คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกสัญญาและการวินิจฉัยประเด็นอายุความในคดีซื้อขายที่ดิน
ปัญหาว่าจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 มาใช้บังคับและเลิกสัญญาเสียโดยมิพักต้องบอกกล่าวนั้นต้องยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาว่า การที่โจทก์ไม่ยอมวางเงินมัดจำหรือไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายตามที่จำเลยร้องขอจะมีอายุความบังคับให้จำเลยโอนขายนานเท่าใดก็ต้องเป็นประเด็นที่ได้พิพาทกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินต่างจากข้อพิพาทสัญญาเช่า
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าไม่ชำระค่าเช่าขอให้บังคับให้จำเลยชำระและขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยในคดีก่อนกลับเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขอให้โจทก์คดีก่อนยอมรับไถ่ที่ดินที่ขายฝากไว้ดังนี้ แม้คดีก่อนจะถึงที่สุดไปแล้ว ก็ฟ้องคดีใหม่นี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะศาลมิได้วินิจฉัยประเด็นในคดีก่อนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทตามข้อตกลงท้าทายเขตที่ดิน: ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่ตกลง หรือพิจารณาตามประเด็นในคดี
เมื่อคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะในข้อที่ว่าเมื่อตรวจสอบเขตที่ดินแล้วถ้าที่ดินพิพาทตกอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งยอมยกให้แก่ฝ่ายนั้นเช่นนี้ศาลต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ท้ากันเท่านั้นแต่ถ้าการตรวจสอบเขตที่ดินยังไม่พอจะให้ชี้ขาดไปตามที่คู่ความท้ากันแล้วศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเดิม แม้เพิ่มข้อหาใหม่ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาเดิม
ในคดีเรื่องก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งศาลพิพากษาว่าขับไล่ไม่ได้ เพราะโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดิน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยคนเดียวกันนั้นอีก โดยเพิ่มข้อหาว่า จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินส่วนหนึ่ง ดังนี้ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจะแต่งงานและการคืนเงิน - ประเด็นข้อเท็จจริงที่ฎีกาไม่ได้
คดีแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน 2000 บาท ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14246/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทโดยตรง มิใช่สิทธิอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้อง ประเด็นที่พิพาทกันจึงมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ มิได้พิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการขอใช้น้ำประปา การที่จำเลยยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้การประปาส่วนภูมิภาคนำมิเตอร์น้ำประปามาติดตั้งที่บ้านพิพาทเช่นเดิมและขอให้ห้ามโจทก์มิให้ขัดขวางการขอติดตั้งมิเตอร์น้ำประปา จึงหาใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13823/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานต้องยื่นภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง และศาลต้องพิจารณาประเด็นพิพาทตามที่กล่าวอ้าง
โจทก์ยื่นคำร้องต่อจำเลยร่วมขอให้สั่งจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเลยร่วมสอบสวนแล้วมีคำสั่งที่ 15/2550 ลงวันที่ 26 มกราคม 2550 ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินต่าง ๆ ข้างต้น และส่งคำสั่งไปให้โจทก์รับทราบในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ส่วนวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ไม่ใช่วันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คงเป็นแต่เพียงวันที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้โจทก์เรียบเรียงทำคำฟ้องซึ่งมีการแก้ไขหลายครั้งนำมายื่นต่อศาลใหม่ ถือได้ว่าโจทก์ยื่นฟ้องชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ลดค่าเสียหายเกินกรอบประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาฟังขึ้น
ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 170,610.55 บาท สูงเกินเกณฑ์กำหนดที่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ และการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 119,000 บาทแก่โจทก์ เป็นการให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าที่ควรจะต้องรับผิดนั้น มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงในเรื่องดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 119,000 บาท และจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงมีแต่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนเงินที่เรียกร้องมาในคำฟ้อง คดีจึงมีประเด็นวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์เพียงว่าสมควรที่จะกำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้นตามที่โจทก์อุทธรณ์เรียกร้องมาหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนค่าเสียหายของโจทก์ที่ยุติไปแล้วโดยลดจำนวนเงินค่าเสียหายของโจทก์จาก 119,000 บาท ลงเหลือ 25,000 บาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนทางภาระจำยอม การสิ้นสุดสิทธิภาระจำยอม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ และวินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ จำเลยอุทธรณ์ คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินของจำเลย เมื่อที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย แม้จะมีการจดทะเบียนให้โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลย ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในการใช้ที่ดินบางส่วนของจำเลยระงับหรือสิ้นสุดไป จำเลยไม่มีสิทธิปิดทางภาระจำยอมรายพิพาท เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินของจำเลยฐานเป็นทางจำเป็นซึ่งไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หาได้วินิจฉัยว่าการจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในการชี้สองสถานไม่ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภาระจำยอมรายพิพาทได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามสำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาบันทึกข้อตำลงเรื่องภาระจำยอม จึงมีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยอ้างว่าไม่มีเจตนาผูกพันตามสำเนาบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทตามคำขอของโจทก์ที่แจ้งแก่จำเลยว่าเพื่อให้บริษัทเงินทุนผู้รับจำนองยอมรับจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันการขอกู้ยืมเงินของโจทก์นั้นวัตถุประสงค์ดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งจำเลยยังยืนยันว่าบริษัทเงินทุนผู้รับจำนองจะรับจำนองต่อเมื่อที่ดินของโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมเรื่องทางเดินแล้วเท่านั้น และหลังจากจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทโจทก์ได้จำนองที่ดินไว้แก่บริษัทเงินทุนผู้รับจำนอง แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงวัตถุประสงค์และผลของการจดทะเบียนทางภาระจำยอมว่าเป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางภาระจำยอม การจดทะเบียนภาระจำยอมรายพิพาทของจำเลยเป็นการกระทำด้วยใจสมัครและไม่ได้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงไม่เป็นโมฆะ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์ได้ไถ่ถอนจำนองจากบริษัทเงินทุนดังกล่าว ก็หาทำให้ภาระจำยอมที่มีผลบริบูรณ์ตามกฎหมายมาแต่ต้นกลับกลายเป็นโมฆะไม่
เมื่อบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระบุว่าเป็น "ภาระจำยอมเรื่องทางเดิน" ย่อมไม่จำเป็นต้องมีความกว้างถึง 3 เมตร ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ทางภาระจำยอมรายพิพาทกว้าง 3 เมตร โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมรายพิพาท เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากที่จดทะเบียนระบุว่าเป็นทางเดิน ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1388 และ 1389
ในการชี้สองสถาน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าสิทธิใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทของโจทก์สิ้นไป เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้เป็นเวลาสิบปีหรือไม่ โดยอ้างว่าเป็นคำให้การที่ขัดกับคำให้การส่วนอื่น ทนายจำเลยซึ่งมาศาลในวันนั้นไม่ได้แถลงด้วยวาจาคัดค้านการไม่กำหนดประเด็นข้อนี้ ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ทนายจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลความว่า คำให้การของจำเลยไม่ขัดกัน คดีต้องมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นเวลาสิบปีหรือไม่ด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยขอคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ว่า "คำแถลงของจำเลยเป็นการแถลงคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา มิใช่คำร้องคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนด เพื่อให้ศาลมีคำชี้ขาดใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อทนายจำเลยมาศาลในวันชี้สองสถานด้วยตนเอง แต่เพิ่งยื่นคำแถลงคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนดเพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหลังจากศาลทำการชี้สองสถานไปแล้วนานถึง 7 วัน จึงไม่ถือเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งภายในเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ยกคำแถลง" วันที่ 22 ตุลาคม 2542 ทนายจำเลยยื่นคำแถลงเพิ่มเติมคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลความว่าจำเลยขอเพิ่มเติมข้อความในคำแถลงคัดค้านของจำเลยฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ว่า เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยขัดกันแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสอบถามจำเลยว่าจำเลยจะเลือกเอาข้อต่อสู้ใดเป็นประเด็น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยไม่สอบถามจำเลยเพื่อให้จำเลยเลือกประเด็นข้อต่อสู้เป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวม" เห็นว่า คำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลยไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสาม คือไม่ได้ทำเป็นคำร้องและไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดประเด็นเพิ่มเติมตามความเห็นของจำเลย ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้จำเลยทำมาใหม่ให้ถูกต้อง หรือมีคำสั่งยกคำแถลงของจำเลยด้วยสาเหตุดังกล่าวได้แต่ศาลชั้นต้นหาได้มีคำสั่งเช่นว่านั้นไม่ ทั้งเหตุที่ศาลชั้นต้นอ้างเป็นเหตุยกคำแถลงของจำเลยว่า จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านหลังการชี้สองสถาน 7 วัน ไม่ถือเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ก็ไม่มีบทกฎหมายสนับสนุน เพราะจำเลยอาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสาม และศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นคำแถลงกับไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงขอเพิ่มเติมคำคัดค้านในภายหลัง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้มีคำสั่งให้ยกคำแถลงของจำเลยเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งเดิมที่ให้ยกคำแถลงฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลยไปแล้ว กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นส่วนนี้เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ของจำเลย โดยที่จำเลยยื่นคำแถลงดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่วันชี้สองสถานซึ่งเป็นวันที่จำเลยอาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาส่วนนี้ไม่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหานี้โดยถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยถูกต้องแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยปิดทางภาระจำยอมรายพิพาท จึงขอบังคับจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอมรายพิพาทจำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทให้แก่โจทก์จริง แต่ปฏิเสธว่าโจทก์อ้างสิทธิทางภาระจำยอมรายพิพาทไม่ได้เพราะการจดทะเบียนทางภาระจำยอมรายพิพาทเป็นโมฆะ คำให้การของจำเลยตอนหลังที่ว่าโจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมรายพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ภาระจำยอมรายพิพาทจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หาได้ขัดกับคำให้การก่อนหน้านั้นไม่ เพราะข้อเท็จจริงอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน คือนอกจากการจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะตกเป็นโมฆะแล้ว ภายหลังต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมเป็นเวลาสิบปี ภาระจำยอมดังกล่าวย่อมสิ้นไป ผลแห่งคำให้การของจำเลยดังกล่าวคงมีแต่เพียงว่า หากศาลฟังว่าการจดทะเบียนทางภาระจำยอมเป็นโมฆะตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีในตอนแรกแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอ้างภาระจำยอมมาบังคับจำเลย ปัญหาว่าภาระจำยอมสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้ใช้เป็นเวลาสิบปีหรือไม่ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดข้อต่อสู้ของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
of 6