คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสมณเพศโดยเจ้าพนักงานตำรวจและการขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การสละสมณเพศเพราะถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญามีได้ 3 กรณี คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่งหรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้อีกกรณีหนึ่ง ในคดีก่อนที่จำเลยถูกจับกุมในข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง พนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และพาจำเลยไปที่วัด บ. เพื่อให้จำเลยสึกแต่จำเลยไม่ยอมสึก และเจ้าอาวาสวัด บ. ก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปที่สถานีตำรวจและจัดให้จำเลยลาสิกขาบทต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจ ดังนี้ จำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุเนื่องจากจำเลยไม่สมัครใจลาสิกขาบทและการดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศกระทำโดยพลการของเจ้าพนักงานตำรวจ เมื่อจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อพ้นจากการคุมขังโดยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36: ระยะเวลาคำขอและการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
กำหนดเวลา "หนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หมายถึงกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับแต่คดีเรื่องนั้นถึงที่สุด โดยเริ่มนับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบของกลาง แล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ และแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในเรื่องริบของกลางแต่จำเลยยังอุทธรณ์เรื่องขอให้รอการลงโทษจำคุกอยู่ คดียังไม่ถึงที่สุด
เหตุเกิดในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลบังคับ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์อยู่ จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องขอคืนของกลางได้การที่ผู้ร้องยังมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนไปจากผู้ร้องและจะถือว่าผู้ร้องทำไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ซึ่งตามทางนำสืบก็มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการปฏิบัติงานเจ้าพนักงาน-ใช้กำลังประทุษร้าย แม้มิเจตนาทำร้ายร่างกาย ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138
การที่จำเลยใช้มือผลักและใช้ตัวดันเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าพนักงานตำรวจไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีหน้าที่และกำลังตรวจค้นเพื่อรวบรวมสิ่งของที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่มีการกล่าวหาหรือที่เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ใช้มือผลักเจ้าพนักงานตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุมาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐานนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการผลักและดันของจำเลยว่าเป็นการทำอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของเจ้าพนักงานตำรวจได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาโดยประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุตัวผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390
ความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เป็นความผิดเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบ ความสงบสุขและความปลอดภัยแก่ประชาชนและเป็นความผิดที่ไม่มีผู้ถูกกระทำ ถือว่าเป็นการกระทำต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ สำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 อันเป็นความผิดลหุโทษนั้น ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้เสียหายเพราะมิใช่เป็นผู้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจจากการกระทำความผิดฐานนี้ แต่ อ. เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานดังกล่าวทั้งตามคำร้องก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลของ อ. ซึ่งอยู่ในความดูแลอันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 3(2) ประกอบด้วยมาตรา 5(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในรถโดยไม่รื้อค้นถือว่าผ่านสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตามแต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไปถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามป.อ.มาตรา 335(3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากความเสียหายฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา ต้องใช้ อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยหาว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปบังคับคดีและสั่งให้คนงานรื้อถอนทำลายแนวรั้วของโจทก์โดยจำเลยรู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและทำให้เสียทรัพย์รวมกันมา โจทก์จึงอาศัยมูลคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งฐานละเมิดได้ โดยไม่ต้องวินิจฉัยว่าความเสียหายเกิดจากการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จด้วยหรือไม่ เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการหากระทบกระเทือนถึงอายุความในการฟ้องคดีแพ่งด้วยไม่ เมื่อมูลคดีนี้ไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทางอาญาจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหง: การกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
ผู้ตายเมาสุรามากกลับมาบ้าน ผู้ตายเอะอะหาเรื่องจำเลยหลายเรื่อง และกล่าวหาว่าจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อน จำเลยวิ่งไป บ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน มีผู้ตายถือมีดวิ่งติดตามไป จำเลยต้องหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา ผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับบ้าน ปิดบ้านล็อกกุญแจนอน ต่อมาจำเลยกลับบ้าน แอบมองทางรอยแตกเห็นผู้ตายหลบอยู่ จึงใช้ลูกกุญแจไขเปิดประตูหน้าบ้านเข้าไป แล้วจำเลยใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำการที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลย นับว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภริยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ ดังนี้ เมื่อจำเลยเกิดความโกรธ คือบันดาลโทสะ และจำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีเมื่อกลับมาถึงบ้านและพบผู้ตาย อันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ จึงตกอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ว่าจำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง และการรวมโทษหลายกรรม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณระยะเวลาจำคุกว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนการที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุกของจำเลยซึ่งศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุก 6 เดือน รวม 2 ข้อหา และลงโทษจำคุก 3 เดือน อีกหนึ่งข้อหารวมกันเป็นจำคุก 1 ปี 3 เดือน จึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย ต้องรวมทุกข้อหาแล้วลงโทษจำคุกจำเลย 15 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(4)
ผู้เสียหายทั้งสองถูกจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันใช้มีด ขวดเบียร์ และไม้ ฟันแทง ตี จนได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะสำหรับที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตรต้องเย็บถึง 100 เข็ม ซึ่งบาดแผลดังกล่าวหลังเกิดเหตุ 20 วัน สามารถมองเห็นได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นปกติได้แต่จะจางลง วันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความเป็นพยานโจทก์ห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4)
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกับพวกกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง ตามเอกสารใบชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่า ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะ สำหรับบาดแผลที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และขนาดยาว 5 เซนติเมตร บาดแผลที่ใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 ถูกขวดเบียร์แตกที่ก้นขวดแทง ต้องเย็บถึง 100 เข็ม หลังเกิดเหตุ 20 วัน ก็ยังสามารถมองเห็นบาดแผลดังกล่าวได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นเนื้อปกติได้ แต่จะจางลง และในวันที่ศาลชั้นต้นดูรอยแผลเป็นของผู้เสียหายที่ 2 เป็นวันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ 8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดย่อมฟังได้ว่า แผลที่ใบหน้าด้านซ้ายของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297(4) แล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,295,297(4) และให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4) ประกอบ มาตรา 83 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90
of 76