คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประวิงคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและเจตนาประวิงคดี
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถ ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองเท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยอ้างเหตุป่วย ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกจนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งสุดท้ายเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ ทั้งที่พยานจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น และมีการส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ศาลอื่นมาก่อน และศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสเต็มที่แก่จำเลยตลอดมา จนครั้งสุดท้ายทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยกะทันหัน ปวดศีรษะมีอาการมึนงง และแน่นหน้าอกอันเนื่องมาจากรับประทานทุเรียนมาก แม้ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยเจ็บก็ตาม แต่เมื่อศาลเชื่อได้ว่าอาการของผู้ที่อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ ซึ่งให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของบุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้นแล้วแต่กรณี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ.เมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ที่จำเลยโต้แย้งว่า การเจ็บป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่อาจก้าวล่วงเสียได้นั้น จำเลยก็หาได้คัดค้านแสดงให้เห็นว่าอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลยรุนแรงจนไม่สามารถมาศาลได้แต่อย่างใดไม่ พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วส่อแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรง ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกจนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งสุดท้ายเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ ทั้งที่พยานจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น และมีการส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ศาลอื่นมาก่อน และศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสเต็มที่แก่จำเลยตลอดมา จนครั้งสุดท้ายทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยกะทันหัน ปวดศีรษะมีอาการมึนงง และแน่นหน้าอกอันเนื่องมาจากรับประทานทุเรียนมาก แม้ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยเจ็บก็ตามแต่เมื่อศาลเชื่อได้ว่าอาการของผู้ที่อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ ซึ่งให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของ บุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้นแล้วแต่กรณี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆที่จำเลยโต้แย้งว่า การเจ็บป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่อาจก้าวล่วงเสียได้นั้น จำเลยก็หาได้คัดค้านแสดงให้เห็นว่าอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลยรุนแรงจนไม่สามารถมาศาลได้แต่อย่างใดไม่ พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วส่อแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อยู่ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยไม่มีเหตุผลอันควร อาจถูกมองว่าเป็นการประวิงคดี
จำเลยทั้งสองเคยร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งประสงค์ จะสืบเป็นพยานเพียงปากเดียว ติดภาระหน้าที่ราชการถึงสองนัดศาลชั้นต้นก็ได้เห็นความสำคัญของภาระหน้าที่ที่จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติด้วยการอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมาแล้วทั้งสองนัดการที่จำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในนัดที่สามโดยการโทรศัพท์แจ้งให้ทนายความจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1ติดประชุมโดยจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานที่ควรแก่การเชื่อถือมาแสดงว่ามีการประชุมเรื่องดังกล่าวกันจริงและจำเลยที่ 1จำเป็นจะต้องไปร่วมประชุมด้วยตนเอง ถือว่าจำเลยที่ 1ไม่ให้ความสำคัญแก่คำกำชับและวันเวลานัดของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลานัดของหน่วยงานราชการที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งเช่นกัน ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่แสดงเหตุผลที่สมควร ศาลมีอำนาจไม่อนุญาตเลื่อนคดีได้
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีครั้งที่สามว่า ทนายโจทก์เพิ่งเดินทางกลับจากต่างจังหวัด ได้รับละอองฝน และตากแดดตลอดการเดินทางมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อนและปวดเมื่อยร่างกาย ไม่สามารถมาศาลได้ ประกอบด้วยพยานโจทก์ที่จะมาเบิกความ คือ จ. และ ล. ซึ่งได้เตรียมคำให้การไว้แล้วแจ้งว่ามีกิจธุระต้องรีบเดินทางไปต่างประเทศ ไม่อาจมาเป็นพยานได้ จึงขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านว่า ทนายโจทก์ไม่ป่วยจริง ต้องถือว่าทนายโจทก์ป่วยและมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ แต่ทนายโจทก์ได้มีคำขอและศาลได้สั่งเลื่อนคดีไปสองครั้งแล้ว และทนายโจทก์มีคำขอเลื่อนคดีครั้งที่สามนี้อีกโดยมิได้แสดงให้เป็นที่ พอใจของศาลได้ว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการยกฟ้องเนื่องจากความไม่เอาใจใส่ของโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญา แต่โจทก์ไม่เอาใจใส่ในการดำเนินกระบวนพิจารณา มีลักษณะเป็นการประวิงคดี ทำให้จำเลยทั้งสามได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้าได้รับการตำหนิจากสังคมส่วนรวม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 181 และข้อที่โจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์พลั้งเผลอจดเวลานัดของศาลในวันที่ 26 เมษายน 2539ผิดพลาดจากเวลา 9.00 นาฬิกา เป็นเวลา 13.30 นาฬิกา และทนายโจทก์ได้มาศาลในเวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นในวันนั้น และคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเดือดร้อนและกระทบต่อการดำเนินคดีของศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญา แต่โจทก์ไม่เอาใจใส่ในการดำเนินกระบวนพิจารณา มีลักษณะเป็นการประวิงคดีทำให้จำเลยทั้งสามได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้าได้รับการตำหนิจากสังคมส่วนรวม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 181 และข้อที่โจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์พลั้งเผลอจดเวลานัดของศาลในวันที่ 26 เมษายน 2539ผิดพลาดจากเวลา 9.00 นาฬิกา เป็นเวลา 13.30 นาฬิกาและทนายโจทก์ได้มาศาลในเวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นในวันนั้นและคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7853/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย, การประวิงคดี, หนี้ร่วมสามีภริยา, การพิสูจน์หนี้, การรู้เห็นยินยอม
การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เจ้าหนี้เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนจำเลยทั้งสองจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่ และจะต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นแล้วว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการโดยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 19,020,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้และออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดนัด โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งสอง2 ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้โจทก์จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (7) และ (9) ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงครบถ้วนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 และครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง และจำเลยที่ 1 เบิกความเสร็จเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 จำเลยที่ 1 ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 วันที่ 19 ธันวาคม 2537 วันที่ 6 และ 20 กุมภาพันธ์2538 เวลา 9 นาฬิกา รวม 4 วัน ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าสืบพยานจำเลยที่ 1 เสร็จเมื่อใดให้จำเลยที่ 2 สืบต่อ เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนมาจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีอ้างว่าเตรียมพยานมาโดยผิดหลง ขอเลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อในนัดหน้า โดยจำเลยที่ 1 ขอสืบ ส.อีกปากเดียว ศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัด จำเลยที่ 1 แถลงหมดพยาน ศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยที่ 2นำพยานเข้าสืบต่อ จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนอ้างว่าไม่ได้เตรียมพยานมาศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 2 รวม 2 นัด ตามที่นัดไว้เดิม เมื่อถึงวันนัดต่อมา จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 2 ติดอบรมที่กรุงเทพมหานครเป็นเวลา 3 เดือน และแถลงว่าติดใจสืบตัวจำเลยที่ 2 กับ ส.เพียง 2 ปากนอกนั้นจะขอส่งคำให้การพยานจากศาลแขวงนครราชสีมาแทน สำหรับ ส.อาจจะไม่สืบ ต้องรอคำเบิกความจำเลยที่ 2 ก่อน และแถลงเพิ่มเติมว่านัดหน้าจะนำตัวจำเลยที่ 2 หรือ ส.มาเบิกความ จะไม่ขอเลื่อนคดีอีก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อ ตามที่นัดไว้เดิม ถึงวันนัดทนายจำเลยที่ 2 ไม่ได้นำตัวจำเลยที่ 2 หรือ ส.มาเบิกความแต่กลับขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 2ติดการอบรมที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2หลายครั้งแล้ว และครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนก็แถลงว่าจะนำตัวจำเลยที่ 2หรือ ส.มาเบิกความและจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก แต่เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยที่ 2ก็ไม่ได้นำตัวจำเลยที่ 2 หรือ ส.มาเบิกความตามที่แถลงไว้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีพยานมาสืบจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง ในการกู้ยืมเงิน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมด้วย โดยจำเลยที่ 2 เคยไปรับเงินกู้จากโจทก์พร้อมกับจำเลยที่ 1 หลายครั้ง นอกจากนี้เมื่อสามีโจทก์ไปพบจำเลยที่ 2 และได้พูดเรื่องหนี้สินกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ก็รับปากจะใช้หนี้สินทั้งหมดให้ แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 กลับไม่ยอมลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้แล้วว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินตลอดมา แม้จำเลยที่ 2จะไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับรู้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นตลอดมา ถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (3) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดี, การผิดนัดชำระหนี้, และสิทธิของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญาและการไล่เบี้ย
ศาลนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2536และได้มีการเลื่อนสืบพยานจำเลย 5 ครั้ง ในจำนวนนี้มีอยู่ครั้งเดียวที่ขอเลื่อนคดีเพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้เตรียมผู้รู้ภาษาจีนกลางมาควบคุมการแปลของล่ามฝ่ายจำเลย นอกจากนั้นที่จำเลยขอเลื่อนคดีมีสาเหตุมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการเลื่อนคดีครั้งที่ 5 ศาลได้กำชับว่านัดต่อไปให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม แต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่ 6 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานได้เดินทางมาในประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับโทรสารว่าที่บ้านของพยานที่ต่างประเทศมีเรื่องด่วนให้รีบกลับ พยานจึงเดินทางกลับต่างประเทศ การสืบพยานในคดีไม่ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปาก และทุนทรัพย์ไม่ว่ามากหรือน้อยอยู่ที่ว่าคู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบเพียงใด คดีนี้แม้จำเลยจะแถลงว่าสืบพยานปากเดียวแต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือน จนศาลต้องกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อม แต่จำเลยก็ไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินคดีให้เสร็จไปโดยรวดเร็ว พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาสืบชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น 2 ตอน ในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใด มีการชำระเงินกันอย่างไรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญา และครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2534 พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วย การบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระ นับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว และในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัท ท.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใด และแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอ และโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2533 กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ 48 งวด งวดละเดือน จำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญา ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัด แต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วน โจทก์ได้รับชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระ ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันแต่จำเลยไม่ชำระ ดังนี้ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้ว จะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้าง ทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้
ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริง แต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท.แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อน โจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน-การชำระหนี้แทน-การฟ้องไล่เบี้ย-การประวิงคดี-การผิดสัญญา
ศาลนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกตั้งแต่วันที่15กรกฎาคม2536และได้มีการเลื่อนสืบพยานจำเลย5ครั้งในจำนวนนี้มีอยู่ครั้งเดียวที่ขอเลื่อนคดีเพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้เตรียมผู้รู้ภาษาจีนกลางมาควบคุมการแปลของล่ามฝ่ายจำเลยนอกจากนั้นที่จำเลยขอเลื่อนคดีมีสาเหตุมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการเลื่อนคดีครั้งที่5ศาลได้กำชับว่านัดต่อไปให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมแต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่6จำเลยขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าพยานได้เดินทางมาในประเทศไทยแล้วแต่ได้รับโทรสารว่าที่บ้านของพยานที่ต่างประเทศมีเรื่องด่วนให้รีบกลับพยานจึงเดินทางกลับต่างประเทศการสืบพยานในคดีไม่ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปากและทุนทรัพย์ไม่ว่ามากหรือน้อยอยู่ที่ว่าคู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบเพียงใดคดีนี้แม้จำเลยจะแถลงว่าสืบพยานปากเดียวแต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือนจนศาลต้องกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อมแต่จำเลยก็ไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินคดีให้เสร็จไปโดยรวดเร็วพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดีศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาสืบชอบแล้ว จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น2ตอนในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใดมีการชำระเงินกันอย่างไรนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญาและครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่27กันยายน2534พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วยการบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระนับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วและในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัทท. ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใดและแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้นข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอและโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่23มกราคม2533กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์48งวดงวดละเดือนจำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญาซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัดแต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วนโจทก์ได้ชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระต่อมาวันที่30มีนาคม2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน15วันแต่จำเลยไม่ชำระดังนี้การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาถือว่าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้วจะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้างทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้ ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริงแต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัดจำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัทท. แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อนโจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
of 26