายว่า อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเท่ากับยืนยันมาในฟ้องว่าการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ของจำเลยได้กระทำไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายนั่นเอง ไม่ใช่ไม่ชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยฝ่าฝืนต่อกฎหมายในเรื่องใดดังฎีกาของจำเลยแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14325/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยไม่ขออนุญาต และการลงโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
แม้กฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตและการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 กันยายน 2552 อันมีผลใช้บังคับนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป แสดงว่าก่อนหน้าวันที่ 29 กันยายน 2552 นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้ แต่ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 บทเฉพาะกาล มาตรา 90 บัญญัติว่า "ผู้ใดประกอบกิจการโรงภาพยนตร์หรือร้านวีดิทัศน์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเมื่อยื่นคำขอแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตจากนายทะเบียน" ดังนี้ จำเลยประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ จำเลยต้องยื่นคำขอใบอนุญาตจากนายทะเบียน มิฉะนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 53 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นเวลาก่อนหน้าที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวประกาศใช้ จำเลยย่อมไม่อาจได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามกฎหมายจากนายทะเบียนหาได้ไม่
จำเลยเปิดร้านเกมและบริการอินเทอร์เน็ตในระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่นโดยทำเป็นธุรกิจและรับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีคำขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2552 เป็นคำขอโดยอาศัยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 82 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคหนึ่ง...ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่" ความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดจากการตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งแต่ละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลย กระทำความผิดเฉพาะวันที่ 4 เมษายน 2552 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ในคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามฟ้องต่อไป เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องได้ว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก จึงไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้
จำเลยเปิดร้านเกมและบริการอินเทอร์เน็ตในระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่นโดยทำเป็นธุรกิจและรับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีคำขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2552 เป็นคำขอโดยอาศัยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 82 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคหนึ่ง...ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่" ความผิดฐานจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดจากการตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้งแต่ละคราว เมื่อหยุดประกอบกิจการแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลย กระทำความผิดเฉพาะวันที่ 4 เมษายน 2552 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ในคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ตามฟ้องต่อไป เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดให้โจทก์ยืนยันในคำฟ้องได้ว่าจำเลยยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องออกไปอีก จึงไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ กทช. ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
โครงข่ายโทรคมนาคมตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มีความหมายว่า "กลุ่มของเครื่องโทรคมนาคมที่ต่อถึงกันโดยตรง หรือโดยผ่านเครื่องชุมสายหรือเครื่องอื่นใด เพื่อการโทรคมนาคมระหว่างจุดหมายปลายทางที่กำหนดด้วยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน" กิจการโทรคมนาคมตามบทนิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมีความหมายว่า "กิจการซึ่งให้บริการส่ง การแพร่หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือการอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการโทรคมนาคมตามที่มีกฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนดให้เป็นกิจการโทรคมนาคม" การประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 คือ การให้บริการส่งตัวหนังสือ ตัวเลข หรือภาพ ทางโทรสารไปยังผู้รับในต่างประเทศ โดยจำเลยที่ 1 นำเครื่องมือ Auto Dialer ไปติดตั้งเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์และโทรสารของลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิก เมื่อสมาชิกใช้บริการจะต้องกดหมายเลขโทรศัพท์ 001 ซึ่งเป็นหมายเลขรหัสโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับในต่างประเทศ เครื่องมือ Auto Dialer จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องมือ Server ของจำเลยที่ 1 เพื่อแปลงสัญญาณเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยังเครื่องโทรศัพท์และโทรสารของผู้รับในต่างประเทศ ถือว่าเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามความหมายในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 เครื่องมือ Auto Dialer และเครื่องมือ Server ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มของเครื่องโทรคมนาคมที่ต่อถึงกันโดยผ่านเครื่องชุมสายโทรศัพท์ เพื่อแปลงสัญญาณโทรสารเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยังเครื่องโทรศัพท์และโทรสารของผู้รับในต่างประเทศก็ถือได้ว่าเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการส่งโทรสารไปยังผู้รับในต่างประเทศโดยลูกค้าผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้และมีลูกค้าเป็นสมาชิกถึงประมาณ 500 ราย ผลการประกอบกิจการนับแต่ปี 2546 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2548 ปรากฏว่ามีรายได้มากถึงประมาณ 11,000,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปจำนวนมากโดยไม่จำกัดจำนวนลูกค้าที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก จึงเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองและต้องได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามตามมาตรา 7 (3) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
มาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 กำหนดให้สิทธิแก่การสื่อสาร แห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในการที่จะประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปในระหว่างเวลาที่ กทช. ยังไม่ออกใบอนุญาตให้ จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้รับสิทธิตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวเช่นเดียวกับหน่วยงานทั้งสองย่อมจะต้องหยุดประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กทช. และจำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. แล้ว พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยังประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปนับแต่วันที่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ใช้บังคับโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องระวางโทษเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
มาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 กำหนดให้สิทธิแก่การสื่อสาร แห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในการที่จะประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปในระหว่างเวลาที่ กทช. ยังไม่ออกใบอนุญาตให้ จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้รับสิทธิตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวเช่นเดียวกับหน่วยงานทั้งสองย่อมจะต้องหยุดประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กทช. และจำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. แล้ว พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยังประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปนับแต่วันที่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ใช้บังคับโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องระวางโทษเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณา
แม้การค้าเร่และการค้าแผงลอยจะไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 7 (1) แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าและแลกเปลี่ยน จำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 1 (1) (ค) ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องนำเอกสารและหลักฐานซึ่งมีสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมคำอนุญาตด้วย เอกสารและหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลที่จะให้นายทะเบียนใช้ประกอบในการพิจารณาเท่านั้น ซึ่งการไม่ยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ตามที่มาตรา 39 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงยังมิอาจถือได้ว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในความหมายตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะทำให้ฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด