พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องหนี้จากการเล่นแชร์ ศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาประมูลแชร์ในฐานะการกู้ยืมเงิน
หนังสือสัญญาการประมูลเงินแชร์ มีมูลกรณีเนื่องมาจากการเล่นแชร์อันเป็นมูลหนี้อย่างหนึ่งซึ่งบับคับกันได้ แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นเรื่องกู้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 จึงไม่อาจบังคับจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวได้ เพราะการเล่นแชร์เปียหวย ไม่เป็นการกู้ยืม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจวินิจฉัยการประมูล การฟ้องให้ยกเลิกประมูลเป็นเอกสิทธิของเทศบาล
คณะกรรมการรับและเปิดซองประมูลของเทศบาลไม่ใช่นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่อาจถูกฟ้องคดีแพ่งได้
โจทก์ฟ้องเทศบาลให้ยกเลิกการประมูลและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของเทศบาลที่จะวินิจฉัยว่าผู้ใดประมูลได้ข้อความในประกาศเรียกประมูลไม่ยกเว้นความรับผิดฐานละเมิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยมูลละเมิดหากขอให้พิพากษาให้ยกเลิกการประมูลซึ่งเป็นอำนาจของเทศบาลโดยเฉพาะที่จะวินิจฉัย ศาลไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้
โจทก์ฟ้องเทศบาลให้ยกเลิกการประมูลและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิของเทศบาลที่จะวินิจฉัยว่าผู้ใดประมูลได้ข้อความในประกาศเรียกประมูลไม่ยกเว้นความรับผิดฐานละเมิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยมูลละเมิดหากขอให้พิพากษาให้ยกเลิกการประมูลซึ่งเป็นอำนาจของเทศบาลโดยเฉพาะที่จะวินิจฉัย ศาลไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่ใช้เป็นมัดจำประมูล กรณีเช็คไม่มีเงิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกาศขายไม้ซุงโดยวิธีประมูลปิดซอง มีเงื่อนไขในการประมูลว่าผู้ยื่นประมูลจะต้องวางเงินมัดจำซองแพละ 10,000 บาท หากผู้ใดประมูลได้ผู้นั้นจะต้องชำระค่าไม้ซุง 15% ของแต่ละแพที่ประมูลได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศแจ้งผู้ประมูลได้หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะริบเงินมัดจำซองที่วางไว้ แต่มาคณะกรรมการของโจทก์ปิดซองประกาศแจ้งให้จำเลยทราบว่า จำเลยเป็นผู้ประมูลไม้ได้จำนวน 5 แพ แล้วโจทก์นำเช็คของจำเลยจำนวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งจำเลยวางเงินมัดจำประจำซองไว้ไปขึ้นเงินที่ธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินจำเลยไม่มีในบัญชี และครั้นเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน 15% ของไม้ทีประมูลได้จำเลยไม่นำเงินมาชำระ ซึ่งจำเลยจะต้องถูกริบเงินมัดจำซอง 50,000 บาท แต่โจทก์ก็ไม่อาจริบได้เพราะเช็คนั้นไม่มีเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 50,000 บาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องโดยอ้างสิทธิที่จะริบมัดจำซึ่งได้แก่เช็ครายนี้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค เพราะถ้าไม่มีการนำเอาเช็คคราวนี้ไปวางมัดจำประจำซองแล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการให้มัดจำไว้ตามมาตรา 377 ตามมาตรา 378(2) ฉะนั้น เมื่อเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องลงวันที่เกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่ใช้เป็นมัดจำประมูล การขาดอายุความตามมาตรา 1002
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกาศขายไม้ซุงโดยวิธีประมูลปิดซองมีเงื่อนไขในการประมูลว่าผู้ยื่นประมูลจะต้องวางเงินมัดจำซองแพละ 10,000 บาท หากผู้ใดประมูลได้ผู้นั้นจะต้องชำระค่าไม้ซุง 15% ของแต่ละแพที่ประมูลได้ภายใน 15 วัน นับแต่ วันประกาศแจ้งผู้ประมูลได้หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะริบเงินมัดจำซอง ที่วางไว้ ต่อมาคณะกรรมการของโจทก์ปิดประกาศแจ้งให้จำเลยทราบว่า จำเลยเป็นผู้ประมูลไม้ได้จำนวน 5 แพ แล้วโจทก์นำเช็ค ของจำเลยจำนวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งจำเลยวางเงินมัดจำประจำซองไว้ ไปขึ้นเงินที่ธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินจำเลยไม่มีในบัญชี และครั้นเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน 15% ของไม้ที่ประมูลได้ จำเลยไม่นำเงินมาชำระ ซึ่งจำเลยจะต้องถูกริบเงินมัดจำซอง 50,000 บาท แต่โจทก์ก็ไม่อาจริบได้เพราะเช็คนั้นไม่มีเงิน จึงขอให้ บังคับจำเลยชำระเงิน 50,000 บาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้อง โดยอ้างสิทธิที่จะริบมัดจำซึ่งได้แก่เช็ครายนี้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค เพราะถ้าไม่มีการนำเอา เช็ครายนี้ไปวางมัดจำประจำซองแล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการ ให้มัดจำไว้ตามมาตรา 377 ตามมาตรา 378(2) ฉะนั้น เมื่อเช็ค ที่โจทก์นำมาฟ้องลงวันที่เกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยวิธีประมูล/ขายทอดตลาด ศาลตัดสินนอกคำฟ้องหรือไม่ และอำนาจฟ้องกรณีแบ่งมรดก
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อนเมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรกเพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญาโจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญาโจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการประมูลหรือขายทอดตลาดเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้ และอำนาจฟ้องในกรณีแบ่งมรดกโดยจำเลยไม่แบ่งให้ทายาท
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเอง ถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก เพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินร่วม (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยการประมูลหรือขายทอดตลาด และการหักชำระค่าสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยในฐานะเจ้าของร่วมแต่ได้ความว่าในที่พิพาทมีเรือนของโจทก์ปลูกไว้โดยสุจริตหนึ่งหลัง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์การที่สั่งไว้ในคำพิพากษาด้วยว่าถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้ประมูลราคากันระหว่างคู่ความ มิฉะนั้นก็ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน และการประมูลราคากันหรือขายทอดตลาดนี้ให้รวมทั้งเรือนนั้นด้วย เงินที่ได้ให้จัดสรรชำระค่าเรือนแก่โจทก์ก่อนนำไปแบ่งกัน นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะที่ดินตามฟ้องย่อมหมายถึงส่วนควบด้วย และการที่โจทก์ได้ปลูกเรือนนี้ในที่พิพาท ก็เป็นการใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายสิทธิการเช่า: การผิดสัญญาของผู้ประมูล และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
เมื่อการประมูลโอนขายสิทธิการเช่าที่โจทก์ประมูลได้เป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ทราบถึงเงื่อนไขการเช่าโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เมื่อจำเลยพร้อมที่จะทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาให้โจทก์ได้ แต่โจทก์หาได้ไปติดต่อทำสัญญาและวางเงินค่าประมูลที่ยังค้างอีกตามที่ตกลงไว้ไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนเพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้แต่เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75 เปอร์เซนต์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25 เปอร์เซนต์ ส่วนอีก 75 เปอร์เซนต์จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ได้" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนเพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้แต่เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75 เปอร์เซนต์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25 เปอร์เซนต์ ส่วนอีก 75 เปอร์เซนต์จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ได้" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทอดตลาดสิทธิการเช่า: การผิดสัญญาของผู้ซื้อและสิทธิในการริบเงินชำระส่วนหนึ่ง
เมื่อการประมูลโอนขายสิทธิการเช่าที่โจทก์ประมูลได้เป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ทราบถึงเงื่อนไขการเช่า โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เมื่อจำเลยพร้อมที่จะทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาให้โจทก์ได้ แต่โจทก์หาได้ไปติดต่อทำสัญญาและวางเงินค่าประมูลที่ยังค้างอีกตามที่ตกลงไว้ไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้ เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทน เพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75% ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25% ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25% ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25% ส่วนอีก 75% จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้ หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25%" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้ เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทน เพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75% ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25% ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25% ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25% ส่วนอีก 75% จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้ หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25%" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งกรรมสิทธิ์รวม & โรงเรียนบนที่ดิน: สิทธิผู้ปลูกโรงเรียนได้รับการคุ้มครอง ไม่รวมในประมูล/ขายทอดตลาด
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมผู้อื่นตามส่วนของตน เมื่อปรากฏว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมผู้หนึ่งได้ปลูกโรงเรียนไว้บนที่ดินนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามส่วนโดยให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมผู้ปลูกโรงเรียนได้รับแบ่งที่ดินตอนที่ปลูกโรงเรียนได้ หากไม่ตกลงจึงให้ขายโดยประมูลราคาระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกัน หรือขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้รับส่วนแบ่งไม่เท่ากัน และเป็นเรื่องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ค่าฤชาธรรมเนียมจึงควรให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้รับส่วนแบ่งไม่เท่ากัน และเป็นเรื่องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ค่าฤชาธรรมเนียมจึงควรให้เป็นพับ