คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลรัษฎากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษของพนักงานที่ยังไม่ได้จ่ายจริง ถือเป็นเงินสำรองตามประมวลรัษฎากร ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ตามระเบียบสำหรับพนักงานของโจทก์ เงินบำเหน็จพิเศษไม่มีลักษณะเป็นกองทุนเพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบ แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงานเพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอนเงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่ การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ 6 เดือน มาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงานและบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานจึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง เงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) ซึ่งบัญญัติมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ได้ขอให้ศาลพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมากล่าวในคำขอท้ายฟ้องอีก ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยซ้ำซ้อนจากเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ลูกหนี้จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร โดยพิจารณาจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้น คือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ 2 ราย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินชำระหนี้ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 79
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลง นับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้ว ถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า 'ขาย' ว่า 'หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย'
แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วน มิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคาร ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเอง หนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า จึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินชำระหนี้ธนาคาร ถือเป็นการขายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการการที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลงนับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้วถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา77ซึ่งให้ความหมายของคำว่า"ขาย"ว่า"หมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝากแลกเปลี่ยนให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย" แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วนมิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการการที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเองหนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าจึงเป็นรายรับตามป.รัษฎากรมาตรา79อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขประมวลรัษฎากรปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี 2527 นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี และเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงินทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ (อ้างฎีกาที่ 580/2506 และ 793/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร ปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะป.รัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ด้าย' ในประมวลรัษฎากร และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกินสิทธิ
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า ฯ บัญชี 2 หมวด 2 (9) ระบุว่า 'ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้า ไม้ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใด' นั้น หมายความว่า สิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นด้ายโดยไม่ว่าผลิตจากอะไร ใช้ทอผ้าได้โดยผ้าที่ทอนั้นเป็นสินค้านำออกขายเกิดรายรับเพื่อเสียภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้าได้แล้ว ย่อมเป็นด้ายตามความหมายดังกล่าว ดังเมื่อสินค้าเส้นใยประดิษฐ์ พี.โอ.วาย ของโจทก์โดยปกติในทางการค้าไม่มีการนำไปใช้ทอผ้า และแม้อาจนำไปทอเป็นผ้าในห้องทดลอง ผ้าที่ทอนั้นก็ขาดคุณสมบัติจำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้ สินค้าเส้นใยประดิษฐ์ พี.โอ.วาย ของโจทก์จึงไม่ใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้า ไม่ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใดตามความหมายที่ระบุในบัญชี 2 หมวด 2(9) โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตาม มาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว.
เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีสุขาภิบาลตามกฎหมาย แต่จำเลยได้รับชำระค่าภาษีจากโจทก์ไว้โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บ จำเลยจึงมีหน้าที่คืนเงินภาษีนั้นแก่โจทก์ จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2523 ยืนยันว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าและปฏิเสธไม่คืนเงินภาษีที่เรียกเก็บให้แก่โจทก์ จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับแต่วันดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินส่วนตัวที่ได้รับมรดกและไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
บิดามารดาโจทก์ประกอบอาชีพค้าขายมีโรงสีและฐานะร่ำรวยได้สะสมทรัพย์สินจำพวกเครื่องเพชรพลอย ทองรูปพรรณและของมีค่าอื่นไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมารดาตาย ทรัพย์สินจำพวกดังกล่าวตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรสาวเพียงคนเดียว ระหว่างสงครามโลกโจทก์ค้าขายเหล็กได้กำไรมาก จึงซื้อเพชรพลอยและของมีค่าเก็บสะสมไว้แทนเงินสดซึ่งโจทก์ได้ใช้เป็นเครื่องประดับกายและประดับบ้าน โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ต่อมา พ.ศ. 2515 ถึง 2517 โจทก์ต้องการเงินไปขยายกิจการจึงขายทรัพย์สินเครื่องใช้ส่วนตัวจำพวกเพชรพลอยและของมีค่าไปล้วนเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าในการซื้อขายจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งประมวลรัษฎากรก็มิได้บัญญัติว่าการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรอันได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ผู้มีเงินได้จะต้องจัดทำบัญชีหรือแจ้งรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้โจทก์ไม่มีเอกสารเป็นหลักฐาน เมื่อเงินที่โจทก์นำมาซื้อที่ดินและลงทุนเข้าหุ้นในห้างหุ้นส่วนบริษัทระหว่างพ.ศ.2515 ถึง 2517 โจทก์ได้มาจากการขายทรัพย์สินเครื่องใช้ส่วนตัวอันได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(9) การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของโจทก์จากทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นเพราะการได้ทรัพย์สินมาดังกล่าวแล้วประเมินภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊ส) เพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สแบ่งส่วนใหญ่ออกเป็นสองส่วน คือส่วนถังแก๊สกับส่วนตะเกียงซึ่งต่อกับถังแก๊ส จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการขนย้ายไปใช้ในที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าเพราะตะเกียงนี้ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สจึงมีลักษณะเป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งซึ่งใช้กับแก๊สตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 2(ข) หาใช่ชนิด 1(ก) ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89ทวิ ได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
of 16