คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประทานบัตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ถือประทานบัตรต่อการขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มิได้รู้เห็นโดยตรง
ศาลพิพากษาริบแร่ดีบุกของกลาง ผู้ร้องเป็นผู้ถือประทานบัตรเป็นเจ้าของแร่ ลูกจ้างของผู้ร้องขนแร่โดยไม่มีใบอนุญาตขนแร่ ซึ่งผู้จัดการของผู้ร้องใช้ให้ทำ เท่ากับผู้ร้องยอมรับรู้ในกิจการที่ผู้จัดการดำเนินการเกี่ยวกับเหมืองแร่ ผู้ร้องอ้างว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยไม่ได้ ศาลไม่คืนแร่แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมิน
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน" ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน"ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่และการคุ้มครองสิทธิจากการบุกรุก รวมถึงประเด็นอายุความฟ้องร้อง
เดิมบิดาโจทก์ได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ในที่พิพาทบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ได้รับมรดกสิทธิตามประทานบัตรโดยถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2499 ประทานบัตรนี้สิ้นอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2507 วันที่ 9 มกราคม 2507 โจทก์ขอต่ออายุ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ต่ออายุประทานบัตรให้โจทก์12 ปีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2507 เป็นต้นไปประทานบัตรของโจทก์จึงมิได้ขาดต่ออายุ จำเลยอ้างว่าพ. เข้าแผ้วถางปลูกพืชพันธ์ในที่พิพาทอยู่ 9 ปีแล้วขายให้จำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2513 ดังนี้สิทธิของโจทก์ตามประทานบัตรจึงมีอยู่ก่อน พ. เข้าไปยึดถือครอบครอง และขณะฟ้องโจทก์ก็ยังมีสิทธิตามประทานบัตรนั้นอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาท โจทก์เสียภาษีและค่าธรรมเนียมประทานบัตรตลอดมา จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นผลอาสินทำรั้วในที่พิพาท ขอให้ขับไล่ ฟ้องเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ด้วย
พ. ผู้ที่จำเลยอ้างว่าได้ขายหรือมอบที่พิพาทให้จำเลยก็ดี จำเลยก็ดีเข้าไปปลูกต้นผลอาสิน สร้างรั้ว หรืออาคารลงในที่พิพาท เป็นการยึดถือครอบครองในเขตพื้นที่ประทานบัตรของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีสิทธิที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของโจทก์ผู้ถือประทานบัตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
การได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินเขตประทานบัตร กรณีไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกคืนสิทธิครอบครองจากผู้แย่งการครอบครองจะนำเอาสิทธิฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ต้องปรับด้วยอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 และการพ้นอายุความก็ต้องนับแต่มีการบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่พิพาท เมื่อจำเลยเข้าไปครอบครองที่พิพาทยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับบุคคลภายนอกคดีและการแสดงสิทธิในที่ดิน กรณีประทานบัตรทับซ้อน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยกันที่ดินของโจทก์ออกจากเขตประทานบัตร โดยให้ทรัพยากรธรณีจังหวัดตะกั่วป่าเป็นผู้ทำการรังวัดเช่นนี้เป็นการขอให้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่คู่ความในคดีศาลไม่อาจบังคับให้ได้ แต่ที่โจทก์ขอมาเช่นนั้นก็เพื่อขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และแสดงว่าจำเลยไม่มีสิทธิในประทานบัตรในส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ ศาลจึงพิพากษาคดีไปดังนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำเหมืองแร่ vs. สิทธิครอบครองที่ดิน: ประทานบัตรไม่สร้างสิทธิในที่ดิน การครอบครองโดยชอบธรรมมีน้ำหนักกว่า
ประทานบัตรที่โจทก์มีอยู่เดิมนั้นออกโดยพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 ซึ่งมาตรา 51 บัญญัติว่า ประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่ได้ให้อำนาจแก่ผู้ถือประทานบัตรหวงห้าม หรือถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้นเลย คงเพียงให้ขุดล้างแร่ได้เท่านั้น แม้โจทก์จะเคยได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในเขตที่ดินอันรวมถึงที่พิพาทด้วย แต่โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเกินกำหนดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรณีจึงสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ และแนะนำให้โจทก์ยื่นขอประทานบัตรใหม่ การขอประทานบัตรใหม่โดยยังมิได้รับประทานบัตรนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท เท่ากับโจทก์ยื่นเรื่องราวขออนุญาตทำเหมืองแร่ใหม่เหมือนบุคคลทั่ว ๆ ไป เมื่อได้ความว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยได้มาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ.2492 ได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2493 จำเลยได้แจ้งการครอบครองและทางการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยแล้ว จำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาทุกปี ปลูกข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา กรีดน้ำยางได้มา 10 ปีเศษแล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ และย่อมมีสิทธิคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ว่าประทานบัตรที่โจทก์ขอใหม่นั้นทับที่ของจำเลยซึ่งครอบครองและมี น.ส.3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยและขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านนั้น
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำเหมืองแร่ vs. สิทธิครอบครองที่ดิน: ประทานบัตรไม่สร้างสิทธิในที่ดิน การต่ออายุประทานบัตรล่าช้าทำให้สิทธิทำเหมืองแร่สิ้นสุด
ประทานบัตรที่โจทก์มีอยู่เดิมนั้นออกโดยพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 ซึ่งมาตรา 51 บัญญัติว่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่ได้ให้อำนาจแก่ผู้ถือประทานบัตรหวงห้าม หรือถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้นเลยคงเพียงให้ขุดล้างแร่ได้เท่านั้นแม้โจทก์จะเคยได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในเขตที่ดินอันรวมถึงที่พิพาทด้วยแต่โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเกินกำหนดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรณีจึงสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ และแนะนำให้โจทก์ยื่นขอประทานบัตรใหม่ การขอประทานบัตรใหม่โดยยังมิได้รับประทานบัตรนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิใดๆ ในที่พิพาทเท่ากับโจทก์ยื่นเรื่องราวขออนุญาตทำเหมืองแร่ใหม่เหมือนบุคคลทั่วๆ ไปเมื่อได้ความว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยได้มาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ.2492 ได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2493 จำเลยได้แจ้งการครอบครองและทางการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยแล้ว จำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาทุกปีปลูกข้าว มันสำปะหลังและยางพารา กรีดน้ำยางได้มา 10 ปีเศษแล้วดังนี้จำเลยย่อมมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ และย่อมมีสิทธิคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ว่าประทานบัตรที่โจทก์ขอใหม่นั้นทับที่ของจำเลยซึ่งครอบครองและมี น.ส.3 แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยและขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านนั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ การรับช่วงทำเหมือง และสิทธิครอบครองที่ดิน
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่าที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตรเป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตรแต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้นหากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นการชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาทเว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเอง ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงทำเหมืองและสิทธิในที่ดิน: สัญญาเช่าประทานบัตร มิใช่การโอนประทานบัตร แต่เป็นการรับช่วงที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่า ที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1 คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตร เป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตร แต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461. เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตร ยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้น การชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868-1869/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่เป็นการฉ้อฉล หากลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น ย่อมมีความหมายว่าลูกหนี้ได้กระทำให้กองทรัพย์สินของตนลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ได้ การที่จำเลยนำทรัพย์สินและสิทธิตามประทานบัตรไปร่วมลงทุนเป็นหุ้นในบริษัทผู้ร้องโดยตีราคาเป็นค่าหุ้นของจำเลยเป็นจำนวนเงินซึ่งมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ที่มีอยู่ต่อโจทก์ หาทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ เพราะจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินพอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์อยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการฉ้อฉล
of 11