พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งนอกเหนือประเด็นฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเครื่องที่จำเลยซื้อไปและค้างชำระบางส่วน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ว่า โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะออกน้ำมันเครื่องชนิดใหม่ให้จำเลยเป็นผู้เปิดตลาดและทำการโฆษณาขายให้แก่ลูกค้าของจำเลย แต่โจทก์ไม่ผลิตสินค้าดังกล่าวทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมชอบที่จำเลยจะฟ้องเป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็น หากไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้หาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์: ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยที่ 4เพียงประการเดียว ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังและจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหานี้จึงจะถึงที่สุด แต่ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นอย่างอื่นคดีก็ไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 4 อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 245 วรรคสอง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน อนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุลักษณะคดี จึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ และการไม่ฎีกาประเด็นค่าเสียหาย
แม้โจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์280,000 บาท ซึ่งเป็นการรวมเอาราคาที่ดินพิพาทจำนวน 80,000 บาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยจำนวน 200,000 บาท เข้าด้วยกันก็ตามแต่ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่าโจทก์ยังประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยตามฟ้อง จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาในประเด็นนี้ฎีกาของโจทก์มีเพียงประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4484/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อประเด็นต่างจากฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอให้บังคับจำเลยโอนที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาและรับชำระเงินจากโจทก์จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์แกล้งฟ้องคดีนี้เพื่อประวิงการออกไปจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิบังคับคดีให้โจทก์และบริวารออกไปในสำนวนคดีอื่นการกระทำของโจทก์เป็นการละเมิดสิทธิของจำเลย ทำให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการตั้งประเด็นว่าการฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นการแกล้งฟ้องและประวิงการบังคับคดีในคดีอื่นที่จำเลยใช้สิทธิบังคับคดีแก่โจทก์ เป็นการละเมิดต่อจำเลยและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์ที่ตั้งประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขาย ขอให้บังคับตามสัญญาดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3387/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลย ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยทุกประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้าน
จำเลยซึ่งชนะคดีในศาลชั้นต้นย่อมคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคำแก้อุทธรณ์สำหรับประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นนั้นได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีตามคำอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 2 แก้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: ประเด็นการคัดค้านต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าสิทธิการเช่าอาคารตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านและทรัพย์อื่นอันเป็นมรดกของผู้ตายไม่มี จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากในเรื่องขอจัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การที่จำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์โดยตรง ถือเป็นประเด็นอำนาจฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับจำเลยที่ 2ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ส. ที่ยื่นไว้ก่อน โจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่อุทธรณ์ฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในคำให้การ ถือเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกานอกเหนือคำให้การ
ปัญหาข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกา แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ในปัญหาข้อดังกล่าวไว้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของตน จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกาด้วยเพราะเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกานอกเหนือคำให้การของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนนอกประเด็น และการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้ขับขี่มีใบอนุญาต
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดเนื่องจากพ. เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิด ในฐานะที่ พ. เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจแปลว่ามุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในฐานะหุ้นส่วนของ พ. ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า พ. ไม่ใช่ลูกจ้างปฏิบัติงานใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานเพียงว่า พ. เป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ 1 และกระทำในทางการที่จ้างหรือไม่ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 เพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลย ที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากเป็นหุ้นส่วนกับ พ.และพ. ก่อเหตุละเมิดขณะกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิด อัน เกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตาม กฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย การมีเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องเสี่ยงภัยมากขึ้น เมื่อ พ. ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบก ก็จะถือว่า เป็นการผิดเงื่อนไข ในกรมธรรม์ประกันภัยมิได้.