พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด/สัญญาจ้าง และการหักเงินประกันความเสียหายจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่รับฝากเงินค่าขายตั๋ว โดยสาร ได้ละทิ้งหน้าที่ไปอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับของโจทก์เป็นเหตุให้คนร้ายงัดประตูด้าน หลังตึก เข้ามางัดลิ้นชักโต๊ะ ทำงานของจำเลยและตู้ เหล็ก ลักเอาธนบัตรและเงินเหรียญของโจทก์ไปได้ เช่นนี้ โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องสองทางเมื่อสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าอากรและภาษีหลังนำเข้าสินค้า การวางประกัน และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากร ไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสม หรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสีย ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสม หรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสีย ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองครอบคลุมหนี้ทั้งปัญญาเดิมและปัญญาใหม่ สัญญาจำนองย่อมเป็นประกันหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง
จ.ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ท. สาขาชลบุรีโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน และทำสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าทรัพย์ที่จำนองเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้เงินกู้และหนี้สินอื่นใดบรรดาที่ จ. เป็นหนี้ธนาคาร ท. อยู่แล้วในขณะทำสัญญาและหนี้ต่อไปภายหน้า ต่อมา จ. ทำสัญญากู้เงินธนาคารท.สาขาศรีราชาอีก ซึ่งหนี้ที่เกิดขึ้นตามสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวล้วนแต่จ. เป็นหนี้ธนาคาร ท. ทั้งสิ้น เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง การจำนองดังกล่าวจึงเป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินด้วย ธนาคาร ท. จึงชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์ที่ จ. จำนองชำระหนี้ตนทั้งสิ้นก่อนเจ้าหนี้อื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้าม: ศาลฎีกาชี้ว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล (นำเงินมาชำระหนี้/หาประกัน) ทำให้คำอุทธรณ์ไม่รับพิจารณา แม้จะขอขยายเวลา
จำเลยอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับโดยวินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายและยื่นคำร้องขอเลื่อนการนำหลักประกันมาวางศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด10วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและสั่งในคำร้องขอเลื่อนการนำหลักประกันมาวางศาลในทำนองยกคำขอจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยวินิจฉัยในเนื้อหาของอุทธรณ์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามแต่ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องจำเลยขอขยายกำหนดเวลานำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลเป็นเหตุให้จำเลยฎีกาต่อมาได้แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นบางข้อเป็นข้อที่จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้อยู่แล้วข้ออื่นนอกนั้นก็ล้วนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลจะอนุญาตคำขอของจำเลยก็ไม่มีประโยชน์แก่คดีของจำเลยเพราะในที่สุดจะไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามไปได้ศาลฎีกาย่อมพิพากษายืนให้ขยายระยะเวลาให้ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลิกสัญญาซื้อขายและการริบเงินประกัน ย่อมตัดสิทธิในการเรียกร้องเบี้ยปรับรายวัน
จำเลยทำสัญญาขายเครื่องมือทดสอบคุณภาพสีให้โจทก์สัญญาข้อ8มีว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและสัญญาข้อ9มีว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ8ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง(0.2)ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนในระหว่างที่มีการปรับถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาตามข้อ8นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในกรณีจำเลยไม่ส่งมอบของหรือส่งมอบไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนและมีสิทธิริบเงินประกันที่จำเลยวางไว้รวมทั้งมีสิทธิที่จะซื้อของจากผู้อื่นและเรียกราคาที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยแต่ถ้าครบกำหนดเวลาแล้วโจทก์ไม่เลิกสัญญาและยินยอมให้จำเลยนำสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญามาส่งให้แก่โจทก์โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง(0.2)ของราคาสิ่งของนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยนำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วนเมื่อจำเลยไม่ส่งสิ่งของให้แก่โจทก์เลยโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบเงินประกันตามสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ8แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญา9ข้อได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่เป็นหลักฐานผูกพัน ชำระหนี้ได้ แม้จะอ้างเป็นประกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยให้การว่าได้ออกเช็คให้โจทก์ถือไว้เป็นประกันในการที่จำเลยกู้เงินโจทก์มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ ดังนี้ แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ เพราะการที่จำเลยกู้เงินโจทก์ และสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ไว้เป็นประกัน ย่อมเป็นการออกเช็คโดยมีมูลหนี้มาจากการกู้เงินและมีเจตนาที่จะผูกพันบังคับชำระหนี้กันได้ตามกฎหมาย เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ลงวันที่อันเป็นการกำหนดเวลาไว้แน่นอนแล้วว่า ให้ผู้ทรงเช็คนำไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินได้ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป ที่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงกับโจทก์ไว้ว่าไม่ให้นำเช็คไปขึ้นเงินนั้น จึงขัดกับข้อความในเช็คทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งได้ออกเช็คไว้เป็นประกันนั้น ได้ระงับไปแล้วทั้งหมดหรือบางส่วนแต่อย่างใด จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904,989 กรณี หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ คดีไม่มีประเด็นที่คู่ความจะต้องสืบพยานกันอีกต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งงดสืบพยาน แล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันการจำนองเพื่อไถ่ถอน มิใช่การชำระหนี้ล่วงหน้า จึงต้องคิดดอกเบี้ย
ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดจำเลยที่3นำเงินจำนวนสองล้านบาทไปวางไว้กับโจทก์เป็นประกันการจำนองที่ดินเพื่อไถ่จำนองเอาโฉนดคืนไปและตกลงว่าถ้าจำเลยที่3แพ้คดีก็ยอมให้โจทก์นำเงินสองล้านบาทหักชำระหนี้ได้การวางเงินดังกล่าวจำเลยที่3มีความประสงค์เพียงขอเปลี่ยนหลักทรัพย์โฉนดที่ดินที่วางเป็นประกันหนี้โดยใช้เงินทดแทนมิใช่การวางเงินโดยยอมรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา136วรรคแรกและถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้ล่วงหน้าต่อมามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่แพ้คดีจำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จการที่จำเลยที่3คำนวณดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันวางเงินจึงไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากเงินจำนวนสองล้านบาทดังกล่าวก็เป็นข้ออ้างที่จำเลยที่3คิดว่าเสียเปรียบจะนำมาหักล้างการชำระหนี้ตามกฎหมายไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิสูจน์ฐานะเจ้าหนี้มีประกันจากคำพิพากษาและการบังคับจำนอง
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างคำพิพากษาของศาลเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเสียค่าธรรมเนียมยื่นคำขอรับชำระหนี้ 25 บาท เท่ากับอัตราค่ายื่นคำขอรับชำระหนี้อย่าง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าหนี้อ้างส่งสัญญาจำนองทรัพย์สินระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ที่ 5 ก็ตาม แต่เมื่อคำพิพากษาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้มีการบังคับจำนอง เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมอยู่ด้วยเช่นนี้ เจ้าหนี้ คงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(8) เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมกู้ยืมเงินและการสลักหลังเช็ค/ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันการเล่นหุ้น ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพันมิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: ขอบเขตการขอให้วางทรัพย์/ประกันในคดีฟ้องแย้ง
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น ๆ จะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษากรณีที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินนี้มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สิน หรือสิทธิ หรือประโยชน์อันจำเลยจะร้องขอเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจะขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้และ จะขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้