พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง: หนี้จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
คำว่าหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง เช่นหนี้เงินกู้จากนายจ้าง เป็นต้น กรณีหนี้ที่ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้แก่นายจ้างเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อื่นที่นายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาทดลองงานและข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกค้าประจำรายวันทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานขับรถ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวทดลองปฏิบัติงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ นายจ้างต้องจ่ายร้อยละ 15 ต่อระยะเวลา 7 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ: ศาลยืนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดอัตราเงินเพิ่มรายเจ็ดวัน มิใช่รายปี
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15ต่อปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มจากค่าจ้างค้างชำระ นายจ้างต้องจ่ายร้อยละ 15 ต่อระยะเวลา 7 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยจงใจผิดนัดจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวัน มิใช่ร้อยละ 15 ต่อปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ลูกจ้างทำงานในเวลาพักกลางวันช่วงเทศกาล ถือมิได้เป็นเหตุยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชม โดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00 น.ถึง 17.00 น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง 12.00 น. ถึง 13.00 น. การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว การที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่ คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยไม่ตักเตือน ต้องพิจารณาความร้ายแรงของเหตุและปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยเป็นบริษัทรับจ้างเฝ้ายามตามสถานที่ต่างๆโจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยได้รับคำสั่งให้ไปอยู่เวรที่โรงแรมขณะอยู่เวรโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเพราะเหตุน้อยใจที่ถูกผู้จัดการรักษาความปลอดภัยของโรงแรมต่อว่านั้นแม้จะถือว่าเป็นการีฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างและเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวก็มิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรงโดยนายจ้างไม่จำต้องตักเตือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้โดยไม่ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับพนักงานขับรถ: การคำนวณอัตราการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงาน ไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม งานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงหรือวันละ 9 ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา 6.00 นาฬิกา เลิกงาน18.00 นาฬิกาเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก 1 ชั่วโมง และเวลาทำงานปกติ 9 ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ 2 ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่ 2 ชั่วโมงนั้น จำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วย กล่าวคือ เมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้ว จึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ 2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนระยะเวลา 12 ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อ 47(3)นั้นเองมิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใดๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้นๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ 47(3) เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่ การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคี ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น แม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3)
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)หรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อ47(3)นั้นเองมิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใดๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้วจะต้องถือว่าการกระทำนั้นๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ47(3)เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้างไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคีขาดประสิทธิภาพในการทำงานจนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นแม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(3)ไม่.