คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแรงงานสัมพันธ์ และการสืบพยานประกาศ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ ประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้น มีผลบังคับอย่างกฎหมาย และประกาศดังกล่าวก็รับกันโดยปริยายว่าได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงประกาศนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงราคาขายสุกรชำแหละตามประกาศคณะกรรมการกลางฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาสูงสุดที่กำหนด หากขายตามป้ายที่แสดง
จำเลยทราบประกาศคณะกรรมการกลางป้องกันการค้ากำไรเกินควร ให้ผู้ขายปลีกสุกรชำแหละติดป้ายแสดงราคาไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ขาย และกำหนดราคาขายปลีกห้ามมิให้ขายเกินกว่าราคาสูงสุดที่กำหนดไว้ คือ ห้ามขายเนื้อแดงเกินกิโลกรัมละ 24 บาท เนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 15 บาท มันแข็งและมันเปลวเกินกิโลกรัมละ 14 บาท จำเลยได้ปิดป้ายไว้โดยเปิดเผยในสถานที่ขายแสดงราคาขายเนื้อแดงกิโลกรัมละ 20 บาท เนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 13 บาท มันแข็งมันเปลวกิโลกรัมละ 12 บาท อันเป็นป้ายแสดงราคาเก่าซึ่งใช้มา 1 ปีเศษแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่ทางราชการกำหนดราคาสูงสุดไว้ตามนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงป้ายตามราคาสูงสุดที่ทางราชการกำหนดใหม่ ดังนี้ ป้ายแสดงราคาขายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นป้ายแสดงราคาสูงสุดที่ทางการกำหนดไว้ให้ขายได้ เพียงแต่เป็นป้ายแสดงราคาที่จะต้องขายตามราคาที่ปรากฏอยู่ในป้ายที่ปิดแสดงไว้เท่านั้น ก็ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 8(2),17
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงราคาขายสุกรชำแหละตามประกาศคณะกรรมการกลางฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาสูงสุดที่กำหนด เพียงแต่แสดงราคาที่ขายจริงได้
จำเลยทราบประกาศคณะกรรมการกลางป้องกันการค้ากำไรเกินควร ให้ผู้ขายปลีกสุกรชำแหละติดป้ายแสดงราคาไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ขาย และกำหนดราคาขายปลีกห้ามมิให้ขายเกินกว่าราคาสูงสุดที่กำหนดไว้ คือ ห้ามขายเนื้อแดงเกินกิโลกรัมละ 24 บาทเนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 15 บาท มันแข็งและมันเปลวเกินกิโลกรัมละ 14 บาท จำเลยได้ปิดป้ายไว้โดยเปิดเผยในสถานที่ขายแสดงราคาขายเนื้อแดงกิโลกรัมละ 20 บาท เนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 13 บาทมันแข็งมันเปลวกิโลกรัมละ 12 บาท อันเป็นป้ายแสดงราคาเก่าซึ่งใช้มา 1 ปีเศษแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่ทางราชการกำหนดราคาสูงสุดไว้ตามนั้นไม่เปลี่ยนแปลงป้ายตามราคาสูงสุดที่ทางราชการกำหนดใหม่ ดังนี้ ป้ายแสดงราคาขายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นป้ายแสดงราคาสูงสุดที่ทางการกำหนดไว้ให้ขายได้ เพียงแต่เป็นป้ายแสดงราคาที่จะต้องขายตามราคาที่ปรากฏอยู่ในป้ายที่ปิดแสดงไว้เท่านั้น ก็ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 8(2),17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเตือนหนี้และการปิดประกาศทวงหนี้ไม่เป็นความผิดอาญา หากเป็นการเตือนหนี้ตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 1, 2 อยู่ ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ซึ่งจำเลยที่ 1, 2 จะต้องเตือนให้โจทก์ที่ 1 ชำระก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรก จึงจะมีสิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ได้ โจทก์ที่ 1 ไปทำงานที่อื่น จำเลยที่ 1, 2ไม่มีโอกาสเตือนให้ชำระหนี้ได้ เมื่อไปทวงหนี้จากโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็ไม่ยอมชำระ เมื่อมีหนังสือเตือนให้โจทก์ที่ 1 ชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ไม่มีผู้ใดรับจำเลยที่ 2 ไปทวงหนี้จากโจทก์ที่ 2 อีก และบอกว่าหากไม่ชำระให้จะเอาประกาศปิดให้เสียชื่อเสียง โจทก์ที่ 2 กลัว จึงรับปากว่าจะชำระ แต่แล้วก็ไม่ชำระให้ จำเลยที่ 1, 2 จึงมอบให้จำเลยที่ 3ผู้เป็นทนายความทำประกาศบอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้แล้วให้จำเลยที่ 4 นำไปให้ตำรวจปิดในที่เปิดเผย 3 แห่งการที่จำเลยที่ 2 บอกโจทก์ที่ 2 ว่าหากไม่ชำระหนี้จะปิดประกาศทวงหนี้ก็ได้ การทำประกาศบอกกล่าวให้ชำระหนี้ไปปิดไว้ก็ดีเป็นการเตือนให้โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคแรก ทั้งข้อความก็ตรงกับความจริงไม่มีข้อความอันเป็นการใส่ความ หรือดูหมิ่นโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 84, 86, 309,326, 328, 337, 338, 392, 393 ดังที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อบุคคลภายนอก: หลักสันนิษฐาน & การพิสูจน์ความสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้นต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าเมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างลูกจ้าง: ประกาศคุ้มครองแรงงานไม่ได้ห้ามการบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 30 ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ที่ระบุว่า 'ในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างจะนำหนี้อื่นมาหักมิได้ นั้นหมายถึงห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้างหรือบุคคลอื่นมาหักกับค่าจ้างฯลฯ ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น ไม่ได้ระบุห้ามไม่ให้เงินค่าจ้างอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่ศาลออกหมายอายัดเงินค่าจ้างของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องตามคำขอของโจทก์นั้นจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวง การรับสารภาพของผู้ต้องหา และข้อต่อสู้เรื่องความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรค 2, 4และมาตรา 20 แสดงว่าวิธีพิจารณาของศาลแขวงนั้น ต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จไปโดยเร็ว ทั้งการฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้นกฎหมายก็มิได้เคร่งครัดเหมือนการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษรตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1121/2502
คดีที่เสนอคำฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ที่สั่งห้ามมิให้นำน้ำแข็งเข้ามาในเขตท้องที่โดยอ้างประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรเรื่องห้ามนำน้ำแข็งนอกเขตจังหวัดเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดซึ่งเป็นประกาศที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรงมาแต่เพียงฉบับเดียวเมื่อศาลสอบถาม จำเลยก็คงรับสารภาพผิดเช่นเดียวกับที่รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยพอเข้าใจข้อหาอันเป็นความผิดได้ดีแล้ว จำเลยจะกลับโต้เถียงมา ในฎีกาว่าประกาศฉบับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศคณะกรรมการฯ มิใช่กฎหมาย จึงไม่ลบล้างความผิดที่กระทำไปแล้ว แม้มีประกาศยกเลิกภายหลัง
ประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวที่ออกโดยอาศัยความตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวมิใช่กฎหมาย ดังนั้น แม้ในระหว่างพิจารณาคดีจะได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมตามประกาศฉบับแรก ก็ไม่มีผลลบล้างการกระทำซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด และกรณีไม่ต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศคณะกรรมการฯ มิใช่กฎหมาย จึงไม่ลบล้างความผิดที่กระทำไปแล้ว แม้มีประกาศยกเลิกภายหลัง
ประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวที่ออกโดยอาศัยความตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวมิใช่กฎหมาย ดังนั้น แม้ในระหว่างพิจารณาคดีจะได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมตามประกาศฉบับแรก ก็ไม่มีผลลบล้างการกระทำซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด และกรณีไม่ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้ประกาศเป็นองค์ความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศห้ามขนย้ายข้าว โจทก์ต้องพิสูจน์จำเลยทราบประกาศ
การที่จะเอาความผิดแก่จำเลยในกรณีฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวนั้น การที่จำเลยได้ทราบประกาศของคณะกรรมการดังกล่าวหรือไม่ ย่อมเป็นองค์ความผิดอยู่ด้วย โจทก์มีหน้าที่จะต้องสืบให้ได้ความว่าจำเลยได้ทราบประกาศนั้นแล้ว ลำพังแต่ได้ความว่าประกาศดังกล่าวได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วหาเพียงพอที่จะถือว่าได้รู้ถึงประชาชนแล้วไม่ เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบประกาศแล้ว จำเลยจงใจฝ่าฝืน กรณีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลย (อ้างฎีกาที่ 1176/2492)
of 18