พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องแสดงการยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ชัดเจน จึงจะชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทปลูกในที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ขอศาลอนุญาตให้เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคหนึ่งคำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแต่คำร้องสอดหาได้แสดงเช่นที่กล่าวมาแล้วไม่ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ ศาลไม่รับคำร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่สำนักทำการงานของจำเลยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74นั้น ให้ปฏิบัติดังนี้ (2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น ดังนั้น การ ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยเจ้าพนักงานศาลจึงไม่จำเป็นต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น แต่อาจส่งให้แก่จำเลย ณ สำนักทำการงานของจำเลยได้ บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัทอ.ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าว ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัด ฟัง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างความถูกต้องของสัญญาซื้อขาย ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญากู้ยืมไม่ใช่สัญญาซื้อขายนั้นไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาซื้อขายไม่ถูกต้องจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: เหตุผลความจำเป็นและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ด วันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 บัญญัติว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีฉะนั้นเมื่อคำร้อง ของ จำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกิน 50,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้มีเพียง 28,466.60 บาท เมื่อโจทก์รับว่าเป็นหนี้จำเลยจำนวน 39,342 บาท และขอหักกลบลบหนี้ จำเลยจึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้องจำนวน 63,174.41 บาท จึงมีจำนวนหนี้ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 34,707.80 บาท ไม่ใช่จำนวน 63,174.41 บาท ถือได้ว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ไม่ได้รับการแจ้งนัดโดยตรง แต่ทราบวันนัดโดยชอบ
ศาลชั้นต้นกำหนดนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 พฤศจิกายน 2538 เวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อถึงกำหนดทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 มกราคม 2539เวลา 9 นาฬิกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์และทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง และเมื่อฝ่ายจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าตนต้องการจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ฯลฯ นั้น มิได้ หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบจริง ๆ เท่านั้นแต่หมายความรวมถึงกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วด้วย เช่น กรณีที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานออกไป และโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบอีก โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยเสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วโจทก์ไม่มาศาล โจทก์จึงขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ จึงเป็นการ สั่งตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกและบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวยังห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ดังนี้ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ว่าจงใจขาดนัดหรือไม่อีก เพราะการไต่สวนไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีราคาทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ7ตารางวาเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของช. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียวโจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมาแต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน1,200,000บาทดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การและการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ฟ้องแย้งและการคำนวณค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิดจำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้งจำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้ง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโจทก์ทั้งสามจะนำค่าเสียหายในอนาคตสัปดาห์ละ2,000บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามาคำนวณด้วยไม่ได้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามคงมีจำนวน104,000บาทซึ่งมีจำนวนไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา248วรรคหนึ่ง